ตลาดหุ้นวัดใจแบงก์ชาติ ยาแรงคุมบาท “แข็งค่า”

 ตลาดหุ้นวัดใจแบงก์ชาติ  ยาแรงคุมบาท “แข็งค่า”

นาทีนี้ตลาดหุ้นไทยถือว่ามีการปรับตัวบวกได้ต่อเนื่องในระยะเวลาเพียงแค่เดือนกว่า (พ.ย.- 8 ธ.ค. 2563) ดัชนีบวกขึ้นมาแล้ว 200 กว่าจุด จากการเข้ามาไล่ซื้อหุ้นของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติและการกลับมาให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นไทย

ตามมุมมองของสถาบันการเงินระดับโลกที่เริ่มมาให้น้ำหนักลงทุนในไทยมากขึ้น ประกอบไปด้วย “เครดิตสวิส” มอง หุ้นเอเชียมีแนวโน้มดีกว่าตลาดหุ้นทั่วโลกในปีหน้า โดยคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่วงจร “ซูเปอร์-ไซเคิลของกำไร”

ขณะเดียวกันโฟกัสมาที่ตลาดหุ้นไทยจะมี “สตอรี่ในการฟื้นตัว” ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า เช่นเดียวกันกับ “เจพีมอร์แกน” มองว่าหุ้นตลาดเกิดใหม่มีโอกาสปรับตัวขึ้น 20% ในปีหน้า และมองเห็นโอกาสต่อหุ้นไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และบราซิล หลังจากที่ในปีนี้นักลงทุนหลีกเลี่ยงหุ้นตลาดเกิดใหม่เป็นส่วนใหญ่เพื่อไปถือสินทรัพย์ปลอดภัย

เมื่อมีเงินทุนกลับเข้ามาในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นสิ่งที่จะตามมาคือ ทิศทางค่าเงินบาท จากนี้อาจจะได้เห็นการแข็งค่าต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564 และจะส่งผลต่อขีดความสามามารถในการแข่งขันในผู้ส่งออกอยากให้ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่านี้ด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย.-ปัจจุบัน (2-27 พ.ย.63) พบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ย 2.9% จากเดือนต.ค.ที่แข็งค่า 0.4% หากดูการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันพบว่ามีการแข็งค่าราว 1.1%

สอดคล้องกับในเดือนพ.ย. ที่ผ่านมาต่างชาติมีการซื้อสุทธิหุ้นไทยมาแล้ว 39,000 ล้านบาท ต่างจากช่วงเดือนอื่นที่เหลือได้ขายสุทธิในหุ้นไทยต่อเนื่องมาตลอด จนตัวเลขตั้งแต่ม.ค. - พ.ย. 2563 ยังมียอดขายสุทธิ 2.6 แสนล้านบาท

รวมทั้งตลาดตราสารหนี้ที่มียอดซื้อสุทธิของต่างชาติในตราสาระยะสั้นเข้ามาตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. แม้จะมีการขายสุทธิออกมาในช่วงปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา แต่ทั้งเดือนต่างชาติยังมีสถานะซื้อสุทธิตราสารระยะยาวต่อเนื่อง

การที่กระแสเงินลงทุนที่กลับข้างมาซื้อหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐมีความชัดเจน ว่า “โจ ไบเดน “ จากพรรคเดโมแครต เอาชนะ “โดนันล์ ทรัมป์ “ จากพรรครรพับรีกัน อย่างชัดเจน บวกกับช่วงเวลาดังกล่าวการประกาศความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 หลายแห่งมากถึง 90 % จนสามารถนำมาใช้กับประชาชนได้ จึงทำให้ฟันด์โฟลว์เริ่มตื่นตัวกลับมาสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นอื่นที่น่าสนใจกว่าสหรัฐ

เอเชียมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีกว่าสหรัฐและยุโรป ที่ปัจจุบันการเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศยังรุนแรงและน่ากลัวตามยอดผู้ติดเชื้อทำสถิตินิวไฮเป็นว่าเล่น ซึ่งในจุดนี้ถือว่าไทยทำได้ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

ภาพดังกล่าวจึงพอการันตรีได้ว่าค่าเงินบาทจะมีทิศทางแข็งค่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าไปดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่ารุนแรง และผันผวนมากเกินไปจึงต้องใช้มาตรการทางอ้อมคือการออกขายพันธบัตรและซื้อคืนจนทำให้เงินทุนสำรองสุทธิอยู่ที่ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ เทียบต้นปี เดือนม.ค. 2563 อยู่ที่ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ ได้ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน

รวมทั้งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves) ของไทยขึ้นมาทำสถิติสูงสุดใหม่ อยู่ที่ 2.55 แสนล้านดอลลาร์  ท่ามกลางค่าเงินบาทที่แข็งค่าระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ 

มาตราการทางตรง ธปท.ได้ดำเนินการเพื่อส่งสัญญาณให้กับตลาดไปแล้ว(20 พ.ย. )คือการเปิดทางให้คนไทยและบริษัทนำเงินออกไปนอกประเทศได้เพิ่มขึ้น ทั้งการเปิดทางให้นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้เสรี การเพิ่มวงเงินให้นำไปลงทุนและให้ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ต้องมีการลงทะเบียนเพื่อเฝ้าติดตาม

อย่างไรก็ตามด้วยปัจจัยข้างต้นที่ยังไงเม็ดเงินยังทะลักเข้าตลาดอาเชียรวมทั้งไทย จึงทำให้ธปท. ต้องเพิ่มดีกรีมาตรการสกัดบาทแข็งมากขึ้น ในวันนี้ (9 ธ.ค.) ซึ่งในรอบนี้จะเน้นมาตรการมองระยะกลางและระยะยาวเพื่อสร้างงระบบนิเวศของอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem)

โดยระบุชัดเจว่าเป็นส่วนหนึ่งในแพ็กเกจใหญ่เพื่อดูแลปัญหาเชิงโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยน โดยมุ่งหวังให้เงินบาทเคลื่อนไหวใน 2 ทิศทาง และให้ผู้ประกอบการสามารถมีความทนทานต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาให้ครบองค์ประกอบ

มาตรการดังกล่าวเริ่มมีการมองว่าน่าเป็นการควบคุมปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนของสถาบันการเงินต่างประเทศ หรืออาจจะออกมาในรูปแบบที่เข้มข้นขึ้น ถึงขั้นเก็บภาษีจากการเข้ามาลงทุนของต่างชาติไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือเงินฝาก ซึ่งล้วนส่งแรงกระเพื่อมใหญ่ต่อภาคการลงทุนด้วยเช่นกัน