ล้วงปม 'สัมปทานดาวเทียม' มหากาพย์ที่รอคลี่คลาย 

ล้วงปม 'สัมปทานดาวเทียม' มหากาพย์ที่รอคลี่คลาย 

สัปดาห์ที่ผ่านมาปมสัมปทานดาวเทียมถูกดึงขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเด็นร้อน จากกรณีที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้รับไฟเขียวจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ยื่นฟ้องต่อคณะอนุญาโตตุลาการกรณีที่มีการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

จ่ายค่าต๋งกว่า13,000ล้านบ.

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า ในการดำเนินการตามสัญญาจนถึงปัจจุบันไทยคมมีการจัดสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ดาวเทียมให้รัฐไปแล้ว 6 ดวงมากกว่าที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ไทยคม 1 ไทยคม 2 ไทยคม 3 ไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ไทยคม 6 ไทยคม 7 และ ไทยคม 8 แต่ปัจจุบันเหลือดาวเทียมที่อยู่ใช้งานและตามสัมปทาน 2 ดวง คือ ไอพีสตาร์ และไทยคม 6 ส่วนไทยคม 5 ที่ต้องปลดระวางไปนั้นตามที่ออกแบบไว้ครบอายุในปี 2561 และเมื่อเกิดกรณีการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 เนื่องจากการใช้งานเกินกว่าอายุที่กำหนดซึ่งเป็นเหตุให้ต้องปลดระวางตามที่ระบุไว้ 

และจนถึงปัจจุบันได้ส่งมอบเงินรายได้ส่วนแบ่งสัญญาสัมปทานเป็นเงิน 13,792.23 ล้านบาท ขณะที่จำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญาคือ 1,415 ล้านบาท อีกทั้ง บริษัท ยังมีส่วนสำคัญในการเสาะแสวงหาวงโคจรให้กับประเทศและช่วยดำเนินการรักษาวงโคจรดาวเทียมไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิตลอดมา

ทำไมไทยคมดวง7-8ถูกฟ้อง

นายอนันต์ กล่าวว่า นอกจากไทยคม 5 แล้ว บริษัทมีข้อพิพาทดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ซึ่งปัจจุบันเพิ่งแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ จากที่เรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิพาทมากกว่า 2 ปี โดยสาเหตุมาจากไทยการประกาศใช้ พ.ร.บ องค์การจัดสรรฯ (พ.ร.บ.กสทช.) โดยระบุว่า กิจการโทรคมนาคม และกิจการดาวเทียมสื่อสารมอบหมายให้ทาง กสทช. ออกใบอนุญาตประกอบการให้แก่ บมจ.ไทยคมและให้ก่อสร้างดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ขึ้น เพื่อให้บริการ

ทั้งนี้การออกใบอนุญาตจาก กสทช. เป็นการอนุญาตให้สามารถประกอบกิจการโทรคมนาคมในราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ หรือใช้วงโคจร ซึ่งการใช้สิทธิในการเข้าถึงตำแหน่งวงโครจร ถือเป็นทรัพยากรของรัฐ เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทาน ซึ่ง ไทยคม จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขสัญญาของสัมปทานเพื่อให้รัฐได้สิทธิผลประโยชน์

ทำให้ ดีอีเอสเห็นแย้งว่าไทยคม 7 และไทยคม 8 เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาณดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ขณะที่ไทยคมมีความเห็นต่างว่า การดำเนินการดาวทียมทั้ง 2 ดาว เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบของการรับใบอนุญาตและไมได้กระทำการที่ขัดต่อสัญญา ซึ่งปัจจุบันคดีก็ยังไม่สิ้นสุด

เปิด 3 แนวทางจัดการดาวเทียมที่ไม่ใช้งาน

1.ปล่อยทิ้งไว้ในอวกาศ เหมือนเป็นขยะอวกาศ ในกรณีที่ตำแหน่งวงโคจรที่ดาวเทียมนั้นลอยอยู่ ไม่ส่งผลต่อดาวเทียมที่ยังใช้งานข้างเคียง

2.ส่งจรวดขึ้นทำลายโดยการยิงดาวเทียมที่ไม่ใช้งานให้แตกออก

3.ลากดาวเทียมที่ไม่ได้ใช้งานไปไว้ในสุสานวงโคจร โดยในวงโคจรนั้นมีเหล่าดาวเทียมหลายดวงที่ถูกปลดระวางอยู่