กรุงไทยชี้โควิด-19 รีสตาร์ทไทย ดัน40ล้านคนเข้าสู่ดิจิทัล

กรุงไทยชี้โควิด-19 รีสตาร์ทไทย ดัน40ล้านคนเข้าสู่ดิจิทัล

กรุงไทยชี้ โควิด-19 เป็นตัวเร่งคนไทยเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการก้าวขึ้นสู่ Next normal ชี้โควิด-19 ทำให้เกิด3มรดก เห็นผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการพึ่งพารายได้ส่งออก ท่องเที่ยว หนี้ครัวเรือนสูง หนุนผู้บริโภคเปลี่ยนไปสู่ดิจิทั้ล

    นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยจำกัดกล่าวในงาน Dinner Talk Restart Thailand 2021 ขับเคลื่อนประเทศไทยซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและฐานเศรษฐกิจโดยระบุว่า ภายใต้ Theme Restart Thailand โดยกล่าวว่า จากผลกระทบไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ทำให้เกิด 3 มรดกจาก โควิด-19
     มรดกแรก ทำให้เรียนรู้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ ได้พึ่งพา ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการส่งออก อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการธีมของ De Globalization จึงกระทบต่อเราอย่างมีนัยสำคัญ ที่ผ่านมาประเทศไทยพึ่งพารายได้จากท่องเที่ยว และส่งออกถึง 80% ของจีดีพี ทำให้รู้ว่า การกระจุกของอะไรก็ตาม นำไปสู่ความเสี่ยงที่ไม่มีการกระจายตัว ทำให้การกระทบในสภาวะการณ์บางเรื่อง กระทบอย่างมีนัยสำคัญ
      มรดกที่สอง ภายใต้โควิด-19 ประเทศไทยยังถูกจำกัดด้วย หนี้ครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับสูง โดยปี 2560 หนี้ครัวเรือนอยู่เพียง 78% แต่กลางปี 2563 หนี้ครัวเรือนขึ้นไปสู่ 84%
    มรดกที่สาม คือการก้าวเข้าสู่ New normal เพราะโควิด-19 กระทบทำให้พฤติกรรมมนุษย์ปรับเปลี่ยนอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ในการปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยี และเข้าสู่การระมัดระวังสุขภาพ ให้ความสำคัญกับ Wellness คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น

    โดยทั้ง 3ส่วนซึ่งเป็นผลกระทบจากโควิดเป็นสิ่งที่ท้าทาย ในขณะเดียวกันเห็นอนาคตที่ชัดเจนขึ้นว่า มันจะเริ่มขยับขับเคลื่อนไปในทิศทางใด โครงสร้างจะปรับเปลี่ยนไปอย่างไร ดังนั้นกลไกในการขับเคลื่อนหรือรีสตาร์ทประเทศไทยในระยะข้างหน้ามาจาก 2แกนหลักสำคัญ
     แกนแรก ความยั่งยืน(ESG) ของการตอบโจทย์แก้ไขปัญหาเรื่อง Climate change มากขึ้น หากดูจากผลวิจัย Bloomberg News in energy Finance มีการประเมินว่า ในอนาคต การเห็นการหันมาใช้รถที่เป็นพลังงานทางเลือกใหม่ หรือ EV ถึง50% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2035-2040 แม้ตลาดใหญ่ในจีนก็ได้ประกาศกว่า20%ของยอดขายรถใหม่ในปี2025 จะเป็นรถพลังงานทางเลือกใหม่ ก่อนจะเพิ่มเป็น 50% ในปี 2035จากทั้งหมดที่มีอยู่เพียงแค่ 5%
เหล่านี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้ชีวิตเมืองหรือ Smart City ที่รูปแบบการใช้น้ำมัน หรือรถยนต์และการใช้ชีวิตแต่ละจุดจะเปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้
      หรือการสนับสนุน Green Energy ในส่วนของประสิทธิภาพของประเทศไทยธนาคารโลกได้จัดอันดับของประเทศไทยอยู่ที่ 32 ของโลกโดยเวียดนามกำลังตามมาอย่างติดๆที่ลำดับ 39 ซึ่งวันนี้ประเทศไทย ยังขาดการลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับน้ำที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมที่เป็นเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ โดยไอเอ็มดีจัดอันดับเรื่องการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในอันดับ 49 ในเรื่องการเข้าถึงน้ำอย่างเพียงพอ ซึ่งแย่กว่าระบบการขนส่งที่อยู่ในอันดับ 28 โดยในปี2563
      ขณะที่การลงทุนเรื่องน้ำกลับได้รับงบประมาณเพียง 6.4หมื่นล้านบาทหรือ 13% ของงบลงทุนของประเทศเมื่อเทียบกับการขนส่งที่ 1.5 แสนล้านดังนั้นในสภาวะที่ดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ในระดับต่ำจึงควรหาโอกาสลงทุนระยะยาวที่จะเสริมสร้างศักยภาพของโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมและยังเป็นตัวและยังเป็นการสนับสนุน Local Economy ให้อยู่ในพื้นที่พื้นบ้านประชากรของประเทศ
       แกนที่สอง คือ ดิจิทัล อีโคโนมีของไทยมีความต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 โดยหากนโยบาย Thailand 4.0ไม่เกิดขึ้นก่อนโควิด โดยโควิด-19 ถือว่าเข้ามาเป็นตัวเร่ง ทำให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดขึ้นเร็วมากขึ้น เพราะหากดูโครงการช่วยเหลือต่างๆของภาครัฐ เริ่มมีการบูรณาการ

    โดยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมากใช้ เพื่อปูพื้นฐานโครงสร้างดิจิทัลของประเทศ มีการเติมเต็มเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีการวางยุทธ์ศาสตร์การชำระเงินทุกตำบลทั่วประเทศ ให้กับผู้มีรายได้น้อย 14.6 ล้านคนทั่วประเทศ
     หากดูด้านอีคอมเมิร์ซ พบว่าในปี 2563 มีมูลค่าสูงถึง 2.20 ล้านบาทเติบโตขึ้น 35% จากปีก่อน ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยหดตัวประมาณ 6.5% และผลสำรวจจากเฟซบุ๊คพบว่า ผู้บริโภคไทย 45% โดยพบว่าคนไทยซื้อของผ่านอ่อนไลน์ เพิ่มขึ้นในปีนี้ ถึง 1.3เท่า หากเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดจะเพิ่มเป็น3เท่าใน5ปีข้างหน้า หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6-7 แสนล้านบาท

     ทั้งนี้การปรับตัวเข้าสู่ Digital Economy ต้องขับเคลื่อนทั้ง 3 แกนเพื่อเข้าสู่ News Business Model ของภาคธุรกิจ ซึ่งตั้งแต่เกิดโควิด-19 ที่ผ่านมาเราได้เห็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ขณะที่รัฐบาลตัดสินใจยกระดับ Digital Connectivity ผ่านการช่วยเหลือประชากรเกือบ 20 ล้านคน ภายใต้โครงการ เราไม่ทิ้งกัน สามารถที่จะรับทราบความเดือดร้อนจากระบบลงทะเบียนภายใน 1 วัน
     ทั้งนี้หากดูข้อมูลประชากรที่เข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล จากโครงการที่รัฐทำตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ โครงการมารดาน้ำนมบุตรเด็กแรกเกิด การกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละครึ่ง ปัจจุบันรัฐบาลมีตัวเลขคนที่เข้าสู่ดิจิทัลแพลฟอร์มแล้วถึงกว่า 40ล้านคน ที่ได้ขยับเข้าสู่ดิจิทัลของรัฐบาลเรียบร้อย ซึ่งเหล่านี้จะเป็นแกนสำคัญในการก้าวเข้าสู่ Next normal ของการรีสตาร์ทประเทศไทยในอนาคต
     “สิ่งสำคัญ ของการพัฒณาแพลตฟอร์ม การพัฒนาควรมีการเชื่อมโยง ไม่ลงทุนซ้ำซ้อน รวมไปถึง ให้เข้าถึงประชากรได้ทุกรายได้ ทุกชนชั้น วรรณะ ทุกช่วงอายุ ดังนั้นไทยแลนด์ดิจิทัลแพลตฟอร์มต้องตอบโจทย์ โอเพ่นแพลตฟอร์ม เพื่อให้ทุกส่วนมาเชื่อมโยงกันได้ ให้ภาคประชาชน มีโอกาสปรับตัวในการใช้ดิจิทัลมากขึ้น อนาคตจะสามารรถต่อยอดการขยานแพลตฟอร์มไปต่อเชื่อมได้ไปในบริบทให้ทุกภาคน ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นว่าเศรษฐกิจระยะข้างหน้า จะเดินไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็น Next normal และโควิด-19 ได้ทิ้งมรดก และเร่งให้เราเข้าสู่นิวนอร์มอล”