มาตรการรัฐดัน 'ดัชนีนักธุรกิจ' ต.ค.พุ่งต่อเนื่อง 5 เดือนซ้อน

มาตรการรัฐดัน 'ดัชนีนักธุรกิจ' ต.ค.พุ่งต่อเนื่อง 5 เดือนซ้อน

หอการค้าไทย ร่วมกับ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทำการสำรวจประธานหอการค้า รองประธานหอการค้าทั่วประเทศและนักธุรกิจจำนวน 364 ตัวอย่าง เพื่อจัดทำ“ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจาเดือนตุลาคม 25632563(TCC CONFIDENCE INDEX:TCC-CI)”

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ 33.2 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก.ย.ที่อยู่ระดับ 32.5 ซึ่งความเชื่อมั่นภาคธุรกิจดีขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 5 แต่ค่าดัชนียังต่ำระดับ50 ทั้งมุมมองในปัจจุบันและอนาคต สะท้อนว่าธุรกิจยังมีความกังวลต่อปัจจัยต่างๆสูง 

โดยเดือนต.ค.ค่าดัชนีต่อการท่องเที่ยวและภาคเกษตรยังติดลบ ขณะที่ภาคบริโภค การลงทุน อุตสาหกรรรม การค้า บริการ และจ้างงานยังเป็นบวก สะท้อนว่าความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นมาจากมาตรการรัฐที่ออกมา และหลายฝ่ายมองว่าไตรมาส 2 ปีนี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

สำหรับปัจจัยหนุนคือ รัฐบาลดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ทั้งโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการคนละครึ่ง และมาตราการช้อปดีมีคืน ซึ่งทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน มีเสียงตอบรับที่ดี ทำให้รัฐบาลกำลังประเมินจะเปิดเฟส 2 แม้ว่าการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น โดยเฉพาะการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ยังไม่เข้ามา 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกมาจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 ใหม่ โดยคาดว่าจะติดลบ 7.7% จากเดิมที่คาดไว้ติดลบ 8.5%, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลงจากเดือนที่ผ่านมา

160570762293

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ภาคเอกชนกังวลคือสถานการณ์ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง และการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเยาวชน และประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนอดีตที่ผ่านมา, ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนและการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม,ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจจะกลับมาจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การที่สหรัฐตัดสิทธิพิเศษ GSP สินค้าไทยเพิ่มเติม อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต การส่งออกของไทยเดือนก.ย. 2563 ลดล3.86% และการนำเข้าก็ลดลง 9.08 %

ทั้งนี้ ผลสำรวจยังชี้ถึงความกังวลต่อปัญหาค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อย ซึ่งสะท้อนว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศสุทธิไหลเข้าประเทศไทย ซึ่งค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น 1.8 % ขณะที่ค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้านทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม แข็งค่าเล็กน้อย ส่งผลต่อความสามารถในแข่งขันและการส่งออกของไทย ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้ธปท.เข้ามาดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31-32 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย

“เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง จากโครงการของภาครัฐทั้งคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เราเที่ยวด้วยกัน สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ในไตรมาส 4 ซึ่งคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ขยายตัวได้ติดลบ4% ถึง 5 % โดยศูนย์ฯยังคงประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ6% ถึง6.5 %” 

ธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ทางศูนย์ฯประเมินว่า หากมีการชุมนุมยืดเยื้อ รุนแรง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการยุบสภา นายกฯลาออก จะส่งผลให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย ใช้สิทธิคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน น้อยลง จนทำให้เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สะพัด จะส่งผลให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ติดลบ 6% ถึง 8 % และจะทำให้จีดีพีไทยทั้งปีติดลบ6.6 % ถึง7 % ซึ่งเบื้องต้นคาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นไม่ถึง 25%

ทั้งนี้ ภาคธุรกิจได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ 1. มาตรการช่วยเหลือธุรกิจส่งออกโดยการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน พร้อมลงทุนในสิ่งใหม่ ๆ ให้มีความต่อเนื่อง2. รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนเพื่อช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าไทย นอกจากนี้ผลักดันการส่งออกไปตลาดอื่น โดยเฉพาะตลาดจีนเพราะเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวหลังจากโควิด

 3. มาตรการกระตุ้นกำลังการซื้อของประชาชนในประเทศให้เข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากหยุดนิ่งไปจากสถานการณ์โควิด 4. จัดสวัสดิการและมาตรการช่วยเหลือให้กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น มีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สาธารณสุขให้มีความเท่าเทียมมากขึ้น

 ธนวรรธน์ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและให้เน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น นั้น เห็นด้วย สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว และผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว จากนี้รัฐต้องเข้าไปดูแลให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจได้มากขึ้น และดูแลในเรื่องค่าเงินบาทให้เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศคู่แข่งในด้านส่งออก ซึ่งขณะนี้ค่าบาทเหมาะสมควรอยู่ที่ 31.50-30.00 บาทต่อดอลลาร์ เพื่อช่วยส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนในอนาคต และหากไม่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2564 กลับมาเป็นบวก 4% ได้แน่นอน

ส่วนผลสำรวจรายภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกมีค่าดัชนีเศรษฐกิจของจังหวัดสูงที่สุดคือ 38.8  เพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย.ที่ 37.7 จากปัจจัย  มาตรการภาครัฐและการให้ความช่วยเหลือด้านราคาสินค้าของเกษตรกร, อุตสาหกรรมการผลิตอาหารขยายตัว