Non-Bank Sector (30 พ.ย.63)

Non-Bank Sector (30 พ.ย.63)

คุณภาพสินทรัพย์ดีต่อเนื่อง ส่งให้คชจ.สำรองหนี้เสียลด

Event

สรุปเนื้อหาจากงาน Corporate day (MTC, KTC, AEONTS, SINGER)

lmpact

คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น QTD นำไปสู่การตั้งสำรองลดลง

บริษัทในกลุ่มนอนแบงก์ทั้ง 4 ที่ให้บริการสินเชื่อผู้บริโภคทั้งแบบที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกันมองแนวโน้มคล้าย ๆ กันว่าคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น QTD และสถานการณ์ด้านคุณภาพสินทรัพย์ในขณะนี้ดีกว่าในปี 2562 (AEONTS และ KTC) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการที่บริษัทต่าง ๆ ตั้งสำรองก้อนใหญ่ ในงวด 9M63 และข้อมูลการติดตามหนี้เสียก็แสดงว่ามีการตั้งสำรองฯดังกล่าวสูงเกินไป และมีแนวโน้มจะปรับลดลงให้เหมาะสม นอกจากนี้หากพิจารณามาตรการความช่วยเหลือจาก ธปท. ที่อนุญาตให้ธนาคาร และกลุ่ม non-bank สามารถกลับชั้นหนี้ของลูกหนี้ที่ประสบปัญหา (TDR) หรือลูกหนี้ที่เป็น NPL ให้เป็นปกติ เมื่อลูกค้าชำระหนี้ติดต่อกัน 3 เดือน (จากก่อนหน้านี้ใช้เกณฑ์ที่ 12 เดือน) ทำให้การปรับคชจ.จะเกิดเร็วขึ้น

การที่ค่าใช้จ่ายสำรองลดลงหมายความว่ากำไรจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง

ผู้บริหารฯ ชี้ว่าในทางสถิติ สินเชื่ดปกติ หรือ performing loan (สินเชื่อ stage 1) ต้องกันสำรองหนี้เสียประมาณ 1% ในขณะที่สินเชื่อ stage 2 ต้องกันสำรอง 8% (สุทธิจากมูลค่าหลักประกัน) และสินเชื่อ stage 3 (NPL) ต้องกันสำรองเต็ม 100% (สุทธิจากมูลค่าหลักประกัน) ซึ่งเมื่อมีการจัดชั้น TDR หรือ
NPL กลับไปเป็น performing loan ก็จะสำรองที่เคยตั้งไว้ในหนี้แต่ละชั้น 2 และชั้น 3 ลดลง ซึ่งทำให้มีการกลับรายการสำรองหนี้เสียไปเป็นรายได้ หรือเก็บไว้เป็น overlay loan loss reserve ทั้งนี้ จากมาตรฐานบัญชี TFRS9 และความกลัวหนี้เสียในช่วงที่ covid-19 ระบาด AEONTS จึงกันสำรองสูงถึง 4
พันล้านบาทใน 1H63 ทำให้สัดส่วน LLR/สินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 13.5% (2x ของ KTC) ในขณะที่ KTC กันสำรอง 5 พันล้านบาทในงวด 9M63 ซึ่งจากข้อมูล credit loss และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้นกว่าในปี 2562 น่าจะทำให้ทั้งสองบริษัทมีโอกาสลดการตั้งสำรองฯในอนาคตมากกว่าบริษัทอื่นๆ

สภาวะการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป – เกิดการควบรวมให้บริษัทสินเชื่อจำนำทะเบียนขนาดเล็ก

การที่ GSB และ SAWAD จับมือกันตั้ง JV เพื่อให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนจะไม่ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในกลุ่ม แต่จะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันภายในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยผู้บริหารของ MTC บอกว่าตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนมีขนาดใหญ่มาก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดกันอยู่ในตลาดก็อยู่ในช่วงที่กว้างมาก และมีผู้เล่นในตลาดเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งผู้เล่นส่วนใหญ่จะเน้นที่การปล่อยกู้วงเงินก้อนใหญ่ในประเภทรถยนตร์/รถบรรทุก และอุปกรณ์ทางการเกษตร ในขณะที่ผู้เล่นที่ปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์จะกระจัดกระจาย เพราะวงเงิน/บช.ต่ำ ซึ่งในกลุ่มนี้ MTC เป็นผู้เล่นหลักซึ่งมีพอร์ตสินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์สูงถึง 3 หมื่นล้านบาท (ประมาณ 45-50% ของพอร์ตสินเชื่อของบริษัท) ทั้งนี้ หากการแข่งขันในธุรกิจนนี้เข้มข้นมากขึ้น ผู้เล่นรายเล็กที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จะลำบากกว่า และถูกบีบให้ต้องรวมตัวกันเพื่อความอยู่รอด

Valuation and action

สินเชื่อจำนำทะเบียนของ SINGER กำลังมีแนวโน้มเติบโตดี ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ของ KTC และ AEONTS ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สามารถเพิ่มรายได้จากการติดตามหนี้เสียได้มากขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการกันสำรองลดลง และยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรก็ฟื้นตัวขึ้น ในกรณีของ MTC อาจจะไม่ได้ถูกกดดันมากนักจากการแข่งขันที่เกิดจากการรวมตัวกันภายในอุตสาหกรรม และสินเชื่อก็ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ MTC, SAWAD, SINGER แต่ยังอยู่ระหว่างทบทวนคำแนะนำหุ้น KTC

Risks

NPL เพิ่มขึ้น, ค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ลดลง, มีการปรับลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อผู้บริโภคลง