28หน่วยงานตั้ง ‘ภาคีวิจัยบรรยากาศ’ เกาะติดฝุ่น PM 2.5

28หน่วยงานตั้ง ‘ภาคีวิจัยบรรยากาศ’ เกาะติดฝุ่น PM 2.5

28 หน่วยงานวิจัยจับมือตั้ง ‘"ภาคีวิจัยบรรยากาศ" ทำวิจัยตอบโจทย์การแก้ปัญหา เร่งด่วนของประเทศ สร้างนักวิจัยด้านบรรยากาศรุ่นใหม่ในช่วงเวลา 5-10 ปีข้างหน้า ประเดิมภารกิจฝุ่นละอองจิ๋ว PM2.5

ในปัจจุบันปัญหาด้านมลพิษอากาศถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สำคัญที่สุดของโลก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับภาวะการเปลี่ยน
แปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกมีค่าสูงขึ้น และทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และเกิดน้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่งใน
หลายประเทศ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั้งด้านสุขภาพและการเงิน

หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญและตระหนักถึงปัญหามลพิษอากาศที่เกิด รวมถึงประเทศไทย ที่ได้ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และประสบปัญหาคุณภาพอากาศและอย่างมาก ทั้งความแปรปรวนของฤดูกาล อุณหภูมิของโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) และมลพิษอากาศที่เกี่ยวข้อง เช่น ก๊าซโอโซนระดับผิวดิน ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ สารมลพิษตกค้างยาวนาน เป็นต้น

160631077081

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดตั้ง “กลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศ” ต่อ
มาได้เปลี่ยนเป็น “ภาคีความร่วมมือวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย” โดยร่วมกับอีก 2 หน่วยงานองค์การมหาชน และ 23 มหาวิทยาลัย โดยมีเป้า
หมายเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับการวิจัยด้านบรรยากาศและคุณภาพอากาศของประเทศไทย เพื่อให้การทำวิจัยสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหา
เร่งด่วนของรัฐบาลได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างนักวิจัยด้านวบรรยากาศรุ่นใหม่ในช่วงเวลา 5-10 ปีข้างหน้า

รวมทั้งเพื่อสามารถตรวจติดตามปริมาณฝุ่นละอองและวิเคราะห์องค์ประกอบของฝุ่น PM2.5 ทั้งกลุ่มสารอินทรีย์และอนินทรีย์ รวมถึงปริมาณและ
ชนิดของแก๊สมลพิษและสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสัดส่วนของสารมลพิษและสามารถระบุแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5
ทั้งแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อได้มาถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่น PM2.5
และกลไกการเกิดในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการจำลองโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อการคาดการณ์
สถานการณ์คุณภาพอากาศ และผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหา
มลพิษอากาศได้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องและถูกจุดมากขึ้น

160631078828

นายศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ กล่าวว่า การวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศ ซึ่งรวมถึงคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ หลังจากดำเนินการมาระยะหนึ่ง พบว่า ในประเทศไทย ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศต่างกระจายอยู่ตามหน่วย
งานต่างๆ ทำให้ผลงานวิจัยที่ได้กระจัดกระจาย ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละอองจิ๋ว และการคาดการณ์ผล
กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สดร. จึงเชิญคณาจารย์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยบรรยากาศในประเทศไทย จน
ท้ายสุดทุกฝ่ายได้แสดงเจตจำนงร่วมกัน ในการจัดตั้งเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย เพื่อบูรณาการและ ขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญหลัก
ของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงประสานความร่วมมืองานวิจัยด้านบรรยากาศและคุณภาพอากาศในประเทศไทย ให้มีการทำงานที่สอดประสานกัน เนื่อง
จากปัญหาด้านบรรยากาศมีความหลากหลายและซับซ้อนเกินกว่าหน่วยงานเดียวจะทำได้

ด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ซึ่งเป็น 1 ใน 3 องค์การ
มหาชนที่ร่วมในภาคีฯ กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูลภูมิสารสนเทศและข้อมูลจากดาวเทียมจะใช้เทคโนโลยี
จากอวกาศเพื่อติดตามมลภาวะทางอากาศ ที่จะแสดงให้เห็นถึงการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ในการติดตามและบ่งชี้มลภาวะทางอากาศ ซึ่งจะช่วย
ลดข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือตรวจวัดภาคพื้นดินได้เป็นอย่างดี โดยการนำข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีการตรวจวัดอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลดาวเทียม
จากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมบูรณาการกันจะช่วยให้เข้าใจและเห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นในการวางแผนแก้ไขปัญหา PM2.5 ได้
อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

160631089765

นอกจากนี้ จิสด้าพร้อมที่จะสนับสนุนข้อมูลให้กับเครือข่ายนักวิจัยทั่วประเทศ โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพการติดตามสถานการณ์ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 โดยใช้ดาว
เทียมของญี่ปุ่นชื่อ "ฮิมาวาริ" (HIMAWARI) ในการติดตามข้อมูลได้ทุกชั่วโมงทำให้ได้ข้อมูลที่อัพเดตทันสมัยอย่างต่อเนื่อง โดยจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 1 ธันวาคมนี้ นอกเหนือจากข้อมูลของระบบดาวเทียม Modis ที่ทำการมอนิเตอร์อยู่แล้ว จึงจะทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลฝุ่นละอองจิ๋ว พีเอ็ม 2.5 แบบ Real Time และแม่นยำมากขึ้น