“ซิตี้ ไฮบริด” เนียน นิ่ง ขับสนุก.. แต่เลือก “แฮทช์แบ็ค”

“ซิตี้ ไฮบริด” เนียน นิ่ง ขับสนุก.. แต่เลือก “แฮทช์แบ็ค”

ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี และ ซิตี้ แฮทช์แบค รถที่หลายคนกำลังพูดถึงในขณะนี้ เป็นอย่างไร น่าใช้ น่าขับแค่ไหน วันนี้เราไปลองขับตัวจริงกันครับ

หลังจากเสียท่าในตลาด “อีโค คาร์ครั้งแรกด้วยการเปิดตัว บริโอ ตามด้วย บริโอ อเมซ รถที่เกิดมาเป็นอีโค คาร์ โดยกำเนิด ขณะที่คู่แข่งจำนวนมาก นำรถในตลาด บี-เซ็กเมนต์มาพัฒนาให้เข้าเกณฑ์อีโค คาร์ ซึ่งแน่นอนในตลาดที่ผู้บริโภคชื่นชอบความใหญ่ของตัวถัง ทำให้บริโอ และบริโอ อเมซ ที่แม้จะได้รับยอมรับว่าเป็นรถที่ขับดี ขับสนุก ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดนี้ 

เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนรุ่นใหม่ ฮอนด้าไม่ยอมพลาดเป็นครั้งที่ 2 โดยตัดสินใจนำรถที่ติดตลาอยู่แล้วอย่าง “ซิตี้” ลงมาเล่นในตลาดอีโค คาร์ เช่นกัน และคราวนี้มาพร้อมกับการคิดบัญชีแบบทบต้นทบดอก ด้วยนักทวงหนี้จอมโหด คือ เครื่องยนต์ 1.0 ลิตร เทอร์โบ ที่มาพร้อมกับความแรง 122 แรงม้า ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 173 นิวตันเมตรที่ 2,000-4,500 รอบ/นาที ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และยอดขายล่าสุดของปีนี้ ซิตี้ นำเป็นอันดับ 1 แบบสบายๆ 

และเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา ฮอนด้ามีดาบ 2 ตามมาด้วยการเปิดตัว “ซิตี้ แฮทช์แบ็ค” และ เวอร์ชั่น ไฮบริด คือ “ซิตี้ อี:เอชอีวี” 

แฮทช์แบค ใช้เครื่องยนต์เดียวกับ ซีดานที่ทำตลาดอยู่แล้ว ส่วน อี:เอชอีวี ระบบไฮบริด ประกอบด้วยเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร แอทกินสัน-ไซเคิล ใช้เชื้อเพลิงได้สูงสุด อี 20  และมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว โดยมเตอร์ขับคลื่อนให้กำลังสูงสุด 109 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 253 นิวตันเมตร ที่ 0-3000 รอบ/นาที พร้อมเคลมอัตราสิ้นเปลือง 27.8 กม./ลิตร ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 85 กรัม/กม.

160852022649

แฮทช์แบ็ค  มี 3 รุ่นย่อย คือ S+ 5.99  แสนบาท SV 6.75 แสนบาท และ RS 7.49 แสนบาท ขณะที่ไฮบริด มีรุ่นเดียว คือ RS ค่าตัว 8.39 แสนบาท ซึ่งสูงกว่ารุ่น 1.0 เทอร์โบ พอควร ดังนั้นฮอนด้าจึงคาดหวังยอดขายไม่มากนัก ประมาณ 4,000 คัน/ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดขายซิตี้ ทั้งหมด

แต่จะว่าไปแล้วราคาที่เพิ่มขึ้นก็มีเหตุผล ทั้งต้นทุนของระบบไฮบริด ที่ไม่น้อย แม้ว่าตัวต้นทุนแพงอย่างแบตเตอรี จะมีขนาดเล็กแค่ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่ยังมีต้นทุนหลักอีกตัว อย่างอินเวอร์เตอร์ที่มาช่วยดันราคา 

