เส้นทางใหม่ “อริยะ พนมยงค์” เร่งพลิกองค์กรไทย ฝ่าวิกฤติรอบด้าน 

เส้นทางใหม่ “อริยะ พนมยงค์”  เร่งพลิกองค์กรไทย ฝ่าวิกฤติรอบด้าน 

การเป็นแม่ทัพขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจเทคโนโลยี ดิจิทัล ทั้งกูเกิล(ประเทศไทย) ไลน์(ประเทศไทย) ของ “อริยะ พนมยงค์” ถือว่าสปอร์ตไลน์ส่องตรง โฟกัสการทำงานของเจ้าตัวอย่างมาก เพราะถือว่าสร้างผลงานที่โดดเด่นไม่น้อย

ขณะที่การตัดสินใจก้าวข้ามจากธุรกิจแห่งอนาคตไปสู่ ธุรกิจดั้งเดิม คือบริหารสื่ออย่าง ช่อง3” ใต้เงาของครอบครัว มาลีนนท์” เป็นความตั้งใจในการเปลี่ยนผ่านองค์กรให้อยู่รอด แปลงจากฝั่งเคยดิสรัปทีวีไปสู่การเป็นผู้ถูกดิสรัป ทว่า เวลาเพีย 1 ปีกับตำแหน่งแม่ทัพ ก็ต้องโบกมือลา แล้วสานภารกิจใหม่ ก่อตั้งบริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นนอล จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท รับบทแม่ทัพ สร้างทีมงานกว่า 10 ชีวิต ร่วมหัวจมท้าย

ที่ผ่านมา ชื่อของ อริยะ” ได้เทียบเชิญไปเป็นวิทยากรหลายเวที และมักจะหยิบยกประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี ดิจิทัลเป็นตัวชูโรง ขณะที่ธุรกิจสื่อทีวีไม่ค่อยเอ่ยถึง เกิดจากปณิธานที่ต้องการเห็นภาพธุรกิจก้าวสู่อนาคตใหม่ๆ มากกว่าที่จะยึดติดกับสิ่งเดิม

ทำไมจึงพูดถึงเพียงดิจิทัล เพราะเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องการเปลี่ยน เป็นโมเดลต้นแบบอย่างหนึ่งที่ต้องการทำเช่นนี้

ในยุคพายุดิจิทัล ยังถาโถมซัดธุรกิจให้ซวนเซ ซ้ำร้ายยังเผชิญวิกฤติครั้งใหญ่จากโรคโควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กร โฟกัสกำไรและลดต้นทุนเพื่ออยู่รอด ทว่า การรัดเข็มขัด ตัดค่าใช้จ่ายจนถึงขั้นสุด ย่อมไม่เหลือให้ตัดแล้ว จังหวะนี้จึงควรหันมาลงทุนสร้างนวัตกรรมและสิ่งใหม่ให้ธุรกิจจะดีกว่า เป็นการเตรียมตัวเอง ซ้อมวิ่งให้พร้อมรับสถานการณ์ที่จะดีขึ้นในอนาคต

ท่ามกลางวิกฤติโควิด ทุกองค์กรต้องการเปลี่ยน ซึ่งเหนือกว่าเรื่องดิจิทัล แต่คือการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ สร้างนวัตกรรมและสิ่งใหม่ องค์กรใหญ่ๆหลังชนฝา เป็นจังหวะที่ต้องเปลี่ยน แต่ทุกคนมีเวลาเพียง 1 ปี นับจากนี้ เหตุการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ แล้วทุกคนจะวิ่ง วันนั้นหากใครออกตัวเร็ว ออกตัวแรงย่อมคว้ามโอกาส

แม้สถานการณ์ดังกล่าวจะเข้าทางธุรกิจของอริยะที่เป็นผู้สร้างนวัตกรรมและธุรกิจใหม่(Venture Builder) แต่เขาต้องการให้องค์กรธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมควบคู่กับการสร้างธุรกิจใหม่เพิ่มแต้มต่อการเติบโตในอนาตต เพราะหากเปรียบองค์กรคือบ้านตอนนี้มีบ้านหลังเดิมที่กำลังไฟไหม้จากผลกระทบโควิด ทั้งบริษัทอาจโฟกัสการดับไฟ แต่ต้องไม่ลืมสร้างบ้านสวยรับโลกอนาคตด้วย และควรแยกทีมงานเคลื่อนธุรกิจ ลดทอนความกังวลยอดขายรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาสไปอธิบายผู้ถือหุ้นฟังจนหมดเวลาทำงาน

หากใช้คนเดียวกันทำงาน คงต้องไปดับเพลงกก่อน ไม่มีใครโฟกัสสร้างอนาคต ผมมีหน้าที่สร้างบ้านใหม่ 

โจทย์สร้างธุรกิจใหม่แรกที่อริยะได้รับจากลูกค้ารายแรก คือ สยามพิวรรธน์” หนึ่งในยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของเมืองไทยที่ชฎาทิพย์ จูตระกูลมีวิสัยทัศน์เรื่องดิจิทัลชัดเจนและต้องการยกระดับการค้าขายสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ให้เกิดเร็วขึ้น

ปณิธานขันอาสาเป็นที่ปรึกษาธุรกิจไทย เพราะมองอาณาจักรใหญ่ๆ ล้วนอยู่ในมือตระกูลดังหลักสิบสกุล หากช่วยสร้างนวัตกรรม เกิดธุรกิจใหม่เคลื่อนตัวไปได้ จะเกิดแรงกระเพื่อมมหาศาล

องค์กรธุรกิจไทยขนาดใหญ่มีสินทรัพย์ ลูก้า ดาต้า แต่วันนี้ยังอยู่ในโลกออฟไลน์ เราจึงต้องการเข้าไปช่วยสร้างแพลตฟอร์มต่อแต้มธุรกิจยิ่งกว่านั้นการองค์กรที่ต้องการขยับตัวให้เร็ว ต้องเกิดจาการตัดสินใจของ ผู้นำ เจ้าของบริษัทที่เงินทุนพร้อม หากเป็นบริษัทข้ามชาติทั้งอำนาจการตัดสินใจและเงินทุนล้วนอยู่ต่างประเทศไม่ตอบโจทย์ธุรกิจที่ปรึกษาของบริษัท

สำหรับอุปสรรคใหญ่ที่ขวางการขยับตัวองค์กรไทยขนาดใหญ่คือวิธีคิด การไว้วางใจเชื่อคนนอกมากกว่าคนทำงานในบริษัทเราอยู่ข้างนอกสร้างธุรกิจให้ลูกค้าได้เร็วกว่า และยุคนี้สปีดสำคัญมากในการแข่งขันนอกจากนี้ ทุนไทยยัขาดความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีอย่างถ่องแท้ ยกตัวอย่าง การมองเกมธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ทุนข้ามชาติเผาเงินทิ้งเป็นมุมมองผิวเผินมาก อริยะ ย้ำว่า เบื้องหลังกลยุทธ์ดังกล่าวคือสิ่งที่ต้องศึกษาให้มาก เพราะไม่มีนักลงทุนยอมขาดทุนโดยไร้ผลตอบแทน

องค์กรระดับโลก ไม่ได้เผาเงินซี้ซั้ว โดยไม่มีกลยุทธ์รองรับ หากไม่เข้าใจเราต้องศึกษา อย่าบอกว่าเขาดผาเงินแล้วอยู่ไม่รอด เขาอยู่รอดแน่ๆและมาฆ่าธุรกิจคุณด้วย