ทำไมต้องไป 'เลือกตั้ง อบจ.' เปิดงบ 2.8 หมื่นล้าน จังหวัดไหนได้มากสุด!

ทำไมต้องไป 'เลือกตั้ง อบจ.' เปิดงบ 2.8 หมื่นล้าน จังหวัดไหนได้มากสุด!

จับตา "เลือกตั้ง อบจ." ครั้งแรกในรอบ 6 ปี ที่ไม่ได้มีความหมายแค่เข้าคูหา กาบัตรเลือกตั้ง แต่ยังซ่อนการยึดโยงของการเมืองท้องถิ่น กับการเมืองระดับชาติเอาไว้อย่างแนบแน่น ชนิดที่เราอาจไม่ทันคิดถึง

การเลือกตั้งท้องถิ่น คำนี้ห่างหายไปจากหน้าการเมืองไทยหลายปี เหตุผลหลักมาจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 จึงทำให้การเลือกตั้งนี้ถูกชะลอไป ส่งผลให้หลายจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นคนหน้าเดิมก่อนที่จะเกิดการรัฐประหาร บางพื้นที่ 4 ปี บางพื้นที่ 6 ปี หรือบางพื้นที่นานที่สุดถึง 8 ปี

แต่ประเด็นการเลือกตั้งท้องถิ่นก็ถูกพูดถึงอยู่หลายครั้งว่า ควรมีการเลือกตั้งเพื่อให้จังหวัดได้เดินหน้าเสียที แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปจนล่วงเลยมาถึงปี 2563 และในที่สุดรัฐบาล และ กกต. ก็ได้ฤกษ์เคาะวันเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นวันที่ 20 ธ.ค.นี้ แต่กระแสในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังคงเบาบางเมื่อเทียบกับครั้งก่อน ๆ แม้ว่าจะมีผู้แข่งขันหน้าใหม่และหน้าเดิมร่วมประชันในสนามท้องถิ่นก็ตาม

 

  • สถิติที่น่าสนใจ เลือกตั้ง อบจ.

เมื่อการเลือกตั้ง อบจ. ที่ห่างหายไป 6 ปีกลับมาอีกครั้ง หลายคนอาจคาดหวังว่าจะมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เข้ามาให้เลือกในสนามนี้ แต่เมื่อกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้สมัครนายก อบจ. 2563 พบว่า จากผู้สมัครทั้งหมด 331 คน มีผู้สมัครอายุเกิน 50 ปี มากกว่าครึ่ง โดยอายุเฉลี่ยของผู้สมัครทั้งหมดอยู่ที่ 55 ปี

ผู้สมัครอายุน้อยที่สุดคือ 35 ปี เพียง 4 คน และผู้สมัครที่อายุมากที่สุดอยู่ที่ 81 ปี มี 1 คน

ส่วนความหน้าเก่า-ใหม่ ในสนามนั้น พบว่า มีผู้สมัครที่เคยเป็นนายก อบจ. มาแล้วทั้งสิ้น 52 คน คิดเป็น 15.71% และผู้สมัครที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งนายก อบจมาก่อนมีถึง 279 คน คิดเป็น 84.29%

ในสัดส่วนของเพศของผู้สมัครผู้นำท้องถิ่น พบว่า มีผู้สมัครที่เป็นผู้ชาย 285 คน คิดเป็น 86.10% ในขณะที่ผู้หญิงเพียง 46 คน คิดเป็น 13.90% เท่านั้น

อีกสิ่งที่น่าสนใจของสนามเลือกตั้ง อบจ. คือ จังหวัดที่มีผู้สมัครลงแข่งขันสูงที่สุดคือ จังหวัดขอนแก่น เพราะมีผู้สมัครถึง 10 คน ในขณะที่จังหวัดที่ผู้สมัครน้อยที่สุดเพียง 1 คน คือ  อุทัยธานี เพชรบุรี และกระบี่ และผู้สมัครทั้งสามจังหวัดยังดำรงตำแหน่งนายก อบจคนปัจจุบันอีกด้วย

  • ประวัติและที่มา อบจ.