รวมถึงออปชั่นอีกมากมายที่จับใส่เข้าไป ที่สำคัญคือ “ฮอนด้า เซ็นส์ซิ่ง” ซึ่งก็จะทำให้ ซิตี้ อี:เอชอีวี เป็นตัวท็อปของ ซิตี้ ซีรีส์ อย่างชัดเจน 

ซึ่งฮอนด้าบอกว่านี่เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่เทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูงได้รับการติดตั้งในรถซิตี้คาร์ของฮอนด้า โดยระบบนี้จะเริ่มจากการใช้กล้องมุมมองกว้างด้านหน้า เพื่อตรวจจับวัตถุบนท้องถนนช่วยแจ้งเตือนผู้ขับขี่ และช่วยควบคุมในสถานการณ์การขับขี่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีระบบการทำงานคือ

  • ระบบเตือนการชนพร้อมระบบช่วยเบรก (Collision Mitigation Braking System: CMBS)
  • ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน (Adaptive Cruise Control: ACC)
  • ระบบเตือนและช่วยควบคุมเมื่อรถออกนอกช่องทางเดินรถ (Road Departure Mitigation System with Lane Departure Warning: RDM with LDW)
  • ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางเดินรถ (Lane Keeping Assist System: LKAS)
  • ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ (Auto High-Beam: AHB)
  • 160853201449

 ส่วนระบบอื่นๆ ก็ใส่มาเต็มที่อย่างที่บอก ไม่ว่าจะเป็น

  • ระบบแสดงภาพมุมอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน (Honda LaneWatch)
  • ระบบเบรกมือไฟฟ้า (Electric Parking Brake)
  • ระบบ Brake Hold อัตโนมัติ (Auto Brake Hold)
  • ระบบล็อกรถอัตโนมัติเมื่อกุญแจรีโมทอยู่ห่างจากตัวรถ (Walk Away Auto Lock)
  • ถุงลม 6ตำแหน่งได้แก่ถุงลมคู่หน้า (Dual SRS) ถุงลมด้านข้าง(Side Airbags) และม่านถุงลมด้านข้าง (Side Curtain Airbags)
  • กล้องส่องภาพด้านหลังปรับมุมมอง 3 ระดับ (Multi-angle Rearview Camera)ช่วยเพิ่มทัศนวิสัย

ในการถอย

  • ระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) ช่วยป้องกันล้อล็อกเมื่อเบรกกะทันหัน และระบบกระจายแรงเบรก(EBD) บนพื้นถนนที่ลื่น
  • ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Stability Assist - VSA)
  • ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (Hill Start Assist - HSA)
  • สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติขณะเบรกกะทันหัน(Emergency Stop Signal - ESS)
  • ฮอนด้า คอนเนค (Honda CONNECT) เทคโนโลยีเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ขับขี่และรถยนต์ ทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ มี 8 ฟังก์ชันการใช้งานหลัก
  1. My Service ตรวจสอบประวัติการเข้ารับบริการ รวมทั้งการประเมินรายการอะไหล่และค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
  2. Car Log ข้อมูลการขับขี่จะประกอบด้วยพฤติกรรมการขับขี่ ที่สามารถแสดงผลเป็นรายวัน รายเดือน หรือรายปี และ บันทึกการเดินทาง ที่สามารถเลือกทริปโปรด และแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ไลน์ อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์
  3. WiFi เชื่อมต่อได้จากรถยนต์ พร้อมกันสูงสุด 5 อุปกรณ์ ระยะห่างได้สูงสุด 40 เมตร แต่ลูกค้าต้องสมัครแพคเกจจากกเอไอเอส
  4. Airbag Deploymentเมื่อเกิดอุบัติเหตุและถุงลมทำงาน กล่องอุปกรณ์ TCUจะส่งสัญญาณเตือน ให้ทราบทันทีผ่านทางแอปพลิเคชัน พร้อมทั้งส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการข้อมูลฮอนด้าเพื่อทำการติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้ หรือเบอร์โทรฉุกเฉินที่ลูกค้าผู้ใช้งานระบุไว้
  5. Car Status แจ้งเตือนสถานะรถยนต์ เมื่อเกิดความผิดปกติจากระบบของรถยนต์ และ แจ้งเตือนสัญญาณกันขโมย เมื่อเกิดความผิดปกติกับรถยนต์จากภายนอก เช่นการเปิดประตู กระโปรงหน้า  และฝากระโปรงท้ายของรถยนต์อย่างผิดปกติ
  6. Remote Vehicle Control สั่งล็อกและปลดล็อกประตู สั่งสตาร์ท-ดับ เครื่องยนต์ ตั้งค่าระดับอุณหภูมิของระบบปรับอากาศ สั่งเปิดสัญญาณไฟทั้งไฟหน้าและไฟ
  7. Geo Fence & Speed Alert กำหนดขอบเขตการขับขี่รถยนต์ทั้งเข้าและออกตามพื้นที่
    ที่กำหนดไว้ ตั้งค่าการแจ้งเตือนความเร็วตามกำหนด
  8. Find My Car ตรวจสอบพิกัดรถยนต์

