ผ่ารอยร้าวการ์ด 'ราษฎร' ยกเครื่อง 'จัดทัพ' รอบใหม่

ผ่ารอยร้าวการ์ด 'ราษฎร' ยกเครื่อง 'จัดทัพ' รอบใหม่

เป็นปัญหาภายในระหว่าง "กลุ่มการ์ด" ยังหาข้อยุติไม่ได้ จะสวิงไปถึงความเชื่อมั่นต่อพื้นที่ปลอดภัยของมวลชนเช่นกัน

"พื้นที่ชุมนุมไม่ใช่พื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยที่เกิดจากคนที่อ้างว่า มาดูแลความสงบเรียบร้อย และปลอดภัยเสียเอง และช่วงนี้มีการ์ดมากมายที่เกิดขึ้นจำนวนมาก จนยากจะประสาน และไม่รู้ว่าจะมีการแทรกซึมจากผู้ไม่หวังดีหรือไม่"

เสียงจาก "ปิยรัฐ จงเทพ" หรือ "โตโต้" หัวหน้าการ์ดคณะราษฎร 63 ออกมาประกาศสั่งให้ทีม wevo ยุติการทำหน้าที่การ์ดให้กับการชุมนุม จากกรณีหัวหน้าการ์ดอาชีวะ คนหนึ่ง เดินมาต่อยหน้าทีม wevo

เป็นเหตุให้เขาตัดสินใจแจ้งความดำเนินคดีทั้งเพ่งและอาญาให้ถึงที่สุดกับผู้ก่อเหตุ จนกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายตลอด 4 เดือนที่ผ่านมาต่อการตัดสินใจหันหลังดูแลผู้ชุมนุม หากยังแก้ปัญหา "การ์ดหัวรุนแรง" ยังไม่ได้  

ปัญหาการบริหาร "การ์ด" ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ก่อนหน้านี้ "ปกรณ์ พรชีวางกูร" ผู้สนับสนุนและดูแลการชุมนุม เคยออกมาเปิดเผยถึงปัญหาการ์ดอย่างตรงไปตรงมา ตั้งแต่ปัญหาการ์ดหลายกลุ่มทะเลาะไม่ถูกกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ชุมนุมที่มี "การ์ดอาชีวะ" หลายกลุ่มรวมตัวกันจะมีความยึดมั่นถือมั่นที่ "ปกรณ์" พยายามทำความเข้าใจแล้วแต่ไม่สำเร็จ

160679748047

สิ่งหนึ่งที่ "ปกรณ์" แสดงให้เห็นถึงปัญหาการ์ดภายในที่ป่านมา พยายามจะเสนออุปกรณ์ป้องกันให้กลุ่มอาชีวะหลายกลุ่มมาแล้ว แต่หลายกลุ่มยืนยันไม่ใช้งาน เพียงแต่ต้องการโชว์ช็อปสถาบัน หรือการขอสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ให้การ์ดอาชีวะซึ่งถูกแจกไปเกือบร้อยตัว แต่การ์ดบางกลุ่มได้สะท้อนกลับมาว่าไม่ทั่วถึง จนบางกลุ่มขอถอนตัวออกไป

ถึงแม้จุดเริ่มของกลุ่มการ์ดดูแลผู้ชุมนุมช่วงแรกมาจากกลุ่ม "สามพระจอม" นักศึกษา .เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และกลุ่ม "อาชีวะปะทะเผด็จการ" ทำให้การบริหารจัดการยังสามารถควบคุมได้

แต่เมื่อการแนวร่วมการ์ดที่เข้ามาหลากหลายจำนวนมากกว่า 10 กลุ่มเป็นประเด็นที่ "ปกรณ์" ยอมรับว่า การทำงานกับคนหมู่มากมันไม่ง่าย การบริหารความพอใจในหมู่คน ยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นเขา

