'ร่างพ.ร.บ.ประชามติ' ต้อน 'คนคิดต่าง' เข้ากรอบ

'ร่างพ.ร.บ.ประชามติ' ต้อน 'คนคิดต่าง' เข้ากรอบ

ที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 1 ธันวาคม มีวาระพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ อาจจะใช่ตามที่หลายคนคิด คือ ประตูที่เปิดรับรองการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ในสาระพบเนื้อหาที่ขีดกรอบ การเผยแพร่-รณรงค์ อย่างชัดเจน

       วันที่ 1 ธันวาคม นี้ ที่ประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณา และ จะรับ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.... ฉบับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) นำเสนอ
       ซึ่งหลายคนมองว่านี่ คือ ใบเบิกทาง ที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามหลักการประชาธิปไตยทางตรง  
       เพราะ ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียง ชี้ขาด เรื่องใดก็ตามที่มีผลเกี่ยว ซึ่งอาจกระทบต่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนคนไทยทั้งประเทศ  
       อย่างไรก็ดี ในประเทศไทย เคยผ่านการทำประชามติครั้งสำคัญ มาแล้ว อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ประชามติว่าด้วยการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550”  และ ประชามติ "รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 พร้อมคำถามพ่วงให้อำนาจส.ว. ร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมร่วมรัฐสภา"
160673919317
       หากย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองของชาติไทย เคยมีบทบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติมาแล้วหลายครั้ง   ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ 2492 มาตรา 174-176 , รัฐธรรมนูญ 2511 มาตรา 170- 172, รัฐธรรมนูญ 2517 มาตรา 229 - 231, รัฐธรรมนูญ 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่6) พ.ศ.2538 มาตรา 211ปัณรส-211 โสฬส
       โดยเรื่องที่กำหนดไว้ให้ทำประชามติ คือ “รัฐธรรมนูญ” 
       รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 214, รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 165 และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 166 , มาตรา 256 
       โดยเรื่องที่กำหนดไว้ ไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะ “รัฐธรรมนูญ” แล้ว แต่ยังขยายให้เป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นว่ามีความสำคัญ และอาจมีผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศและประชาชน
       อย่างไรก็ดีก่อนการทำประชามติ ต้องมีกฎหมายว่าด้วยการทำประชามติ เพื่อเป็นกติกาเพื่อใช้ในการออกเสียงประชามติให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม
       ซึ่งรอบนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะหากจำได้ การออกเสียงประชามติ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ภายใต้การครองอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการออกเสียงประชามติที่ไม่เป็นอิสระอย่างแท้จริง
160673919423
       เนื่องจากการณรงค์ เป็นไปในทิศทางเดียว คือ ชี้ถึงข้อดี เพื่อหวังผลให้รัฐธรรมนูญ ผ่านประชามติ ขณะที่ผู้ที่เห็นคัดค้านกลับถูกจับกุมและดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ประชามติ  ประมาณ64 ราย  และมีผู้ถูกดำเนินคดี ประมาณ 131 รายในพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการออกเสียงประชามติ เช่น เปิดศูนย์ปราบโกงฯ ที่นปช. ขับเคลื่อนเพื่อจับโกงการประชามติ
       ทั้งนี้ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559  มาตรา 7 ให้เสรีภาพแสดงความเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดกฎหมาย
       อย่างไรก็ดี ร่างพ.ร.บ.ประชามติ ที่เสนอโดย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”  รอบนี้ หากพิจารณาเนื้อหาแล้ว ปรับเปลี่ยนจาก ฉบับปี2559 ไปบ้าง แต่ยังคงสาระสำคัญไว้ 

       ทั้งนี้ในรายละเอียดยังพบ เนื้อหาใหม่ เพื่อใช้อุดช่องโหว่ ของการทำประชามติ เมื่อปี 2559 อาทิ  กำหนดชัดเจนถึงบุคคลที่มีสิทธิทำเอกสารเผยแพร่ คือ คณะกรรมการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและสาระสำคัญ และขีดกรอบให้เอกสารเผยแพร่นั้น ห้ามชี้นำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเรื่องที่จะทำประชามติ
       พร้อมกำหนดให้แสดงความเห็นได้ แต่ต้องผ่านทาง วิทยุ,ทีวี, โดยผู้ประกอบกิจการ สถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ ต้องเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นอย่างรอบด้านเท่าเทียม  พร้อมกำหนดให้อำนาจ “คณะกรรมการฯ” สามารถสั่งแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง การแสดงความเห็นทางสถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์ได้ หาก ผู้ประกอบกิจการวิทยุ หรือโทรทัศน์ไม่ทำตาม มีโทษปรับไม่เกิน 5แสนบาท
160673919513
       ซึ่งความหายของเนื้อหานี้ อาจจะใช่ การขีดกรอบ ให้บุคคลที่เห็นต่าง ใช้สิทธินอกเหนือจากการควบคุมโดยรัฐ เหมือนครั้งที่ประชามติ ปี 2559 มีกลุ่มคนที่ประเมินว่าตนเองถูกกีดกันจากการถือครองอำนาจ รณรงค์คว่ำรัฐธรรมนูญ จัดเวทีคัดค้าน แจกแผ่นพับรณรงค์โหวตคว่ำ จนต้องถูกจับกุมและดำเนินคดีมาแล้ว.