Sensor for All ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5

Sensor for All ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5

"ประเทศไทย"เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อย่างรุนแรง

โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย โดยเฉพาะด้านสุขภาพ การตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ มีความสำคัญอย่างมากเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ค่าฝุ่น และหาสาเหตุของพิษฝุ่นที่เกิดขึ้น

.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งในอดีตความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ มองเพียงธุรกิจของตนเอง แต่ตอนนี้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะทำเพียงลำพังไม่ได้ เพราะความรู้เทคโนโลยีเปลี่ยน จะใช้คนเก็บข้อมูลอย่างเดียวอาจตามไม่ทัน  ซึ่งฝุ่น PM2.5 เป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะขณะนี้แม้ทุกคนจะใช้ชีวิตเหมือนเดิมแต่ค่าฝุ่นPM2.5 กลับมาสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

160457299188

โครงการนี้ คณะวิศวะ จุฬาฯได้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 3 ซึ่งปีแรกได้พัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 และทดลองติดตั้งในพื้นที่โดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 พัฒนาระบบการส่งและแสดงผลข้อมูล ตลอดจนขยายการตรวจวัดปริมาณฝุ่นให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปีที่ 3 ต้องการติดตั้งไปทั่วประเทศ

.ดร.สุพจน์ กล่าวต่อว่าที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหา PM2.5 และ มลภาวะทางอากาศตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น วิศวฯ จุฬาฯ จึงได้เป็นแกนหลักใน การผนึกพลังทุกภาคส่วนที่เห็นถึงปัญหาเดียวกันนาศาสตร์ด้านวิศวกรรมมาช่วยหาสาเหตุ เก็บข้อมูลอันเป็นประโยชน์นามา วิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งเซนเซอร์จะเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชน และผู้บริหารประเทศได้เห็นว่าเรื่องฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบและรุนแรงต้องรีบแก้ปัญหาเรื่องนี้  โดยปีนี้ตั้งเป้าขยายให้ได้มากกว่า 500 จุดครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ความรวมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การขยายลดต้นเหตุของการเกิดฝุ่นได้อย่างยั่งยืน

160457301712

 นอกจาก การเก็บตัวอย่างฝุ่น เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ และสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ภาครัฐและอนาคตจะมีการจัดทำแพลตฟอร์มที่ทุกภาคส่วนได้มาใช้งานแล้ว ยังมีการพัฒนาระบบวิเคราะห์และพยากรณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า ด้วยการสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลจาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทแอด วานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อีกทั้งได้พัฒนาระบบแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชันสำหรับขยายผลไปสู่การ สร้างการรับรู้ร่วมกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบหนังสือ บอร์ดเกม และอีกหลากหลายช่องทาง

กฟผ.ให้ความสำคัญใส่ใจเรื่องการแก้ปัญหามลพิษมาตลอด ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ กฟผ. จะนำระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าของ กฟผ. มาบูรณาการร่วมกับโครงการ Sensor for all ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนเมือง รวมถึงติดตั้งเซ็นเซอร์เพิ่มเติม และพัฒนาแพลตฟอร์มระดับประเทศในการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5

160457310598

อีกทั้งจะมีการสนับสนุนทุนผ่านกิจกรรมระดมทุนในโครงการนี้ เพื่อร่วมติดตั้ง เซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศรวม200 จุดในบริเวณพื้นที่ กฟผ. และเครือข่ายโรงเรียนในโครงการห้องเรียนสีเขียว ทั่วประเทศ

ขณะที่ GISTDA ให้ความสนใจและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 โดยการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อติดตามและวิเคราะห์ค่ามลพิษทางอากาศ ซึ่งจะสามารถทำให้ประชาชนรับรู้สถานการณ์ เตรียมตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

160457314623

ส่วนการเคหะแห่งชาติ ปัจจุบันได้ติดตั้งเครื่องเซนเซอร์ตรวจวัดฝุ่นและคุณภาพอากาศ 12 เครื่อง ที่บริเวณสำนักงานใหญ่การเคหะแห่งชาติและสำนักงาน เคหะชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเคหะฯ มีการสร้างบ้าน 740,000 กว่าหน่วย และมีสำนักงาน 81 จุด ซึ่งจะมีการติดตั้งให้ครอบคลุมทุกจุด ดังนั้น การ Sensor for Allจะเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 โดยมีการเก็บข้อมูล นำไปสู่การวิเคราะห์ และแก้ปัญหามลพิษทางอากาศร่วมด้วย

ด้านไมโครซอฟท์ได้สนับสนุนโครงการ Sensor for All ในรูปของทรัพยากรคลาวด์ เพื่อทั้งจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการสนับสนุนในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกภายใต้ชื่อ AI for Earth ที่สนับสนุนงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม81 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังตั้งเป้าหมายที่จะก้าวสู่สถานะ Carbon Negative ภายในปี 2573 ด้วยการลบล้างมลภาวะคาร์บอนในปริมาณเทียบเท่ากับที่ปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อม