ผ่า 'ฟันเฟือง' ราษฎร แรงดัน 'กองหนุน' ม็อบ

ผ่า 'ฟันเฟือง' ราษฎร แรงดัน 'กองหนุน' ม็อบ

เมื่อ "แนวปะทะ" ที่มาจากการ์ดอาชีวะหลายสถาบัน กลายเป็น "ชุดกำแพง" ที่กลุ่มคณะราษฎรจะขาดไม่ได้

ถูกยกระดับการชุมนุมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเคลื่อนไหวกลุ่ม "คณะราษฎร" ผนึกเครือข่ายแนวร่วมต่อต้านรัฐบาลตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งนอกจากกำหนด "ธีม" เพื่อใช้กดดันรัฐบาลยังถูกปรับแผนยุทธศาสตร์เคลื่อนไหวที่ตามสถานการณ์ แต่เดินตามยุทธวิธีที่กำหนดไว้

หนึ่งในองค์ประกอบที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบการเคลื่อนไหวการชุมนุม เห็นได้ชัดจากช่วงที่ "อานนท์ นํา ภา-พริษฐ์ ชิวารักษ์-ปนัสยาสิทธิจิรวัฒนกุล-ภานุพงศ์ จาดนอก" ถูกจับกุม แต่การชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าว สถานีบีทีเอสอุดมสุข และวงเวียนใหญ่ เมื่อ 17 ..ที่ผ่านมา กลับไม่มีแกนนำมวลชนชัดเจน มีเพียง "แกนนำเฉพาะหน้า" ขึ้นปราศรัยในที่ตั้งโยงโดยไม่มีการเคลื่อนขบวนไปยังสถานที่อื่นเท่านั่น

แต่แล้วเมื่อกลุ่ม "แกนนำหลัก" ทยอยออกจากเรือนจำ เพื่อออกมานำการเคลื่อนไหวอีกครั้ง ทำให้การชุมนุม MOB FEST ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 14 .. การชุมนุมที่หน้าอาคารรัฐสภาวันที่ 17 .. และล่าสุดการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ก่อนเคลื่อนขบวนมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ..นั้น กลับมาสู่การไหวที่มีแกนนำกำหนดทิศทางชุมนุมอีกครั้ง

โดยเฉพาะ "แนวปะทะ" ที่มาจากการ์ดอาชีวะหลายสถาบัน กลายเป็นชุดกำแพงที่กลุ่มคณะราษฎรจะขาดไม่ได้ ภายหลังที่กลุ่มนักเรียนอาชีวะเป็นศัตรู "คู่อริ" ต่างสถาบันมาตลอดหลายสิบปี

160595619434

หนึ่งในการ์ดอาชีวะบอกกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ฟันเฟืองอาชีวะถูกแยกเบื้องต้นเป็น "เฟืองใหญ่" คือกลุ่มรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วยังคอยเชื่อมกันแล้วสื่อสารมาถึง "เฟืองเล็ก" คือรุ่นน้อง การลงพื้นที่เป็นการ์ดทุกครั้ง นักเรียนแต่ละสถาบันจะประสานเพื่อแบ่งจุดรับผิดชอบตัวอย่าง เหตุปะทะที่แยกเกียกกาย จะมีกลุ่มการ์ดอาชีวะควบคุมไม่ให้กลุ่มมวลชนขึ้นไปบนสะพานลอยบนแยกเกียกกาย เพื่อป้องกันอันตรายจากแนวปะทะกลุ่มเสื้อเหลืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลา 15.00 . จนถึงยุติการชุมนุมในช่วง 21.00 .

ประเด็นที่หลายคนสงสัยถึง กลุ่มอาชีวะต่างสถาบัน เลิกตีกันแล้วจริงหรือไม่ "นัท" หนึ่งในนักเรียนอาชีวะอธิบายให้ "กรุงเทพธุรกิจ" ฟังว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงที่ตอนนี้อาชีวะไม่ได้ตีกันแล้ว ที่ผ่านมาเจอกันแต่ละครั้งถึงแม้จะใส่เสื้อต่างสถาบัน แต่ทำเพียงมองทักทายแล้วคุยกัน เพราะตอนนี้พวกเรามีหน้าที่หลักดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม กลายเป็นว่าที่เคยตีกันตอนนี้ไม่ได้คิดเลยขอมาทำหน้าที่ตรงนี้ก่อน แต่ถ้าม็อบจบไปแล้วจะกลับมาตีกันหรือเปล่า ก็ไม่มีใครรู้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ที่ชัดเจนว่าอาชีวะและกลุ่มช่างกลที่เคยตีกันไม่มีแล้ว

