เช็คเงิน 'ประกันราคาข้าว' ผ่าน 2 ช่องทางจาก 'ธ.ก.ส.' ยันโอนเงินเกษตรกรต่อเนื่อง!

เช็คเงิน 'ประกันราคาข้าว' ผ่าน 2 ช่องทางจาก 'ธ.ก.ส.' ยันโอนเงินเกษตรกรต่อเนื่อง!

เงินยังไม่เข้าไม่ต้องตกใจ เกษตรกร สามารถตรวจสอบเงิน "ประกันราคาข้าว" ผ่านช่องทางจาก "ธ.ก.ส." รู้สิทธิ ติดตามสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง ธนาคารยืนยันกระบวนการตรวจสอบได้รับเงินแน่นอน

จาก โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 8.79 แสนครัวเรือน ซึ่ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอนเงินให้กับธนาคารแต่ละสาขาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เป็นงวดแรก และดำเนินการโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

ในงวดนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด เช่น - ข้าวเปลือกเจ้า รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บ. - ข้าวเหนียว รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บ.

ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมจ่ายเงินประกันรายได้ข้าว ปี63/64 งวดแรก 16 พฤศจิกายนนี้ ช่วยชาวนาได้ทันที

เกษตรกรที่เป็นชาวนา สามารถเช็ค ธ.ก.ส. โอนเงินได้แล้ว กดที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/  กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบจะแจ้งโอนเรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่เข้าให้รอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ธ.ก.ส. จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ หรือ สมัครเช็คเงินเข้า-ออก ผ่านไลน์แอดได้ที่ @baacfamiy หรือตรวจสอบการโอนผ่านช่องทางการปรับสมุดเงินฝาก, ATM แอพพลิเคชัน A mobile ไปพลางก่อน

ข่าวที่น่าสนใจ : 

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติอนุมัติให้ รวมวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกร แยกเป็น ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 พร้อม 3 มาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 5.1 หมื่นล้านบาท

160549306670

คลิกตรวจสอบ https://chongkho.inbaac.com/

โดย ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว เพื่อช่วยเหลือด้านรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกว่า 4.04 ล้านราย วงเงินกว่า 18,000 ล้านบาท ดีเดย์วันแรก 16 พฤศจิกายนนี้กว่า 870,000 ราย เป็นเงินกว่า 9,200 ล้านบาท

สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ราคาข้าว มีดังนี้

เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย

โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว และคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิด คูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ ส่งให้ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงิน

จากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect

160554161111

สำหรับ แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ถือเป็นบริการทางการเงินรูปแบบใหม่เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางการเงินของ เกษตรกรที่เป็นลูกค้าของธนาคาร ซึ่งให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย 

บริการ ธ.ก.ส. A-Mobile มีดังต่อไปนี้ 

  1. โอนเงิน
  2. เติมเงินทุกเครือข่าย
  3. จ่ายบิล
  4. สแกน QR Code เพื่อชำระเงิน
  5. ถอนเงินไม่ใช้บัตร
  6. ฝากสลาก (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
  7. ขอรายการเคลื่อนไหวบัญชี (Statement)
  8. ตรวจสอบยอดเงินฝาก สินเชื่อและสลากออมทรัพย์
  9. ลงทะเบียน และยกเลิกการลงทะเบียนพร้อมเพย์
  10. สร้างรายการเตือนเพื่อจ่าย (Pay Alert)
  11. โอนเงิน หรือจ่ายบิล เมื่อได้รับรายการเรียกเก็บ
  12. QR รับเงิน
  13. ดึงภาพ QR เพื่อชำระเงิน
  14. อื่นๆ เช่น ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ธนาคาร ความรู้ ราคาสินค้าเกษตร ทีวี ธ.ก.ส. ปรึกษาสินเชื่อ ค้นหาที่ตั้งสาขา ตรวจสลาก และข้อมูลทางการเงิน

สำหรับโครงการประกันราคาข้าวนั้น เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถใช้แอพลิเคชั่นนี้ในการตรวจสอบสถานะการโอนเงินส่วนต่างได้จากแอพลิเคชั่นนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดการสมัครใช้งานดังต่อไปนี้ 

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. บุคคลธรรมดา อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
  2. มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันของ ธ.ก.ส.
    • บัญชีออมทรัพย์ใช้สมุด (Type 2001)
    • บัญชีออมทรัพย์ไม่ใช้สมุด (Type 2002)
    • บัญชีออมทรัพย์รักษาทรัพย์ (Type 2101)
    • บัญชีออมทรัพย์ทวีโชค (Type 2004)
    • บัญชีเงินฝาก A-Savings (Type 2014)
    • บัญชีเงินฝาก Senior Savings (Type 2004)
    • บัญชีเงินฝากพื้นฐาน (Type 2015)
    • บัญชีกระแสรายวัน (Type 1001)
  3. มีโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการ IOS 10.0 หรือ Android 5.0 ขึ้นไป และรองรับการเชื่อม
    ต่อ Internet (GPRS,EDGE,3G,4G,WIFI)

เอกสารการสมัครใช้บริการ (กรณีสมัครผ่านสาขา)

  1. แบบฟอร์มใบคำขอใช้บริการ ธ.ก.ส. A-Mobile
  2. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
  3. บัตรประชาชน

ช่องทางการสมัครใช้บริการ

  1. เจ้าของบัญชี ติดต่อสมัครใช้บริการได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
  2. สมัครผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ด้วยตนเองผ่านบัตร ATM หรือ บัตรเดบิต ธ.ก.ส.

การ Download ธ.ก.ส. A-Mobile

160554157585