ส่วนรูปลักษณ์ของรถ ที่โดดเด่น เช่น

  • ไฟหน้า LED ไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่ในเวลากลางวัน LED
  • ไฟตัดหมอกคู่หน้า LED
  • ไฟท้ายแบบ LED
  • ระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ
  • ระบบปิดไฟหน้าอัตโนมัติเมื่อดับเครื่องยนต์
  • กระจังหน้าแบบ Gloss Black พร้อมโลโก้ฮอนด้าสีฟ้า ซึ่งจะแตกต่างจากรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์อย่างเดียว
  • กระจกมองข้างสีดำแบบสปอร์ต ปรับและพับไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยวในตัว
  • สปอยเลอร์หลังแบบ Gloss Blackพร้อมสัญลักษณ์RS และe:HEV
  • เสาอากาศแบบครีบฉลาม
  • ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว
  • แป้นเหยียบคันเร่งและเบรกแบบสปอร์ต
  • 160852022749

.

160852028790

ส่วนภายใน ที่เด่นๆ ประกอบด้วย

  • เบาะที่นั่งหนังกลับ ตกแต่งด้วยด้ายสีแดง
  • ภายในห้องโดยสารโทนสีดำ
  • คอนโซลหน้าแบบ Piano Black พร้อมที่วางแก้วน้ำ
  • คอนโซลกลางมาพร้อมที่วางแขนขนาดใหญ่
  • พนักเท้าแขนด้านหน้าและด้านหลัง พร้อมที่วางแก้วน้ำ
  • มือจับเปิดประตูด้านในตกแต่งโครเมียม
  • มาตรวัดพร้อมหน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบ TFT ขนาด 7 นิ้ว
  • พวงมาลัยแบบมัลติฟังก์ชัน พร้อมปุ่มควบคุมระบบเครื่องเสียงและปุ่มรับ-วางสายโทรศัพท์
  • ระบบช่วยชะลอความเร็วรถที่พวงมาลัย (Deceleration Paddle Selectors)
  • ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ และช่องปรับอากาศตอนหลัง ช่องจ่ายไฟสำรอง 2 ตำแหน่ง
  • ระบบเครื่องเสียงหน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้ว แบบ Advanced Touch รองรับการเชื่อมต่อ Apple CarPlay
    พร้อม Google Maps และระบบสั่งการด้วยเสียง SIRI
  • ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ พร้อมเครื่องปรับอากาศด้วยกุญแจรีโมท (Remote Engine Start)
  • ช่องเชื่อมต่อ USB จำนวน 2 ช่อง
  • 160852028926

.

