ทส. ทบทวนแผนแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

ทส. ทบทวนแผนแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

ทส. ทบทวนแผน “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” การตรวจรถยนต์ควันดำใน กทม. ปี 2563 รถขนส่งเกินมาตรฐานร้อยละ 36 – รถส่วนบุคคล รถกระบะ ร้อยละ 15

เมื่อวันที่ 13 พ.ย.63  นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ทส. ได้ทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" เพื่อยกระดับความเข้มงวดของมาตรการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยเพิ่มเติมแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤต และประสานการทำงานร่วมกันผ่านศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พร้อมแจ้งเตือนสถานการณ์ PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ เพิ่มความเข้มข้นการตรวจจับรถควันดำและบังคับใช้กฎหมายทั้งรถขนาดเล็ก รถยนต์ขนาดใหญ่ รวมทั้งรถโดยสารสาธารณะ โดยกองบังคับการตำรวจจราจร มีชุดปฏิบัติการ 17 ชุด และชุดเคลื่อนที่เร็วอีก 3 ชุด ตรวจสอบรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 กรมการขนส่งทางบก จัดชุดตรวจการจำนวน 14 ชุด ตรวจสอบรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522  และ คพ.ตรวจสอบรถโดยสารตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

นายอรรถพล กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2563 (ตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 ) คพ. ได้ทำการตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรและสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนรถที่เรียกตรวจทั้งหมด 9,539 คัน เป็นรถขนาดใหญ่ ได้แก่ รถบรรทุก รถโดยสาร ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 จำนวน 7,010 คัน พบรถควันดำเกินมาตรฐานและทำการจับปรับ 2,526 คัน คิดเป็นร้อยละ 36 รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จำนวน 2,529 คัน พบรถยนต์ควันดำเกินมาตรฐานและทำการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะจำนวน 390 คัน คิดเป็นร้อยละ 15

การดำเนินการตรวจสอบตรวจจับรถยนต์ควันดำตามมาตรการป้องกันและควบคุมมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเขตชุมชนเมือง ที่มาจากควันดำท่อไอเสียจากรถยนต์ดีเซล โดยรถยนต์ที่มีควันดำเกินมาตรฐานกรณีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 จะถูกสั่งห้ามใช้ ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ จะถูกออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ และยังดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย

ดังนั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ดังกล่าว ต้องนำรถยนต์ไปปรุงแก้ไขสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีควันดำเกินค่ามาตรฐานต่อไป นายอรรถพล กล่าว การตรวจรถยนต์ควันดำใน กทม. ปี 2563 รถขนส่งเกินมาตรฐานร้อยละ 36

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ทส. ได้ทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" เพื่อยกระดับความเข้มงวดของมาตรการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยเพิ่มเติมแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤต และประสานการทำงานร่วมกันผ่านศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พร้อมแจ้งเตือนสถานการณ์ PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ เพิ่มความเข้มข้นการตรวจจับรถควันดำและบังคับใช้กฎหมายทั้งรถขนาดเล็ก รถยนต์ขนาดใหญ่ รวมทั้งรถโดยสารสาธารณะ โดยกองบังคับการตำรวจจราจร มีชุดปฏิบัติการ 17 ชุด และชุดเคลื่อนที่เร็วอีก 3 ชุด ตรวจสอบรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 กรมการขนส่งทางบก จัดชุดตรวจการจำนวน 14 ชุด ตรวจสอบรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522  และ คพ.ตรวจสอบรถโดยสารตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

นายอรรถพล กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2563 (ตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 ) คพ. ได้ทำการตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรและสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนรถที่เรียกตรวจทั้งหมด 9,539 คัน เป็นรถขนาดใหญ่ ได้แก่ รถบรรทุก รถโดยสาร ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก .. 2522 จำนวน 7,010 คัน พบรถควันดำเกินมาตรฐานและทำการจับปรับ 2,526 คัน คิดเป็นร้อยละ 36 รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ .. 2535 จำนวน 2,529 คัน พบรถยนต์ควันดำเกินมาตรฐานและทำการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะจำนวน 390 คัน คิดเป็นร้อยละ 15

การดำเนินการตรวจสอบตรวจจับรถยนต์ควันดำตามมาตรการป้องกันและควบคุมมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเขตชุมชนเมือง ที่มาจากควันดำท่อไอเสียจากรถยนต์ดีเซล โดยรถยนต์ที่มีควันดำเกินมาตรฐานกรณีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก .. 2522 จะถูกสั่งห้ามใช้ ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ จะถูกออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ และยังดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย ดังนั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ดังกล่าว ต้องนำรถยนต์ไปปรุงแก้ไขสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีควันดำเกินค่ามาตรฐานต่อไป นายอรรถพล กล่าว