'ผบ.ทบ.' ปัดจ้าง 'เอ้าท์ซอส' ทำ 'ไอโอ' ไม่ตอบประกาศ 'อัยการศึก'

'พล.อ.ณรงค์พันธ์' เตรียมให้ ทีมโฆษก แถลง เอกสารจ้างบริษัทเอกชน ทำ 'ไอโอ' ผ่านทวิตเตอร์จำนวนนับหมื่นบัญชี ปัดตอบ รัฐใช้ทหารนอกเครื่องแบบ ดูแลพื้นที่ 'สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์'

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 25ุ63 กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีที่มีเอกสารจ้างบริษัทเอกชน (เอ้าท์ซอส)ทำไอโอผ่านทวิตเตอร์จำนวนนับหมื่นบัญชีว่า ไม่มี เดี๋ยวให้หน่วยเกี่ยวข้องต้องรายงานขึ้นมาว่า อะไรจริง อะไรถูก และอย่างที่ตนเคยบอกในเรื่องเฟสนิวส์ อย่างไรก็ตามจะให้ทีมโฆษกกองทัพบก ชี้แจงต่อไปไม่มี เดี๋ยวให้หน่วยเกี่ยวข้องต้องรายงานขึ้นมาว่า อะไรจริง อะไรถูก และอย่างที่ตนเคยบอกในเรื่องเฟสนิวส์ อย่างไรก็ตามจะให้ทีมโฆษกกองทัพบก ชี้แจงต่อไป

เมื่อถามว่า ผบ.ทบ. มีแนวคิดประกาศกฎอัยการศึกหรือไม่ หากสถานการณ์รุนแรง โดย พล.อ.ณรงค์พันธ์ ปฏิเสธตอบคำถาม รวมถึงกรณีที่รัฐใช้ทหารนอกเครื่องแบบเข้ามาดูแลพื้นที่บริเวณหน้าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

โดยในช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.อ.ณรงค์พันธ์ ทำพิธีเปิดสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ตามที่ พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้อนุมัติให้แปรสภาพ คณะกรรมการยุทธศาสตร์กองทัพบก เป็น สถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ตั้งแต่ 1 ต.ค.2563 เป็นต้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นคลังสมองในการกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงให้กับกองทัพบก และรัฐบาล ได้อย่างถูกต้อง อยู่บนพื้นฐานข้อมูลและความรู้ทางวิชาการที่แท้จริง

โดยให้ สถาบันฯ มีหน้าที่ สำคัญ คือ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา รวบรวมงานด้านวิชาการ และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ติดตามสถานการณ์ด้านความมั่นคงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นฐานความรู้และข้อมูลทางวิชาการด้านความมั่นคงที่ถูกต้องให้กับกองทัพบก และรัฐบาล ทั้งนี้ สถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง มี พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหาร และมี พล.อ. ธเนศ กาลพฤกษ์ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เป็น ผู้อำนวยการสถาบันฯ 

สถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง แบ่งกลุ่มงานออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ขอบเขตงานยึดถือหลักการสำคัญ ตามประเด็น "ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง" ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งเป็นไปตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2560 มาตรา 65”
กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพกองทัพบก กลุ่มงานพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถทางทหาร สำหรับกลุ่มงานกลุ่มที่ 2 และ 3 นี้ ขอบเขตงานยึดตามวิสัยทัศน์กองทัพบก พ.ศ.2580 ที่ว่า “เป็นกองทัพบกที่มีศักยภาพ ทันสมัย เป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน และเป็นหนึ่งในกองทัพบกชั้นนำของภูมิภาค”
กลุ่มงานสนับสนุน

การเปิดสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ในวันนี้ นับเป็นก้าวแรก ที่จะเริ่มทำหน้าที่เป็นคลังสมองด้านความมั่นคงให้กองทัพบก และรัฐบาล สถาบันฯมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานวิจัยเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนากองทัพบก รวมทั้งงานวิจัยด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้กับรัฐบาล มุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่เป็น “สะพานเชื่อมระหว่างความรู้ กับนโยบาย” มีความเป็นอิสระทางวิชาการ และเป็นตัวกลางประสานงานด้านวิชาการระหว่างกองทัพบก กับภาคประชาสังคม

สำหรับการดำเนินงานในปีแรกนี้ สถาบันฯ มีงานวิจัยที่สำคัญ คือ ประเด็นปัญหาระดับประเทศที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจ คือ การตรวจเลือกทหาร โดยเป็นความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างนักวิชาการของสถาบันฯ กับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสยาม และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ งานวิจัยฯ นี้ หากดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ทางสถาบันฯ เชื่อมั่นว่าจะสามารถตอบโจทย์เรื่อง “การปฏิรูประบบการตรวจเลือกทหารของไทยในศตวรรษที่ 21 ในบริบท ความมั่นคงในรูปแบบใหม่” ได้อย่างชัดเจน
สถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง มีชื่อย่อว่า “สวพม.”