160679757121

เมื่อสภาพการบริหารจัดการ์ดดูแลชุมนุมของ "คณะราษฎร" ขณะนี้ ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการบริหารจากม็อบทางการเมืองที่เคลื่อนไหวตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม นปช. ไปจนถึงกลุ่ม กปปส. ซึ่งจัดระบบบริหารการ์ดดูแลผู้ชุมได้เข้มงวดและขั้นตอนสั่งการมาจากแกนนำเป็นระบบในโครงสร้างที่ชัดเจนมากกว่า

แต่จากการควบรวมแนวร่วมการ์ดกลุ่มต่างๆ ของคณะราษฎร บนพื้นฐาน "ทุกคนเท่ากันหมด" ทำให้บางส่วนกระทบกับวิธีบริหารจัดการในภาพรวม โดยเฉพาะในสถานการณ์อ่อนไหว ที่ผ่านมาได้เห็นปัญหาการสื่อสารระหว่างการ์ดแต่ละกลุ่ม ที่ยัง "คอนโทรล" ภายในกันเองไม่ได้ 100 % เน้นไปที่การ์ดอาชีวะ "บางส่วน" อยู่ในสภาพใจร้อนพร้อมเผชิญหน้า

กลับเป็นจุดที่แตกต่างจากกลุ่ม "การ์ด wewo" ที่มากจากการรวมตัวกันนักศึกษาและประชาชนประมาณ 300 คน พยายามเน้นวิธีเจรจามากกว่าการปะทะ ที่จะนำมวลชนไปเสี่ยงกับแนวผลักดันและตั้งรับของเจ้าหน้าที่

ส่วนหนึ่งเป็นที่มาการ "ปรับแผน" ชุมนุมที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าวเมื่อช่วงเย็นวันที่ 27 .. เพื่อ "จัดระเบียบ" กลุ่มการ์ดดูแลรักษาความปลอดภัยแกนนำ-มวลชน หลังจากเหตุรุนแรงที่แยกรัชโยธิน ทำให้การ์ดแต่ละส่วนถูกแบ่งการทำหน้าที่ให้ชัดเจนกว่าเดิม อาทิทีมการ์ดมวลชน ดูแลฝั่ง MRT พหลโยธิน ทีมการ์ดปลดแอก ดูแลฝั่งลาดพร้าว ทีมราษฎรฝั่งธน(กลุ่มการ์ดอาชีวะ) ดูแลฝั่งวิภาวดี-ดินแดง ทีมการ์ดเฉพาะกิจ ทีมการ์ดไฟต์คลับ ดูแลแกนนำ

160679777722

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอถึงประสานรอยร้าวการ์ด โดยเรียก "หัวหน้าชุด" แต่ละกลุ่มมายกเครื่องระบบจัดการใหม่ เพื่อขีดเส้นให้ชัดเจนถึงหน้าที่ที่แต่ละกลุ่มจะรับผิดชอบและไม่ก้าวกายข้ามเส้น เพื่อรื้อระบบบริหารภายในระหว่าง "การ์ดกันเอง" ขณะเดียวกัน "ภาณุพงศ์ จาดนอก" แจ้งต่อการ์ดกลุ่มต่างๆ ส่งรายชื่อการ์ดของกลุ่มตัวเอง เพื่อขึ้นทะเบียนการ์ดกับคณะทำงานกลาง โดยจะเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน

วันที่ 2 .. เป็นอีกหนึ่งวันนัดหมายจากกลุ่ม "ราษฎร 63" ไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ ในคดีที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั่งบัลลังก์วินิจฉัยการเป็นนายกฯ ของพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องสิ้นสุดลงในการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์ จากการอาศัยที่บ้านพักทหารหรือไม่

เป็นสถานการณ์เดียวกับปัญหาภายในระหว่าง "กลุ่มการ์ด" ดูแลผู้ชุมนุมขณะนี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ จะสวิงไปถึงความเชื่อมั่นต่อพื้นที่ปลอดภัยของมวลชลอย่างปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน.