“Everlasting Battery แบตเตอรี่: ปฏิวัติพลังงานอนาคต”

“Everlasting Battery แบตเตอรี่: ปฏิวัติพลังงานอนาคต”

“Everlasting Battery แบตเตอรี่: ปฏิวัติพลังงานอนาคต”

แบตฯทรานฟอร์มธุรกิจพลังงาน

บางจากเล็งตั้งโรงงานในยุโรป

พลังงานชี้แบตเตอรีปฏิวัติพลังงาน เผย “ไบเดนหนุนพลังงานสะอาด ดันอีวีโตกระตุ้นใช้แบตเตอรี บางจากเดินหน้าเหมืองลิเทียมในอาร์เจนตินา-สหรัฐ เล็งตั้งโรงงานแบตเตอรีในยุโรป งบลงทุน 200-300 ล้านดอลลาร์

ปัจจุบันโลกกำลังเปลี่ยนถ่ายจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยแบตเตอรีจะเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีของแบตเตอรีมีความความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยปาถกฐาในงานสัมมนา “แบตเตอรี่ : ปฏิวัติพลังงานอนาคต Everlasting Battery” จัดโดย บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า เทคโนโลยีใหม่จะนำไปสู่พลังงานสะอาดที่แก้ไขภาวะโลกร้อน โดยจะพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าใหม่มาใช้ทั้งมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า เรือไฟฟ้า รถไฟฟ้า เพื่อทดแทนเครื่องยนต์สันดาปภายใน

ทั้งนี้ หลังจากที่นายโจ ไบเดน ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ประกาศนโยบายลงทุน 4 แสนล้านดอลลาร์ หรือกว่า 13 ล้านล้านบาท ในการลงทุนด้านพลังงานสะอาด 10 ปี ซึ่งสหรัฐจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 4 ล้านคัน และสร้างสถานีชาร์ตไฟฟ้าอีก 5 แสนแห่ง ภายในปี 2573 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็น 0% ภายในปี 2593 

160577753729

ขณะที่จีนประกาศหยุดผลิตรถยนต์สันดาปภายในปี 2573 สหภาพยุโรป (อียู) หยุดขายรถยนต์สันดาปภายในปี 2583 ซึ่งแม้จะใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) สัดส่วนเพียง 0.4% ของรถยนต์ทั่วโลก แต่ลดการใช้น้ำมันได้ถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าปี 2593 สัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะสูงถึง 54%

ส่วนรัฐบาลไทยกำหนดเป้าหมายผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในทุกรูปแบบให้ได้ไม่ต่ำกว่า 30% หรือมีจำนวน 750,000 คัน/ปี ภายในปี 2573 และในปี 2593 จะใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านคัน

ทั้งนี้ หัวใจหลักของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า คือแบตเตอรี่ ซึ่งใน 10 ปีที่ผ่านมาพัฒนาลิเทียมไอออนต่อเนื่องทำให้ราคาลดลงถึง 80% หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 8% และมีแนวโน้มที่ราคาจะลดต่ำลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีความจุไฟฟ้าและระยะทางการวิ่งได้ไกลขึ้น ทำให้สร้างสถานีชาร์ตไฟฟ้ารองรับได้ รวมทั้งจะเกิดธุรกิจด้านพลังงานใหม่ ซึ่งจะเป็นการปฏิวัติพลังงานครั้งสำคัญ

ส่วนกระทรวงพลังงานได้ปรับตัว โดยทำแผนพีดีพี 2020 ที่จะเริ่มทำปี 2564 ที่รองรับปัญหาโควิด และครอบคลุมแผนพัฒนาพลังงานทุกด้าน รวมทั้งการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า การพยากรณ์การใช้พลังงานในอนาคต จะนับรวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าทุกชนิด ระบบรางที่จะใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ และรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการขยายตัวของสถานีชาร์ตไฟฟ้าทั่วประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

รัฐบาลจะเร่งปรับกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคกับเทคโนโลยีใหม่และพลังงานไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคาไฟฟ้าสำหรับชาร์ตอีวีที่แยกจากราคาไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม มาเป็นการคิดราคาไฟฟ้าเพื่อรถอีวีโดยเฉพาะ รวมทั้งการปรับนโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่แบตเตอรี่จะเข้ามาปฏิวัติพลังงานในอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางสำหรับรถยนต์อีวี และการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายปลายทางของการพัฒนาพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของโลก คือการใช้พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งต้องพัฒนาเทคโนโลยีกรีนไฮโดรเจนที่ตอบโจทย์ของโลก

