ค่าฝุ่น PM2.5 กรุงเทพฯ เช้านี้ เกินมาตรฐาน 6 พื้นที่ ริม ถ.กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน สูงสุด

ค่าฝุ่น PM2.5 กรุงเทพฯ เช้านี้ เกินมาตรฐาน 6 พื้นที่ ริม ถ.กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน สูงสุด

ค่าฝุ่น PM2.5 เช้านี้ 'กรุงเทพฯ-ปริมณฑล' เกินมาตรฐาน 6 พื้นที่ ริม ถ.กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน สูงสุด ปชช.เฝ้าระวังสุขภาพ-ลดเวลาการทำกิจกรรมการแจ้ง

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 63 กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ว่า ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำนวน 71 สถานี ตรวจวัดค่าได้ 2-66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ) โดยพบพื้นที่มีปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานและเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 6 พื้นที่ ได้แก่

1. ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2. ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม8 เขตหนองแขม 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
3. ริมคลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
4. ริมถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
5. ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
6. ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่มีปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตฐาน ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมการแจ้ง โดยสามารถติดตามสถานการณ์ผ่นทางเว็บไซต์ Air4Thai.com แอปพลิเคชั่น Air4Thai uละ bangkokairquality.com

160583732097

ขณะที่ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ (19 พ.ย.63) ตรวจวัดได้ 23-67 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่ กทม.ดำเนินตามมาตรการฉีดน้ำ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง ทั้งการฉีดพ่นน้ำล้างพื้นถนน เนื่องจากจะช่วยให้ฝุ่นละออง ที่ตกลงบนถนน ถูกจับกับน้ำไม่ฟุ้งกระจายและส่งผลกระทบต่อประชาชน รวมถึงการเช็ดถู และทำความสะอาดสถานที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังฉีดพ่นน้ำล้างต้นไม้ เพื่อช่วยให้ดักจับฝุ่นได้เพิ่มขึ้นและฉีดน้ำบนอาคารสูง เพราะจะช่วยให้ฝุ่นละอองโดยรอบอาคาร โดนจับเปรียบเสมือน เครื่องกรองอากาศ สำหรับผู้ที่อยู่ในอาคาร แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญ จะระบุว่าการฉีดพ่นน้ำไม่สามารถช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้มากนัก แต่ทำให้ฝุ่นขนาดใหญ่หรือ PM 10 ลดลงได้