Thammasat EECmd Vision 2024

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบที่ดิน จาก บริษัท ทองถาวรอุตสาหกรรม จำกัด (โดย ดร.ถาวร พรประภา) บริจาคที่ดินประมาณ 566 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และสภามหาวิทยาลัยมีมติให้ตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมอุดมศึกษา” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบที่ดิน จาก บริษัท ทองถาวรอุตสาหกรรม จำกัด (โดย ดร.ถาวร พรประภา) บริจาคที่ดินประมาณ 566 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และสภามหาวิทยาลัยมีมติให้ตั้งศูนย์นวัตกรรมอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538 และได้พัฒนาจนถึงปี พ.ศ. 2562 ได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริม EECmd เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 เป็น เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ (พัทยา) และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562 เป็นพื้นที่ส่งเสริมด้านการแพทย์ครบวงจร ยานยนต์สมัยใหม่และนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่อย่างก้าวกระโดด โดยฝ่ายบริหารได้วางแผนด้าน Digital Hospital และ AI University เพื่อตอบสนองความต้องการของพื้นที่ EEC ในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เร่ง Road Show ไปยังคณะและหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือ (Networking) ที่สำคัญได้กำหนดวิสัยทัศน์ศูนย์พัทยา Thammasat University, Pattaya Campus : A Leading Innopolis Campusและในปลายปีงบประมาณ 2563 นี้เองมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณ ปี 2564 ในการก่อสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา วงเงิน 980 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปีงบประมาณ (2564-2566) ตามแผนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในต้นปี พ.ศ. 2564

A Leading Innopolis Campus ที่ได้กล่าวข้างต้นนั้นประกอบด้วยพันธกิจ 3 ประการ ได้แก่

  1. Academic Hub จัดการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตของ EEC ซึ่งได้กำหนดแนวทางการบริการการศึกษา โดยวางแผนจัดการเรียนการสอนโครงการหลักสูตร (เปิดใหม่) เป็นหลักสูตรที่มีลักษณะ Internationalization
  2. Research and Excellent Hub สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นเลิศ เพื่อรองรับการเติบโตของ EEC และสังคมไทยในอนาคต ปัจจุบันได้เจรจาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาคเอกชนที่ให้ความสนใจร่วมเป็นเครือข่าย เช่น บริษัท ENGIE จำกัด บริษัท CT Asia Robotics จำกัด บริษัท TKK Corporation เป็นต้น
  1. Service Hub & Learning Resources Center บริการด้านสาธารณสุข บริการวิชาการ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ชั้นนำ สำหรับการเป็นศูนย์การแพทย์ครบวงจร (EECmd) โดยเริ่มต้นจากการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของอาคารสัมมนาเดิมเป็นสถานพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Intermediate Care) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงพยาบาลที่จะแล้วเสร็จภายปีงบประมาณ 2566 ทั้งนี้ภาพรวมของแผน Service Hub and Learning Resources Center ประกอบด้วย

3.1 Total Digital Healthcare Solution วางเป้าหมายให้เป็นต้นแบบศูนย์กลางของกิจกรรมส่งเสริมด้านนวัตกรรมการแพทย์ที่ทันสมัย โดยวางแนวคิดที่จะให้เกิดโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยาขึ้นเพื่อยกระดับการรักษาพยาบาลที่คำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง พัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellence Center) มุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะเป็นหลักพร้อมสร้างผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และงานวิจัยเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ประกอบด้วย 1) Community Based Healthcare Solution เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ รพ.สต. หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการคัดกรองโรค เพิ่มขีดความสามารถของเครื่องมือดิจิทัลเพื่อเชื่อมต่อและทำให้ รพ.สต. มีศักยภาพสูงในการคัดกรองโรค โดยสามารถเพิ่มอุปกรณ์เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจลมหายใจ Mobile Ultrasound เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการรักษา และส่งเสริมสุขภาพทางดิจิทัล

2) Hospital Based Healthcare Solution โดยมีเป้าหมายในด้านต่างๆ  ได้แก่ การเชื่อมข้อมูลทางการแพทย์ ทั้งในส่วนของเวชระเบียน เครื่องมือการคัดกรองเบื้องต้น การสืบค้นทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือ การตรวจสืบค้นต่างๆ (Investigation Unit) ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Information) การถ่ายภาพถ่ายรังสี (Radiography Information System) เพื่อให้เกิดระบบ paperless Hospital เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพบริการ Digital Medical Service เพื่อให้เกิด Seamless service นอกจากนี้ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร โดยใช้โปรแกรม HMIS (Hospital Management Information System) เพิ่มประสิทธิภาพด้านงานสนับสนุน โดยใช้ Medical logistic (AGV Robot) สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว ทำให้เกิดระบบบริหารบุคคลใหม่ และยังมีการพัฒนาระบบ Automation Building  

 EECmd vision 2024 โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิสัยทัศน์ที่มุ่งสนับสนุนนโยบายการพัฒนาพื้นที่ EEC มุ่งยกระดับนวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ พื้นที่ EECmd นี้จะเป็น Sandbox ของประเทศเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนา และโปรดติดตามความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ของพื้นที่ EECmd ต่อไป