'วราวุธ' ประกาศ แนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างทั้งรายได้แก่ชุมชน

 'วราวุธ' ประกาศ แนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างทั้งรายได้แก่ชุมชน

รมว.ทส. ประกาศ แนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างทั้งรายได้แก่ชุมชน พร้อมไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ


วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็นด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการ Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development (GEF-7) ณ โรงแรม เดอะสุโกศลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งมอบแนวทางการทำงานด้านการอนุรักษ์กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหลังยุค COVID-19


“ในฐานะที่ผมกำกับดูแลกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมและเพื่อนข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกคน จะไม่ยอมให้วิกฤติโควิด ครั้งนี้ ผ่านเลยไปอย่างสูญเปล่า พวกเราจะนำความสมบูรณ์ งดงามของทรัพยากรธรรมชาติ กลับมา และวางมาตรการ กำกับดูแล รักษา ให้การฟื้นตัวของธรรมชาติในครั้งนี้ คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ตาม ลำพังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คงทำไม่สำเร็จ ดังนั้น การฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตการณ์โควิดจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่ายและอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเดิม เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในการบริหารของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การสร้างรายได้สำหรับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้าง Local economy ในบริบทการท่องเที่ยวมิติใหม่หลังสถาณการณ์ COVID-19

ทั้งนี้นอกเหนือจากเป้าหมายการสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนท้องถิ่นที่อยู่โดยรอบอุทยานแห่งชาติ ดำรงชีวิต เลี้ยงตัวเองได้แล้ว ยังให้ชุมชนโโดยเห็นความสำคัญของอุทยานฯ และเป็นการรักษาอุทยานให้เกิดความยั่งยืนผ่านการท่องเที่ยวที่มีสร้างความรู้เข้าใจและตระหนักรู้

160508608960
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ BEDO ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับความเห็นชอบจากมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility Council) ผ่านทางโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP ประเทศไทย) ให้พัฒนาโครงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming biodiversity-based tourism in Thailand to support sustainable tourism) ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยมีพื้นที่นำร่องในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ชุ่มน้ำเขาสามร้อยยอดที่มีความสำคัญในระดับโลก ไปจนถึงปากแม่น้ำปราณบุรีที่มีระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีโครงข่ายการคมนาคมที่สะดวกตั้งแต่แนวถนนเลียบชายฝั่งทะเลใต้ ตามโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ระบบรถไฟรางคู่ในอนาคต สนามบินนานาชาติ และเครือข่ายทางหลวงชนบท ที่สามารถเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง


สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับความเห็นชอบจากมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility Council) ผ่านทางโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ให้พัฒนาโครงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming biodiversity-based tourism in Thailand to support sustainable tourism) ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยมีพื้นที่นำร่องในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือหลายฝ่าย ทั้งในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมไปถึง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภาคธุรกิจเอกชน และที่สำคัญคือภาคประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่แสดงเจตจำนง พร้อมขับเคลื่อนโครงการการท่องเที่ยวเชิงความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ UNDP ในครั้งนี้

160508611368
ประเทศไทย จำเป็นต้องช่วยกันพัฒนาการท่องเที่ยววิถีใหม่ ในยุค New Normal ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน พร้อมๆ ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ การท่องเที่ยวจะเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการนำพาประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านที่ 5 ว่าด้วยการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการกระจาย โอกาสทางเศรษฐกิจไปยังระดับท้องถิ่น


การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพและเครือข่ายกำลังยกร่างแนวทางและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และจะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปนั้น จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการวิวัฒน์การท่องเที่ยวแนวใหม่ (New paradigm for tourism) ให้กับประเทศไทย การท่องเที่ยวเชิงความหลากหลายทางชีวภาพเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ซึ่งให้ความสำคัญกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศที่ได้มาตรฐานสากล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเน้นการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่โดยการทำอารยสถาปัตย์ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม


การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยการสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพสูง เน้นรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
ถึงเวลาแล้วที่ต้องร่วมกันเปลี่ยนการท่องเที่ยวจากกิจกรรมที่สร้างผลกระทบมากมายด้านสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นเครื่องมือในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตการณ์ต่างๆในปัจจุบัน
เชิญร่วมกันวิวัฒน์การท่องเที่ยวแนวใหม่ และแสดงให้โลกได้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และการระดมความคิดเห็นในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็นฯ ในวันนี้ จะเป็นการเติมเต็มข้อมูล และสานพลังความร่วมมือ ในการสร้างต้นแบบของการพัฒนาและบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชุมชน และสร้างแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืนสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวิถีชีวิตในท้องถิ่น และลดภัยคุกคามจากการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืนUNDP ให้การสนับสนุนประเทศไทยเต็มที่ ในการนำการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือของการสร้างความรับรู้ ในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ผลนำไปสู่การสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

160508613652
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับความเห็นชอบจากมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility Council) ผ่านทางโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP ประเทศไทย) ให้พัฒนาโครงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming biodiversity-based tourism in Thailand to support sustainable tourism) ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยมีพื้นที่นำร่องในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมขับเคลื่อนโครงการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ UNDP ในครั้งนี้