SINGER

SINGER

มุ่งเน้นการโตไปที่สินเชื่อจำนำทะเบียนสำหรับรถขนาดใหญ่

Event

อัพเดตแนวโน้มธุรกิจ, ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย

lmpact

สินเชื่อเร่งตัวขึ้น

หลังจากที่สินเชื่อโตถึง 16% QoQ และ 54% YoY ใน 3Q63 บริษัทก็คาดว่าสินเชื่อจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 4Q63 และในปี 2564 ซึ่งจากยอดสินเชื่อคงค้างใน 3Q63 อยู่ที่ 5.4 พันล้านบาท สินเชื่อใหม่ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน (ส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่) คิดเป็นมูลค่าถึง
50% ของสินเชื่อรวม (+24% QoQ และ +122% YoY ใน 3Q63) ในขณะที่อัตราการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในฐานปกติที่ประมาณ 20-25% YoY ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทใช้กลยุทธ์เร่งขยายสินเชื่อ บริษัทจึงเน้นปล่อยกู้วงเงินสูงในกลุ่ม fleet car และยานพาหนะขนาดใหญ่ โดยตั้งเป้าจะขยายพอร์ตสินเชื่อเป็น 1 หมื่นล้านบาทภายใน 2-3 ปี และจะนำธุรกิจนี้เข้ามาจดทะเบียนใน SET

จะเน้นขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมาร์จิ้นสูง

ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าของ SINGER ฟื้นตัวขึ้นในปี 2562 จากการเปลี่ยนโครงสร้างยอดขาย มาเน้นเครื่องปรับอากาศ และลดสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีลง ส่งผลให้หนี้เสีย และค่าใช้จ่ายในการกันสำรองลดลงสำหรับในระยะต่อไป บริษัทจะเน้นขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี margin สูง ซึ่งที่ระดับปัจจุบัน เราใช้สมมติฐานว่าการเติบโตในปี 2563 จะเพิ่มเป็น 44% และจะเข้าสู่ระดับปกติที่ 10% ในปี 2564F อัตรากำไรขั้นต้น 45%/46% ในปี 2563/2564 (เทียบกับ 45% ในช่วง 9M20)

ตั้งเป้ากดสัดส่วน NPL ให้ต่ำลงอีก

หลังจากที่ยกเครื่องระบบติดตามหนี้ และเปลี่ยนโครงสร้างยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว SINGER ก็สามารถลดหนี้เสียลงได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา และติดตามหนี้ได้มากขึ้น โดยสัดส่วน NPL ลดลงจาก 8% ในปี 2561 เหลือ 7.5% ในปี 2562 และเหลือแค่ 4.2% ใน 3Q63 ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าจะลดสัดส่วน NPL ลงให้เหลือแค่ 3.5% ภายในสิ้นปีนี้ และ <3% ในปี 2564

ปรับเพิ่มกำไรปี 2563/64 อีก 2%/5% และราคเป้าหมายปี 2564F เป็น 18.50 บาท (จากเดิม 17.00 บาท)

หลังจากที่สินเชื่อและกำไรโตอย่างแข็งแกร่งใน 3Q63 เราจึงปรับสมมติฐานหลักเล็กน้อย เพื่อสะท้อนถึงสมมติฐานสินเชื่อจำนำทะเบียนที่เพิ่มขึ้น โดยเราใช้สมมติฐานว่าสินเชื่อจำนำทะเบียนจะเพิ่มเป็น3.3 พันล้านบาทในสิ้นปีนี้ (จากเดิมที่คาดไว้แค่ 2.7 พันล้านบาท) และเป็น 5.0 พันล้านบาทในปี 2564 (จาก
เดิมที่คาดไว้ที่ 4.1 พันล้านบาท) นอกจากนี้ เรายังปรับเพิ่มสมมติฐานยอดกันสำรองเพื่อสะท้อนถึงอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อใช้ P/E เป้า หมายที่ 20x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 18.50 บาท

Risks

dilution ที่เกิดจากการแปลง warrant (+13% ในปี 2564, 16% ในปี 2566), yield ของ SINGER อยู่ที่ 16% (ในขณะที่ของคู่แข่งอยู่ในช่วง 7-16%)).