160852028963

.

160852029047

เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว ผมลองขับ ลองใช้งานจริงทั้ง 2 รุ่น โดยไฮบริด เส้นทางกรุงเทพฯ-เขาใหญ่ และ แฮทช์แบ็ค เขาใหญ่-กรุงเทพฯ 

ไฮบริด ทำงานได้น่าพอใจครับ การขับขี่ร่วมกับรถบนท้องถนนทั่วไป มีทั้งช่วงจราจรหนาแน่น ติดขัด และพอโล่งๆ บ้าง มีทั้งความเร็วช้า ความเร็วสูง การใช้อัตราเร่งบ่อยๆ ตัวเลขอัตราสิ้นเปลืองที่ออกมาอยู่ที่ 23 กม./ลิตร ซึ่งผมอิงกับลักษณะการขับของผมเอง ถือว่าน่าพอใจมาก

สำหรับการทำงานของระบบไฮบริด มอเตอร์ไฟฟ้าที่มี 2 ตัว นั้น ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็นตัวรับสร้างพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งไปยังแบตเตอรี และ/หรือ มอเตอร์อีกตัวหนึ่งที่เป็นมอเตอร์ขับเคลื่อน หรือ แทรคชั่น มอเตอร์

การขับเคลื่อนส่วนใหญ่จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นช่วงออกตัว ช่วงใช้ความเร็ว หรือช่วงเรงแซง ส่วนการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โดยตรง มีเพียงสั้นๆ คือ ที่ความเร็วสูงแบบคงที่

ส่วนช่วงเวลาที่ทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์ทำงานพร้อมกัน หมายถึงส่งกำลังไปขับเคลื่อนล้อพร้อมกันนั้น ไม่มี หมายความว่า การทำงานของซิตี้ เป็นแบบ “ซีรีส์ ไฮบริด”

ซึ่งฮอนด้าบอกว่าการออกแบบเช่นนี้ เพื่อให้ใช้จุดเด่นของมอเตอร์ไฟฟ้า ทั้งเรื่องของสมรรถนะ และความประหยัดนั่นเอง

จุดเด่นอีกอ่างหนึ่งของไฮบริดก็คือ ความนุ่มนวลของการถ่ายทอดกำลัง เช่น เมื่อจะเพิ่มความเร็ว หรือเร่งแซง กำลังของรถจะมาแบบเนียนๆ ลื่นไหล และรวดเร็วตามที่ต้องการ โดยที่ไม่ต้องกดคันเร่งหนักๆ แต่อย่างใด แค่เพิ่มน้ำหนักแบบนุ่มนวลเท่านั้น ขณะที่ช่วงล่างก็นิ่ง ให้ความรู้สึกหนักแน่น น่าพอใจ ทำให้ขับสบายๆ ไม่เหนื่อย แม้จะใช้ความเร็วสูง รถไม่มีอาการร่อน ส่าย 

การเก็บเสียงทำได้ดีสำหรับรถในตลาดนี้ โดยเฉพาะเสียงลมที่มีเข้ามาน้อยมาก เสียงที่ได้ยินมากที่สุดคือเสียงยางขนาด 185/55 R16

ส่วน ฮอนด้า เซ็นส์ซิ่ง ที่ใส่เข้ามา ก็มีประโยชน์ ทั้งระบบเตือนการชนพร้อมระบบช่วยเบรก ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน ระบบเตือนและช่วยควบคุมเมื่อรถออกนอกช่องทาง (LDW) ระบบช่วยควบคุมให้รถอยู่ในช่องทางเดินรถ (LKAS) และระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ

ระบบพวกนี้ใช้ได้ และได้ใช้จริงกับสภาพการจราจรบ้านเรา เช่น ระบควบคุมความเร็วแบบแปรผัน เนื่องจากจราจรค่อนข้างหน้าแน่น ความเร็วเปลี่ยนไปมาบ่อยครั้ง ถ้าไม่ใช่ระบบแปรผัน จะใช้งานยาก โดยระบบของฮอนด้า ยังเลือกระยะห่างจากคันหน้าได้ 5 ระยะ ด้วยปุ่มควบคุมบนพวงมาลัย 

LKAS ก็ใช้ได้ครับในเส้นทางที่เส้นจราจรชัดเจน ถือว่าทำงานค่อนข้างแม่น รถรักษาตำแหน่งให้อยู่ตรงกลางระหว่างเส้น 2 เส้น ค่อนข้างคงที่ ไม่วอกแวก ช่วยให้ผู้ขับผ่อนคลายได้โดยเฉพาะเมื่อรถบนท้องถนนเยอะๆ ก็ตั้งระบบให้รถรักษาความเร็วเอง รักษาทิศทางเอง เราก็ถอนเท้าออกจากทุกอย่างทั้งคันเร่ง ทั้งเบรก มือก็แค่จับพวงมาลัยไว้แค่หลวม โดยรถจะควบคุมทิศทางเอง ไม่ว่าทางตรง หรือทางโค้งทั่วไป แต่ถ้าเป็นทางโค้งลึกๆ เช่น สะพานยูเทิร์น หรือสะพานข้ามแยกมีโค้งลึกๆ แนะนำว่าควบคุมเองดีกว่า

ขณะที่ แฮทช์แบค จะได้ยินเสียงจากภายนอกเข้ามามากกว่า โดยเฉพาะด้านหลัง แต่อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ส่วนเรื่องของเครื่องยนต์ก็เหมือนกับซีดานที่เปิดตัวก่อนหน้านี้ คือ อัตราเร่งรวดเร็วทันใจ มาได้เร็ว และทำความเร็วได้สูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ความรู้สึกจะต่างจากไฮบริดอยู่บ้าง คือบางจังหวะต้องรุนแรงกับคันเร่งบ้าง ช่วงล่างเกาะถนนได้ดีเช่นกัน แต่ความเนียนไม่เท่าไฮบริด มีความรู้สึกดิ้นบ้าง ท้ายออกบ้าง เมื่อใช้ความเร็ว ซึ่งก็ต่างจากไฮบริดอย่างชัดเจน แต่ไม่อยู่ในภาวะเกินการควบคุม 

160852050165

.

160852045423

สำหรับตัวถังของแฮทช์แบค สั้นกว่ารุ่นซีดาน 200 มม. สูงกว่า 21 มม. ส่วนความกว้าง ฐานล้อ หรือความกว้างช่วงล้อ เท่ากัน

และหากเทียบกับรถ ฮอนด้า แจ๊ซ จะพบว่า ซิตี้ แฮทช์แบค ใหญ่กว่าในหลายๆ มิติ โดยกว้างกว่า 35 มม. ยาวกว่า 300-350 มม. ถือว่าเยอะทีเดียว ยาวกว่ากันเป็นฟุต ฐานล้อ ก็ยาวกว่า 59 มม. แต่เตี้ยกว่า 37 มม.

160852050094

.

160852050277

.

160852050410

.

160852050362

ขับเสร็จแล้ว มานั่งคุยกันกับเพื่อนๆ หลายคนชื่นชอบ และเลือกไฮบริดถ้าหากจะซื้อเพราะประหยัด ขับดี นิ่ง ส่วนผมเป็นคนส่วนน้อยที่เลือกแฮทช์แบ็ค ด้วยเหตุผลง่ายๆ 

ไฮบริด มันดีเกินไป แต่แฮทช์แบ็ค มีอารมณ์ดื้อในตัวให้คนขับออกแรงบ้าง เหมาะกับคนชอบอารมณ์สปอร์ต หรืออารมณ์แบบวัยรุ่นใจแรง แต่ไม่ก้าวร้าวและไม่ออกนอกลู่นอกทางนั่นเองครับ