“ส.ส.ร.” กับการต่อรอง ที่ตั้งเป้า บน “ความสมประโยชน์” ร่วมกัน

“ส.ส.ร.” กับการต่อรอง ที่ตั้งเป้า บน “ความสมประโยชน์” ร่วมกัน

แม้ การแก้ไข "รัฐธรรมนูญ" จะเข้าสู่ก้าวแรก แต่เชื่อว่าถนนที่นำไปสู่ปลายทาง ตั้ง "ส.ส.ร." ทำหน้าที่ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องเผชิญกับ "ความวิบาก" อีกหลายด่าน และดูท่าแล้ว จะไม่มีสัญญาณจะประนีประนอมระหว่างกัน

        แม้ไม่ผิดความคาดหมาย ต่อ เกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในที่ประชุมรัฐสภา รับหลักการ "2ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ที่มีปลายทาง คือ ตั้ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” ให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

        แต่สถานการณ์การเมืองไทย นับจากนี้ หาใช่สถานการณ์แห่งการประณีประนอม แต่จะเป็นสถานการณ์ที่ เปรียบเป็น เส้นทางที่ถูกปูด้วย ก้อนหิน ก้อนกรวด และก้อนอิฐ ไปตลอดทาง

        เมื่อสถานการณ์นอกสภาฯ เป็น “สารเร่งเร้า” ทั้ง “ม็อบ-การชุมนุม” ไม่ว่าจะเป็น “ม็อบเยาวชนและแนวร่วม” ที่ประกาศยกระดับ ไม่มีทางประนีประนอม กับฝ่ายผู้มีอำนาจ และ “ม็อบปกป้องสถาบัน” ที่พร้อมชนกันทุกสถานการณ์

        และ “ฝ่ายบริหารที่มีอำนาจและหน้าที่” โดยเฉพาะ การบริหารราชการในสถานการณ์ที่มี ม็อบ2ฝั่ง ซึ่งพร้อมเผชิญหน้ากัน ขณะเดียวกันยังมี ม็อบที่ต้องการเปลี่ยน คณะบริหาร ด้วยกลไกเริ่มต้น ให้ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม” ลาออก

        ซึ่งการใช้มาตรการดูแล “แนวร่วมผู้ชุมนุม ฝั่งขับไล่รัฐบาล” ด้วยความเฉียบขาด

        มีแก๊สน้ำตา, มีรถฉีดน้ำความดันสูง และรั้วลวดหนาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า คือ สารกระตุ้นที่ทำให้ สถานการณ์การเมือง กลายเป็นไฟลุกลาม และ ส่อบานปลาย

160575637256

        การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เข้าสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเนื้อหา มีสิ่งที่ส่อทำให้เกิดข้อถกเถียง ที่อาจนำไปสู่การขยายความทางการเมือง - สร้างการไม่ยอมรับ

        นั่นคือ ประเด็นว่าด้วย ที่มาของ “สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 200 คน”

        หากดูจากเนื้อหาตามที่ “ส.ส.ฝั่งรัฐบาล” เสนอ เปรียบเทียบกับ “ส.ส.ฝ่ายค้าน” คือ การบัญญัติให้มีที่มาแตกต่างกัน

        ฝั่งรัฐบาลให้มาจากการเลือกตั้ง 150 คน ขณะที่อีก 50คนมาจากการคัดสรร โดย3องค์กร คือ รัฐสภา 20 คน, ที่ประชุมอธิการบดี 20 คน และ กกต. ที่ให้เลือกนิสิต นักศึกษากลุ่มหนึ่งมาเลือกตัวแทนของเขา 10 คน ร่วมจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

160575652626

        ขณะที่ ฝ่ายค้าน เสนอให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น กำหนดให้มี “คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 45 คน” แบ่งเป็น ส.ส.ร. เลือกกันเองมาเป็นตัวแทนจำนวน 30 คน และคนนอกอีก 15 คน ที่กำหนดคุณสมบัติไว้ คือ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน 5 คน, เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 5 คนและ เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และการร่างรัฐธรรมนูญ 5 คน

        เบื้องแรกสิ่งที่ต้องคุยกันให้ตกผลึกคือ วิธีใดกันแน่ที่จะได้ "ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง” โดยไม่มีฝ่ายการเมือง หรือ ฝ่ายผู้มีอำนาจเข้าแทรกแซง

        เหตุผลสำคัญที่ต้องคุยกันเรื่องนี้ให้จบก่อน เพราะสถานการณ์ของ 2ขั้วในรัฐสภา นั้น "มีความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน”

        เพราะฝ่ายหนึ่งกลัวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะ “ออกแบบเพื่อพวกเรา" มากกว่าสร้างกติกาที่ยุติธรรม ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม ดังนั้นต้องใช้ กลไกว่าด้วยที่มาของ ส.ส.ร. เป็นหน้าด่าน เพื่อนำไปสู่ผลลัพท์ตามต้องการ

        แต่หากไม่ได้อย่างที่ต้องการ และประนีประนอมไม่มีผล การสมประโยชน์ร่วมกันไม่เกิดขึ้น

        สารเร่งสถานการณ์ นอกสภา ทั้ง “การแสดงออกของม็อบ" และ “อำนาจแก้ไขสถานการณ์ของรัฐบาล” อาจถูกเลือกใช้ แทนการตั้งขึ้นของ “ส.ส.ร.” ก็เป็นได้.

160575664366