เพื่อให้รู้จักองค์การบริหารส่วนจังหวัดมากขึ้น กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สัมภาษณ์ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ถึงประวัติและที่มาของการกระจายอำนาจของท้องถิ่นหลังปี 2475 ให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น

.ธำรงศักดิ์ เล่าว่า แต่เดิมการปฏิวัติ 2475 ของคณะราษฎรเกิดขึ้นมาพร้อมกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยการสร้างเทศบาลขึ้นมาทั่วประเทศโดยใช้ตำบลให้เป็นเทศบาล ภายใต้ระยะเวลาที่เปลี่ยนไปนั้น ก็ผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เกิดการหยุดชะงักของการเติบโตของเทศบาล ผ่านการรัฐประหารตั้งแต่ปี 2490

"ในที่สุดรัฐบาลทหารที่ทำการรัฐประหารอยู่ตลอดเวลา ก็แช่แข็งท้องถิ่นได้สำเร็จในช่วงของเผด็จการจอมพลกฤษดิ์ และจอมพลถนอม"

เวลาผ่านไปถึง 14 ต.ค. 2516 พลังของประชาชนทำให้เกิดการผลักดันที่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง จึงเริ่มมีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ เริ่มทำให้เทศบาลเติบโตมากขึ้น และความพยายามที่จะหยุดยั้งก็เกิดขึ้นเป็นระยะ

เช่นเดียวกับ การรัฐประหาร 6 ต.ค. 2519 ฝ่ายคณะทหารก็แช่แข็งท้องถิ่นเป็นเวลาอีก 10 ปี จนกระทั่งมีการต่อสู้ และในที่สุดก็ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น และชัยชนะของประชาชนในพฤษภา 2535 จึงมำให้เกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 และให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นทุกระดับโดยตรง และการเมืองท้องถิ่นกลับมาถูกแช่แข็งอีกครั้งเมื่อเกิดรัฐประหาร 2557 นานถึง 6 ปี

.ธำรงศักดิ์ มองว่า การเมืองท้องถิ่นที่เติบโตขึ้นมาหลังเหตุการณ์ พฤษภา 2535 เหตุการณ์ครั้งนี้เปลี่ยนโฉมหน้าของการเมืองท้องถิ่นไปอย่างสิ้นเชิง เพราะปัญหาของท้องถิ่น หมู่บ้าน จังหวัดต่างๆ ได้รับการแก้ไข

"ตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา สิ่งที่เข้าไปท้องถิ่นในช่วงหลังจากมี อบต.ก็คือเรื่องของถนน ไฟฟ้า และน้ำประปา 3 อย่างนี้ เปลี่ยนโฉมหน้าชีวิตของคนทั้งประเทศเลย คุณภาพชีวิตมันเปลี่ยน ซึ่งตรงนี้เราเรียกว่าการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ถ้าไม่มีท้องถิ่นที่ผ่านมา รัฐบาลก่อนหน้านั้นก็จะมองแต่การสร้างถนนสายหลักเข้าไปยังจังหวัดเท่านั้นเอง หมู่บ้านต่างๆ ถูกตัดขาดไปหมด" อ.ธำรงศักดิ์ อธิบาย

มักจะมีคนบอกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น ใครมาก็เหมือนกัน มันไม่เหมือนครับ เพราะถ้าเหมือนกันญี่ปุ่นไม่เจริญทั้งประเทศ เพราะญี่ปุ่นใช้การเลือกตั้งกระจายอำนาจทั้งจังหวัด ทั้งเทศบาลหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะอเมริกาเข้าไปจัดการ ทำให้ญี่ปุ่นตั้งแต่เกาะฮอกไกโดจนกระทั่งถึงนางาซากิ แสงไฟมันสว่างไปหมดเลย ไม่ใช่กระจุกอยู่ที่เมืองหลวงแบบเกาหลีเหนือหรือประเทศไทย

  • ทำไมต้องออกไปเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้?