160595639224

ไม่ใช่แค่ระบบ "แนวการ์ด" เพียงอย่างเดียว แต่คณะราษฎรยังจัดระบบหน่วยพยาบาลฉุกเฉิน โดยจะมีจุดสแตนบายรอบพื้นที่ชุมนุมทุกด้าน โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่เข้า-ออกให้รถกู้ชีพจุดละ 2-4 คัน รองรับการเปิดเส้นทางกรณีต้องส่งผู้ได้รับบาดเจ็บไปที่โรงพยาบาลใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

ขณะเดียวกัน "คณะราษฎร" เป็นม็อบที่ไม่มี "โรงครัว" เพื่อแจกอาหารฟรีให้กับผู้ชุมนุมของตัวเอง แต่จะฝากท้องไว้กับกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าที่ผู้ชุมนุมเรียกว่า "ซีไอเอ" แต่การบริการสิ่งเดียวอยู่ที่การกระจายจุดแจกน้ำ และน้ำเกลือกรณีตำรวจใช้แก๊ซน้ำตากับผู้ชุมนุมเช่น ที่บริเวณแยกเกียกกายจากเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อบ่ายวันที่ 17 ..

ในจุดนี้จะมีกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "Doctor and Nurse Associate(D.N.A.)" หรือกลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัคร ทำหน้าที่เดินดูแลผู้ชุมนุมด้วยสโลแกน "มวลชนปลอดภัยคือความภูมิใจของเรา" รวมถึงกลุ่ม "Mobsupport2020" จะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นทีมแพทย์ประจำม็อบเช่นกัน

160595644313

ไม่ใช่แค่นั้นการจัดระเบียนดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมของคณะราษฎร ยังจัดระบบ "การช่วยเหลือ" เรื่องต่างๆ ขณะอยู่ในพื้นที่ชุมนุม ตั้งแต่การหาห้องน้ำ จะมีทวิตเตอร์ที่ชื่อว่า @ToiletNearMob คอยแจ้งพิกัด "#ห้องน้ำใกล้ม็อบ" ด้วยติดแฮชแท็คดังกล่าว เพื่อช่วยสื่อสารสถานที่เพื่อ "บอกต่อ" ไปยังกลุ่มมวลชน

นอกจากนี้จากปริมาณมวลชนที่เข้ามาร่วมชุมนุมจำนวนมากแต่ละครั้ง ทำให้พบปัญหา "ของหาย" ในพื้นที่ทำให้มีการจัดตั้งทวิตเตอร์ @khonghaiinmob แจ้งให้ผู้ชุมนุมช่วยกันติด #ของหายในม็อบ เพื่อช่วยกระจายข่าวไปถึงมวลชน หากพบสิ่งของสำคัญสูญหายระหว่างชุมุนม รวมไปถึงทวิตเตอร์ @dropoffmob "คืนของม็อบ" ทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" แจ้งจุดคืนอุปกรณ์-สิ่งของจัดกิจกรรมเพื่อนำมาใช้ต่อในการชุมนุมครั้งต่อไป

160595670459

ส่วนแอคเคาท์ @whathappeninmob จะทำหน้าที่เป็น "กำลังเสริม" เพื่อคอยแจ้งข่าว รีทวิตแอคเคาท์อื่น "ช่วยเหลือ" ในแต่ละด้านอีกครั้ง ที่สำคัญยังมีการจัดดูแล-ช่วยเหลือกลุ่มผู้ชุมนุมอายุอายุต่ำกว่า 15 ปี และต่ำกว่า 18 ปีจะถูกติดโบว์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ โดยริบบิ้นสีส้มจะถูกผูกไว้ที่แขนให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 15 ปีและริบบิ้นสีชมพูจะผูกที่แขนให้ผู้ที่อายุตำ่กว่า 18 ปี

ถึงแม้ "ระบบ" ที่ถูกสร้างขึ้นจะดูแลไม่ได้เต็ม 100 % แต่เป็นรูปแบบการบริหารจัดการ "ภายใน" กลุ่มมวลชนกันเอง โดยเฉพาะจาก"กลุ่มเยาวชน" ใช่ช่องทางสื่อสารเป็นตัวกลางประสาน-ช่วยเหลือ-ดูแลกลุ่มผู้ชมนุม ซึ่งเป็น "เฟืองหลัก" กดดันไปสู่ข้อเรียกร้องที่ประกาศไว้.