ตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตร จ่ายส่วนต่าง 'ประกันราคาข้าว' งวดแรก เช็คที่นี่

ตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตร จ่ายส่วนต่าง 'ประกันราคาข้าว' งวดแรก เช็คที่นี่

รีบๆ เลย! ตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตร จ่ายส่วนต่าง "ประกันราคาข้าว" งวดแรก เช็คที่นี่

ตามที่ รัฐบาล ได้อนุมัติ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 8.79 แสนครัวเรือน ซึ่ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินให้กับธนาคารแต่ละสาขา วันนี้ (16 พ.ย.) งวดแรก

"รัชดา ธนาดิเรก" รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยวันนี้ (16 พ.ย.) ว่า รอรับได้เลย #ธกส แจ้งโอนเงินส่วนต่าง #ประกันรายได้ ผู้ปลูกข้าว งวดแรก วันนี้ (16 พ.ย.) เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ในงวดนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด เช่น - ข้าวเปลือกเจ้า รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บ. - ข้าวเหนียว รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บ.

ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมจ่ายเงินประกันรายได้ข้าว ปี63/64 งวดแรก 16 พ.ย.นี้ ช่วยชาวนาได้ทันที 

ข่าวที่น่าสนใจ :   

กระทรวงพาณิชย์ แจ้งโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี2563/64 (รอบที่ 1) พร้อมจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างงวดแรกวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ สามารถช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด ดังนี้

1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 14 ตัน) ได้ส่วนต่างตันละ 2,911 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท

2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท (ไม่เกิน 16 ตัน) ส่วนต่างตันละ 2,137 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 34,199 บาท

3.ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท (ไม่เกิน 30 ตัน) ส่วนต่างตันละ 1,222 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท

4.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท (ไม่เกิน 25 ตัน) ส่วนต่างตันละ 1,066 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท

5.ข้าวเหนียว ประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท (ไม่เกิน 16 ตัน) ส่วนต่างตันละ 2,084 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเงินสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ รวมครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด งวดละ 500 บาท

เกษตรกรที่เป็นชาวนา สามารถเช็ค ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โอนเงินได้แล้ว กดที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/  กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบจะแจ้งโอนเรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่เข้าให้รอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ธ.ก.ส. จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ หรือ สมัครเช็คเงินเข้า-ออก ผ่านไลน์แอดได้ที่ @baacfamiy หรือตรวจสอบการโอนผ่านช่องทางการปรับสมุดเงินฝาก, ATM แอพพลิเคชัน A mobile ไปพลางก่อน

160549306670

คลิกตรวจสอบ https://chongkho.inbaac.com/

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติอนุมัติให้ รวมวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกร แยกเป็น ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 พร้อม 3 มาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 5.1 หมื่นล้านบาท

ข่าวที่น่าสนใจ

160549309230


ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว เพื่อช่วยเหลือด้านรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกว่า 4.04 ล้านราย วงเงินกว่า 18,000 ล้านบาท ดีเดย์วันแรก 16 พฤศจิกายนนี้กว่า 870,000 ราย เป็นเงินกว่า 9,200 ล้านบาท

นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 (รอบที่ 1) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว โดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 18,096 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์กว่า 4.04 ล้านราย

โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่

- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละ ไม่เกิน 14 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
- ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
- ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

กรณีเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนสูงสุดของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงชนิดข้าวที่ก าหนดไว้สูงสุด โดยมีการก าหนดราคาอ้างอิงและระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2563 (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์2564) ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการฯ ความชื้นข้าวเปลือกแต่ละชนิด ไม่เกิน 15%

โดยวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ได้ชดเชยส่วนต่างราคาประกันข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,911.17 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,137.45 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 1,222.36 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,066.96 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 2,084.34 บาท มีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 871,869 ราย เป็นเงิน 9,298 ล้านบาท จากนั้นจะประกาศราคาอ้างอิงทุก ๆ 7 วัน จนถึงวันสิ้นสุดโครงการฯ

สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและค านวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่ก าหนดไว้ข้างต้น ส่งให้ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงินจากนั้น ธ.ก.ส. จะด าเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect