ความท้าทายต่อความเหลื่อมล้ำ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

ความท้าทายต่อความเหลื่อมล้ำ     โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

การเกิดโรคระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบหลายๆ ด้าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดผลที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ทั้งผลกระทบแบบระยะสั้นและระยะยาว อย่างรอบด้าน และผลกระทบนั้นเกิดขึ้นกับทุกประเทศ

การเกิดโรคระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบหลายๆ ด้าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดผลที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ทั้งผลกระทบแบบระยะสั้นและระยะยาว อย่างรอบด้าน และผลกระทบนั้นเกิดขึ้นกับทุกประเทศ ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สิ่งที่แตกต่างคือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อการรับมือและการเตรียมความพร้อมกับผลกระทบจากสิ่งที่ไม่ได้คาดการณ์ หรือเตรียมการมาก่อน เช่น โควิด-19 กรณีศึกษาที่จะพูดถึงจะสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของกระบวนการความคิดการพัฒนา จะกล่าวถึงกระบวนการที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาสะท้อนจากปัจจัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ทำให้การเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยหรือการเข้าถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากภาครัฐ

กรณีที่ 1 จากการสำรวจวิจัยการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยStanford University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (Stanford Spring Student Survey: COVID19) ได้ทำการสำรวจนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนเทอมที่1 ปีการศึกษา 2562 - 2563 หรือประมาณ 15,662 คน ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก มีผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 40% หรือประมาน 5,898 คน ผลสำรวจชี้ให้เห็นหลายประเด็นที่บ่งชึ้ข้อจำกัดของนักศึกษา เช่น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของนักศึกษาระหว่างการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม ZOOM หรือ ประชุม หรือ ผ่านกิจกรรมออนไลน์ที่ใช้แบนด์วิชท์ขั้นสูง ส่วนใหญ่นักศึกษา (49%) ตอบว่าสามารถเข้าเรียนเข้าได้ประมาณครึ่งของเวลาทั้งหมด (About half of the time) รองลงมา (35%) ตอบว่าสามารถเข้าได้เกือบทุกครั้ง (Most of the time) การทำวิจัยและเปิดเผยข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้สะท้อนให้เห็นข้อจำกัดของนักศึกษาทุกระดับชั้นที่ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดทรัพยากรที่สามารเข้าถึงด้านดิจิทัล

กรณีที่ 2 โครงการคนละครึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลพยายามที่จะกระตุ้นการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ จากการเปิดเผยข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ผลสำรวจความคิดเห็นพบว่าประชาชนให้ความนิยมโครงการคนละครึ่งมาเป็นอันดับหนึ่ง (50.18%) เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการชิม ช้อป ใช้ (45.30%) เราเที่ยวด้วยกัน (21.06) ช้อปดีมีคืน (7.70) โดยร่วมโครงการคนละครึ่งทำให้เห็นว่า 1) เป็นที่รับรู้และนิยมของประชาชนในวงกว้าง 2) มีการตั้งคำถามถึงโครงการในระดับหนึ่ง และ 3) ที่สำคัญคือประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังมีสิ่งที่สำคัญที่สามารถนำไปขยายผลได้อีกหลายประเด็น และเป็นประโยชน์ต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) คือ ปัญหาของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ทำให้ยังมีประชาชนบ้างกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงโครงการหลายๆอย่างของรัฐได้เพราะข้อจำกัดของทรัพยากรการเข้าถึงดิจิทัล

ทั้งสองตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้คือข้อจำกัดของทรัพยากรการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เครื่องโทรศัพท์มือที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริการทางอินเทอร์เน็ต ทั้งสองตัวอย่างนี้เราสามารถนำมาเป็นบทเรียนเพื่อขยายผลในการเรียงลำดับความสำคัญที่จะเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาอีอีซีที่จะสามารถเข้าครอบคลุมได้มากที่สุด ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงการคนละครึ่งได้เพราะปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล 

หากปัญหาโครงสร้างพื้นฐานนี้ยังคงมีอยู่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เพียงทางด้านเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เมื่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผนวกกับความเหลื่อมล้ำทางการเมืองมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอีอีซี โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลมีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นเพื่อการพัฒนาของทั้งประเทศ