160577753945

ทั้งนี้ ช่วงรอยต่อ 30-40 ปีนี้ เป็นช่วงรอยต่อที่สำคัญที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรี่จะเข้ามาเชื่อมต่อช่องว่างนี้ เทคโนโลยีเก็บกักไฟฟ้าจะเข้ามาเติมเต็มให้กับโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และพลังงานลมให้มีความเสถียร จ่ายไฟฟ้าได้ทั้งกลางวันกลางคืนอย่างต่อเนื่อง เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สร้างมลพิษ และแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะมาตอบโจทย์ได้ในทุกระดับ ตั้งแต่การเก็บไฟฟ้าในมือถือไปจนถึงเก็บไฟฟ้าในโรงไฟฟ้า

ในจีนแก้ปัญหามลพิษโดยการกำหนดห้ามใช้รถจักรยานยนต์ภายในเมือง ให้ใช้แต่จักรยานยนต์ไฟฟ้า และขยายไปรถยนต์ขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหามลพิษ และเพิ่มปริมาณการใช้แบตเตอรี่ได้มาก จึงเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ บางจากได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้มาก ซึ่งได้ร่วมลงทุนเหมืองแร่ลิเทียมกับต่างชาติในสัดส่วน 18.5% ซึ่งมีเหมืองอยู่ที่อาเจนตินาและรัฐเนวาด้า ประเทศสหรัฐ โดยกำลังก่อสร้างและโรงงานผลิตแร่ริเทียมบริสุทธิ์จะเสร็จปลายปี 2563 ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ บางจาก จะมีสิทธิ์ซื้อแร่ลิเทียมคุณภาพสูงได้ปีละ 6 พันตันในระยะแรก หรือเทียบเท่ากับการผลิตแบตเตอรี่ 3 กิกะวัตต์ชั่วโมง ใช้ในรถยนต์อีวีได้ 1.5 แสนคัน ใช้ในมือถือได้กว่า 200 ล้านเครื่อง

รวมทั้งหลังจากนี้จะลงนามเอ็มโอยูกับผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของยุโรป และร่วมมือกับพาทเนอร์จากจีนพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเทียมตามที่ไทยต้องการ หากผลการเจรจาร่วมลงทุนสำเร็จคาดว่าระยะแรกจะตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในยุโรปก่อน คาดว่าใช้เงินลงทุน 200-300 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีความต้องการสูง ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี เสร็จในปี 2567 ซึ่งสอดรับกับเทคโนโลยีแบตเตอรีจะเริ่มนิ่งในปี 2566 -2567

ประกอบปี 2568 ในยุโรปจะผลิตรถยนต์อีวี 3-4 ล้านคัน และของไทย 7.5 แสนคันในปี 2573 และคาดว่าในปี 2567 จะกำหนดมาตรฐานแบตเตอรีรถอีวีทำให้ทุกค่ายรถยนต์ใช้มาตรฐานเดียยวกัน และตลาดแบตเตอรีขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ การที่จะตั้งโรงงานผลิตแบตอตเรี่ลิเทียมไอออนในไทยได้นั้น จะต้องมีความต้องการภายในประเทศสูงกว่านี้ โดยรัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้รถยนต์สาธารณะในไทยหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มจากให้วินมอเตอร์ไซด์ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าก่อน ซึ่งประเทศไทยซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ปีละ 2 ล้านคัน และมีวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างหลายแสนคัน

รวมทั้งหากกลุ่มนี้ใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยเพิ่มความต้องการแบตอตเรี่ได้มาก จากนั้นควรขยายไปกลุ่มรถสองแถว รถเมล์ รถราชการ ซึ่งรถเหล่านี้มีเส้นทางวิ่งที่แน่นอน ทำให้สร้างสถานีชาร์ตได้เหมาะสม หากทำได้ตามนี้ก็จะเพิ่มความต้องการใช้แบตเตอรี่เพียงพอต่อการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่

นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีแบตเตอรี่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคไฟฟ้าเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นผู้ซื้อไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวมาเป็นทั้งผู้ใช้และขายไฟฟ้า ซึ่งเมื่อรวมกับเทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้เกิดการดีสรัปชั่นในธุรกิจพลังงาน จะทำให้พลังงานสะอาดราคาถูกลง และเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการพลังงานในรูปแบบใหม่

ทั้งนี้ บริษัท ได้หารือกับผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับตัวไปสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยตัวเอง การขายไฟฟ้าระหว่างกัน และขายไฟฟ้ากลับเข้าการไฟฟ้า ทำให้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจะตกไปสู่ประชาชนแต่ระบบการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศจะได้รับผลกระทบ ทำให้ธุรกิจผลิตไฟฟ้าอยู่บนทางแยกของระบบผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิมกับระบบผลิตไฟฟ้าแบบใหม่

นายอาลี อิซาดี นาจาฟาอาดีหัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของบลูมเบิร์ก นิว เอเนอร์จี้ ไฟแนนซ์ ชี้ว่าเทรนด์แบตเตอรี่ของโลกกำลังพัฒนาก้าวไปอย่างรวดเร็วสู่ระบบกักเก็บที่เน้นใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบแบตเตอรี่ลิเธียมเน้นการลดขนาด 40% แต่เพิ่มศักยภาพชาร์จเร็วขึ้น 10 เท่า และให้พลังงานมากขึ้น 10กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง

รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่า สหรัฐและเอเชียแปซิฟิก กำลังเป็นตลาดที่ครองสัดส่วนแบตเตอรี่แนวใหม่ที่ได้ก้าวขึ้นมามีความสำคัญในปัจจุบัน และคาดว่าสามารถพัฒนาให้มีศักยภาพสุดขึ้นในอนาคต โดยจะเห็นว่า ในปีนี้แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมยังสูงขึ้นถึง 98% แต่ราคาถูกลง และลดต้นทุนอีกด้วย

 

นายดีน แฟรงเคิล เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์ของโซลิด พาวเวอร์ บริษัทสัญชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นพันธมิตรของบางจาก กล่าวว่า โซลิดพาวเวอร์ตั้งใจพัฒนาโซลิด สเตทถือเป็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในเจเนเรชั่นถัดไปสำหรับตลาดแบตเตอรี่เคลื่อนที่ โดยปัจจุบันมีอุปสงค์มากขึ้นจากตลาดอื่น เช่น แหล่งกักเก็บพลังงานแบบติดตั้งอยู่กับที่ ทำให้โซลิดพาวเวอร์พัฒนาให้โซลิด สเตทตอบโจทย์การใช้งานด้านอื่นด้วย แต่ยังเน้นการเพิ่มศักยภาพลดขั้นตอนการผลิตสู่การเป็นมัลติเพลเยอร์เพื่อช่วยประหยัดต้นทุน มุ่งเพิ่มกำไรและความปลอดภัย

ขอเน้นย้ำว่า โซลิด สเตทเป็นเทคโนโลยีประเภทหนึ่งที่นำไปสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ขั้นสูงขึ้น ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มใหญ่น่าสนใจ ได้แก่ โซลิดอิเล็กโทรไลต์และโซลิดสเตทพาสฟอร์มที่ให้พลังงานสูงกว่าถ้าเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดอื่น เพราะใช้ซิลิคอนอาร์โหนดแทนกราไฟท์ และยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงหลายเท่าตัว

นายโรเบิร์ต เอ.แรงโก้ซีอีโอของเอเนอร์เวท คอร์ปอเรชั่น ในฐานะพันมิตรด้านพลังงานแบตเตอรี่ของบางจาก กล่าวว่า เป้าหมายหลักของเทคโนโลยีเอเนอร์เวทเน้นพัฒนาแบตเตอรีที่หลากหลายใช้ในหุ่นยนต์ รถยนต์อีวี และรถบรรทุกเพื่อการขนส่งสินค้าเชื่อว่า แบตเตอรี่ไฟฟ้าที่มีศักยภาพทางธุรกิจ จะช่วยลดต้นทุนการผลิต 20% และประหยัดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 20% ในขั้นตอนการผลิต

นายแรงโก้ กล่าวว่าเทคโนโลยีเอเนอร์เวทมีความโดดเด่นในเรื่องการช่วยลดต้นทุนในทุกด้าน ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้อย่างเร็วภายใน 5 นาที เทียบเท่ากับการใช้เวลาเพื่อเติมน้ำมัน สามารถใช้ในอากาศที่หนาวเย็น ทนทานกว่าแบตเตอรี่รถอีวีที่ใช้ในปัจจุบันมากถึง 30%