เมื่อการเลือกตั้งถูกแช่แข็ง 6 ปีเศษ คงทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมเราต้องออกไปเลือกตั้งครั้งนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สัมภาษณ์ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ .สุโขทัยธรรมาธิราช ถึงประเด็นที่ว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้มีความสำคัญอย่างไร และเราสูญเสีย หรือได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากการแช่แข็งที่ผ่านมา

.ยุทธพร กล่าวว่า ในวันนี้การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ได้มีความหมายแค่สรรหาตัวบุคคลที่จะมานั่งในตำแหน่งต่างๆ หรือเป็นเพียงช่องทางในการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง หรือกลุ่มการเมืองแต่เพียงเท่านั้น แต่มันคือการเชื่อมต่อในเชิงนโยบายให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางของท้องถิ่นตนเอง หรือแม้กระทั่งการเข้ามาตรวจสอบทางการเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้ง

"เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้จึงมีความสำคัญกว่าในอดีตค่อนข้างเยอะ ในปัจจุบันกระแสเรียกร้องในต่างจังหวัดของตนเองที่ต้องการให้รัฐกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนต่างๆ ก็มีเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกัน การที่เราไม่มีเลือกตั้งท้องถิ่นมา 7-8 ปี คือการทำลายช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน"

ส่วนในทางการบริหาร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต่างหมดวาระไปกันหมดแล้วทั้งสิ้น ทำให้คนที่อยู่ในตอนนี้ก็อยู่ในตำแหน่งของการรักษาการ การขับเคลื่อนเดินหน้าทำนโยบายต่างๆ ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก สิ่งนี้จึงเป็นปัญหาและเป็นคำตอบว่า ที่ไม่มีเลือกตั้งมา 7-8 ปี ส่งผลกระทบอะไรบ้าง

ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเมืองท้องถิ่นเสมือนแบบฝึกหัดให้กับประชาชนที่จะมีเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเยอะๆ ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งที่เป็นการมีส่วนร่วมที่สำคัญประการหนึ่งในหลากหลายรูปแบบ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนต้องการอะไร ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร หรือต้องการกำหนดชะตากรรมผ่านนโยบายอย่างไร หรือแม้กระทั่งการตรวจสอบทางการเมืองกับนักการเมืองเหล่านี้ผ่านกลไกทางการเลือกตั้ง

.ยุทธพร ย้ำว่า เพราะฉะนั้นตรงนี้คือความสำคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่น ทั้งหมดทั้งมวลก็คือแบบฝึกหัดของประชาชน และเป็นฐานสำคัญให้การเมืองระดับชาตินั่นเอง

 

  • 10 อบจ. ที่ได้งบประมาณมากที่สุด?

การ "เลือกตั้งอบจ." ครั้งนี้  "กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบข้อมูลตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 2564 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 7 .. 2563 มีงบประมาณบริหารจัดการ อบจ. 76 แห่งอยู่ที่ 28,797,844,500 บาท (สองหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยเก้าสิบเจ็ดล้านแปดแสนสี่หมื่นสี่พันห้าร้อยบาทโดย อบจ.ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย

160829761433

  1. อบจ.นครราชสีมา 2,303.3 ล้านบาท
  2. อบจ.ศรีสะเกษ 1,342.1 ล้านบาท
  3. อบจ.ขอนแก่น 1,044.5 ล้านบาท
  4. อบจ.อุบลราชธานี 1,016.6 ล้านบาท
  5. อบจ.ชัยภูมิ 995.5 ล้านบาท
  6. อบจ.มหาสารคาม 782.1 ล้านบาท
  7. อบจ.กาฬสินธุ์ 724.4 ล้านบาท
  8. อบจ.เชียงใหม่ 695.7 ล้านบาท
  9. อบจ.นนทบุรี 673 ล้านบาท
  10. อบจ.ร้อยเอ็ด 672.9 ล้านบาท

-----------------------------

ที่มา: พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 2564