กสอ.กรุยทาง 'คลัสเตอร์ผึ้ง' หนุนเอสเอ็มอี เสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์

กสอ.กรุยทาง 'คลัสเตอร์ผึ้ง' หนุนเอสเอ็มอี เสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์

กสอ.กรุยทางเชื่อมคลัสเตอร์ผึ้ง ขยายยุทธศาสตร์ผนึกเอสเอ็มอี พลิกทางออกวิกฤติเศรษฐกิจได้ผลจริง นำร่อง "สุภาฟาร์ม" ศูนย์การเรียนรู้วงจรของชีวิตผึ้ง ฐานการผลิตน้ำผึ้งชั้นดี ตั้งเป้าปี 64 เคาะคลัสเตอร์ 29 กลุ่มใหม่ คาดปั้นมูลค่าเศรษฐกิจโตกว่า 100 ล้านบาท

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีทักษะการบริหารจัดการอุตสาหกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและการสร้าง ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญประกอบด้วย เครื่องมือในเชิงพื้นที่ผ่านโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) 

สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในเชิงพื้นที่เข้มแข็งฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ 11,879 กิจการ และเครื่องมือในเชิงธุรกิจผ่านการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ จำนวน 103 กลุ่ม โดยตั้งเป้าปี 2564 ปั้น 29 คลัสเตอร์ ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพในการแข่งขัน คาดสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ได้กว่า 100 ล้านบาท พร้อมเตรียมยกระดับ “คลัสเตอร์ผึ้ง” อุตสาหกรรมมูลค่าสูงในพื้นที่ภาคเหนือ ลดผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เสริมศักยภาพกระบวนแปรรูป การวิจัยคุณภาพน้ำผึ้ง เพื่อให้เทียบเท่าองค์กรระดับนานาชาติ


นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการผ่านการส่งเสริมทักษะการประกอบการในด้านต่าง ๆ การพัฒนาเทคโนโลยีให้กับกระบวนการผลิตและการแปรรูป การตลาด การบริหารจัดการ รวมทั้งการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้ 2 เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมผู้ประกอบการ

160536435561

ประกอบด้วย โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในระดับพื้นที่ในการรวมกลุ่มผู้ประกอบการทุกสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลการดำเนินธุรกิจ การช่วยเหลือกันของผู้ประกอบการในระดับจังหวัดและภูมิภาค ทำให้เครือข่ายผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

โดยเริ่มต้นการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน ดำเนินการไปแล้ว 367 รุ่น ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 11,879 กิจการ ซึ่งผลพลอยได้จากการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดการผนึกเครือข่ายที่มีความเข็มแข็ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งยังสามารถให้ความช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ระหว่างเกิดปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจต่าง ๆ

โดยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดการช่วยเหลือระหว่างกันจนสามารถดดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือ คลัสเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในระดับธุรกิจที่รวบรวมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพภายในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย กสอ. ได้ขยายผลการขับเคลื่อนการผนึกกลุ่มผู้ประกอบการบนแนวคิด Cluster Hub คือ เชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งได้ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน สามารถพัฒนาคลัสเตอร์ จำนวน 103 กลุ่ม

160525273350

"ในปี พ.ศ. 2564 มีแผนในการดำเนินการพัฒนาคลัสเตอร์รวมทั้งสิ้น 29 กลุ่ม แบ่งเป็น คลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 25 กลุ่ม และคลัสเตอร์กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพ (S-Curve) จำนวน 4 กลุ่ม คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท" ณัฐพล กล่าว

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในพื้นที่ภาคเหนือ โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 1 ได้ดำเนินการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน สามารถพัฒนาคลัสเตอร์เสร็จสิ้นจำนวน 11 กลุ่ม โดยในปี 2563 ดำเนินการส่งเสริมคลัสเตอร์ 2 อุตสาหกรรม ประกอบด้วยคลัสเตอร์ผ้าทอ ECO และคลัสเตอร์เครื่องมือแพทย์ ทั้งนี้หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ กสอ. เล็งเห็นถึงศักยภาพในการส่งเสริมให้เป็นคลัสเตอร์ ในปี 2564 คือ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง


160536441286


"ทั้งนี้พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเกิดคู่แข่งทางการค้า ส่งผลให้ราคาน้ำผึ้งลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากส่งเสริมเป็นคลัสเตอร์ผึ้งจะสามารถพยุงมูลค่าให้ใกล้เคียงกับในช่วงปีที่ผ่านมา เสริมศักยภาพให้กับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผ่านการจัดกาเครื่องจักรกลที่ทันสมัย และยังช่วย ลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการจัดหาและจับคู่กับผู้ประกอบการในเครือข่ายของ กสอ.
อาทิ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร ในการนำน้ำผึ้งไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงแรมนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งมาให้บริการกับผู้เข้าพัก"

ด้าน นางสาวสุวรัตนา ยาวิเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุภาฟาร์มผึ้ง จำกัด ระบุว่า โดยในช่วงโควิด19 ยอดขายผลิตภัณฑ์ลดลง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 1 จ.เชียงใหม่ ในโครงการแตกกอธุรกิจผ่านการจัดทำโมเดลธุรกิจใหม่ ขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มผู้สูงอายุ มาสู่กลุ่มคนวัยทำงาน โดยให้ใช้แฟลตฟอร์มออนไลน์เป็นเครื่องมือในการขาย  160536444672

"ปัจจุบันมีกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก จำนวนกว่า 1,215 ราย โดยน้ำผึ้งที่ผลิตออกมานั้นจะมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นอยู่กับอาหารที่ผึ้งได้รับ ตัวอย่างเช่นน้ำผึ้งจากดอกลำไยจะมีกลิ่นที่หอมกว่าน้ำผึ้งจากเกษรดอกไม้ทั่วไป"

สุวรัตนา มองว่า หากผู้ประกอบการร่วมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการผลิตและได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมเครื่องจักรกลที่ทันสมัย เชื่อว่าจะสามารถวิจัยเชิงลึกเกี่ยวสรรพคุณของน้ำผึ้งหรือสารสำคัญที่มีเฉพาะในน้ำผึ้งจากประเทศไทย จะสามารถยกระดับคลัสเตอร์ผึ้งให้เทียบเท่า กับสมาคมในระดับนานาชาติ

160536448187
อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2564 กสอ. มุ่งขับเคลื่อนแนวคิด “ตลาดนำคลัสเตอร์” เพื่อเป็นพื้นฐาน การส่งเสริมด้วยการวางแผนการพัฒนาคลัสเตอร์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด โดยบูรณาการเครื่องมือ ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นและเชิงลึก การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ตลอดจนบุคลากรและเครื่องมือการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) มาใช้ในกระบวนการพัฒนา