'มูลนิธิกระจกเงา' ออกแถลงการณ์ทบทวน ระเบียบการใส่ 'ชุดนักเรียน'

'มูลนิธิกระจกเงา' ออกแถลงการณ์ทบทวน ระเบียบการใส่ 'ชุดนักเรียน'

"มูลนิธิกระจกเงา" ออกแถลงการณ์ทบทวน-อภิปราย ระเบียบการใส่ "ชุดนักเรียน"

เมื่อวันที่ 1 ..63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ มูลนิธิกระจกเงา  ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ต้องมีการทบทวน และอภิปรายระเบียบการใส่เครื่องแบบนักเรียน

จากกรณีการเคลื่อนไหวของนักเรียน รวมกลุ่ม 23 โรงเรียนแต่ง "ชุดไปรเวท" ไปโรงเรียน เพื่อแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพในการแต่งกาย ทำให้เกิดการลงโทษ หรือปฏิกิริยาโต้กลับของคุณครู และโรงเรียนในฐานะผู้ควบคุมกฎระเบียบในโรงเรียน

มูลนิธิกระจกเงา ในฐานะองค์กรที่เปิดรับบริจาค "ชุดนักเรียน" มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา เราส่งต่อชุดนักเรียนไปทั่วประเทศแล้วหลายหมื่นชุด

เห็นได้ชัดว่า ผ่านมา 20 ปีแล้ว แต่ระเบียบการใส่เครื่องแบบนักเรียนยังเป็นปัญหา สร้างความเหลื่อมล้ำอย่างมาก สร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อย่างไรก็ตาม แม้เราเห็นว่าเป็นภาระ แต่กฎระเบียบโรงเรียนได้กำหนดให้ผู้ปกครอง และเด็กต้องทำตาม

ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นเพียงมูลนิธิ เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์องค์กรหนึ่ง การขับเคลื่อนโดยลำพัง ย่อมไม่มีขีดความสามารถ ที่จะผลักดันให้เกิดการยุติความเหลื่อมล้ำนี้ ที่ผ่านมาเราจึงเพียงขอทำหน้าที่ในการอุดข้อจำกัดของชุดนักเรียนนี้ แต่อย่าเข้าใจผิดว่า เราสนับสนุนให้เกิดการใส่เครื่องแบบนักเรียน อันนำมาซึ่งความเดือดเนื้อร้อนใจของผู้ปกครอง และเด็ก

เราไม่เชื่อว่าการใส่ชุดนักเรียนจะสร้างสิ่งที่เรียกว่าระเบียบวินัยได้ ใน 5 วันต่อสัปดาห์ เด็กนักเรียนต้องใส่เครื่องแบบนักเรียน 2 วัน เครื่องแบบลูกเสือ 1 วัน เครื่องแบบพละ 1 วัน และหากเป็นโรงเรียนในต่างจังหวัด ยังมีชุดพื้นเมืองที่ต้องจัดหาเพิ่มอีก 1 ชุด

ในขณะที่รัฐอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียน ระดับอนุบาล คนละ 300 บาท/ปี ระดับประถมศึกษา คนละ 360 บาท/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คนละ 450 บาท/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คนละ 500 บาท/ปี และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คนละ 900 บาท/ปีเท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายเครื่องแบบนักเรียนจึงเกินงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้อยู่มาก

เราจึงพบเห็นได้อยู่เสมอว่า มีเด็กในพื้นที่ห่างไกล หรือในโรงเรียนขนาดเล็กเด็กยากจน จะมีชุดนักเรียนอยู่ชุดเดียว ซัก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และใส่จนดำ เด็กบางคนใส่ชุดนักเรียนทับกันสองชั้นเพื่อทับจุดที่ขาดของแต่ละตัวไว้ เด็กบางคนใส่ชุดนักเรียน แต่ไม่มีรองเท้านักเรียนให้ใส่ และเด็กบางคนไม่มีถุงเท้านักเรียนใส่

ในขณะที่ฝั่งของผู้ปกครอง ก็จะถูกกดดันให้จัดหาเครื่องแบบนักเรียน หากครอบครัวไหนที่ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ เหมือนจะถูกตีตราว่าไม่สนับสนุนการศึกษาของลูก

เราไม่รู้หรอกว่า จุดลงตัวจะอยู่ตรงไหนในเรื่องนี้ แต่มูลนิธิกระจกเงา ขอเรียกร้องให้เกิดการทบทวนและอภิปรายในเรื่องเครื่องแบบนักเรียน กับปัญหาความเหลื่อมล้ำ และภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และหมายรวมถึงการทบทวนสิทธิเสรีภาพเด็ก ที่ควรมีต่อเนื้อตัวร่างกายของตนเอง

มูลนิธิกระจกเงา

1 ธันวาคม 2563

160683281116