ผลป้องกันโควิด-19 ผู้ป่วย2โรคลดลง ส่วนRSVสวนทาง

ผลป้องกันโควิด-19 ผู้ป่วย2โรคลดลง ส่วนRSVสวนทาง

คร.เผยผลป้องกันโควิด-19 ปี63ส่งผล 2 โรคผู้ป่วยลดฮวบ ไข้หวัดใหญ่ลดลง 3 เท่า  ปอดอักเสบน้อยกว่าเดิมถึง 1 แสนราย ส่วนRSVที่รุนแรงในเด็กเล็กกลับสวนทางเจอมากขึ้น 2 เท่า

      เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุม(คร.) แถลงข่าว อาการป่วยและการรักษา 3 โรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวว่า ในส่วนของโรคช่วงฤดูหนาวตามประกาศกรมควบคุมโรคมี 5 โรค ได้แก่ 1.ไข้หวัดใหญ่ ปี 2563 มีผู้ป่วยน้อยลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปี25 63 ป่วย 113,000 กว่าราย  ส่วนปี2562 ป่วย 396,000 กว่าราย แสดงว่าเป็นผลมาจากป้องกันตนเองจากโรคโควิด-16 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ทำให้โรคลดลงไปถึง 3 เท่า จึงเป็นสิ่งที่ดีในการดูแลสุขภาพ  โดยกลุ่มป่วยมากที่สุด คือ เด็กเล็ก ซึ่งไม่ได้ให้วัคซีน เด็กกลุ่มอายุ 0-4 เดือนจึงป่วยสูงสุด พื้นที่ที่พบป่วยมากที่สุด คือ ภาคเหนือ เพราะอากาศค่อนเย็น และมีความแออัด อากาศปิด มีการท่องเที่ยวมากพอสมควร

           ทั้งนี้ โรคไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนป้องกัน ซึ่ง 7 กลุ่มเสี่ยงสามารถรับบริการได้ฟรีในสถานพยาบาลของรัฐ ได้แก่ 1. หญิงตั้งครรภ์อายุกครรภ์ 4 เดือนขึ้น 2.เด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี 3.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งหอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 4.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 5.ผู้พิการทางสมอง 6.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพรอ่ง และและ7. คนอ้วนเกิน 100 กิโลกรัม ส่วนผู้ที่อวยู่ในระบบประกันสังคมอายุ 50 ปีขึ้นไปสามารถฉีดวัคซีนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ต้องรักษาความดีในการป้องกันโรค ทั้งสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ ไม่สัมผัสใบหน้า

       2.โรคปอดอักเสบ ในปี 2563 พบผู้ป่วย 150,000 ราย เสียชีวิต 100 กว่าราย โดยลดไปกว่า 1 แสนคน จากปี 2562 ที่พบป่วยกว่า 2 แสนราย ซึ่งโรคปอดอักเสบขณะนี้กำลังกังวลเพราะมีเกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด-19 อยู่ด้วย โดยมีกระบวนการเฝ้าระวังผู้ป่วยปอดอักเสบให้มีการตรวจโควิดทุกราย  ซึ่งยังไม่พบผู้ป่วยปอดอักเสบที่ติดโควิด ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากการป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 การติดเชื้อปอดอักเสบก็ลดเช่นกัน

      3.อุจจาระร่วง ทุกปีมีผู้ป่วยจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพฤติกรรมกิน  โดยปี 2563 พบประมาณ  680,000 ราย ซึ่งมีเกิดขึ้นได้ทุกอย่าง ทั้งสารเคมี สารพิษ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย การป้องกันยังต้องล้างมือให้สะอาด รับประทานอาหารสุก สะอาด ร้อน ไม่เก็บไว้นาน เพราะจะทำให้แบคทีเรียฟักตัวเพิ่มขึ้น เกิดสารพิษ 4.โรคหัด ปี 2563 ป่วย 938 ราย ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา  แม้เป็นโรคที่มีวัคซีน แต่ก็ยังมีปัญหาการครอบคลุมของการฉีดวัคซีนต่ำลง จึงรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนหัดมากขึ้น เพื่อให้เด็กไม่ติดโรคหัด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการจะหนัก กรณีกลุ่มขาดสารอาหาร อาจเสียชีวิตได้ จึงต้องมีภาวะโภชนาการที่ดีพอ และได้รับวัคซีนป้องกัน 

          และ5.โรคมือเท้าปาก  ปี 2563 มีผู้ป่วย 15,000 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนปี 2562 ป่วยกว่า 6 หมื่นราย ขณะที่ในทุกปีจะมีป่วยหมื่นกว่าราย แสดงว่าผลของการป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะการล้างมือบ่อยๆ ก็ทำให้สถานการณ์ มือ เท้า ปากดีขึ้น โดยที่กังวลคือ มือเท้าปากจากเชื้อ EV71 อาจทำให้เสียชีวิต แต่ปี 2563ไม่มีป่วยจากเชื้อนี้  แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกต รวมทั้งครูอาจารย์ ต้องล้างมือเด็กหลังเล่นของเล่น หรือสถานที่ต่างๆ ต้องทำความสะอาด และเมื่อเด็กป่วย มีตุ่มขึ้นมือเท้าปาก ต้องให้หยุดเรียน

        อย่างไรก็ตาม  พบโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กเล็ก คือ โรค RSV ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากไวรัส มีความรุนแรงเฉพาะเด็กเล็ก เพราะการติดเชื้อจะลงไปที่หลอดลม ทำให้หลอดลมฝอยอักเสบ หายใจลำบาก การเอาเสมหะออกยาก ดังนั้น หากเด็กเล็กมีอาการเหล่านี้รีบพาพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้ขับเสมหะอย่างถูกต้อง โดยจะมีระยะฟักตัว 4-6 วัน และจะแพร่ได้อีก 1 สัปดาห์ ปัญหาคือ ปัจจุบันไม่มียา และวัคซีน การป้องกันจึงสำคัญที่สุด โดยต้องไม่คลุกคลีกับผู้ที่มีอาการป่วย หลีกเลี่ยงการไปเล่นเป็นกลุ่ม ช่วงนี้ต้องแยกตัว  ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะมีการสุ่มตรวจผู้ป่วยในคลินิกไข้หวัด พบRSV ราว  10-20 % แต่ปี 2563 พบ 50 % แสดงว่าอาจมีการระบาดเกิดขึ้น ซึ่งเชื้อนี้สามารถเจอได้ในผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดทั่วไป จะมีอาการไม่รุนแรงเหมือนในเด็กเล็ก

      ด้านพญ.สุมนี วัชรสินธุ์  ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค  กล่าวว่า ในส่วนของภัยสุขภาพช่วงฤดูหนาวต้องระวังเป็นพิเศษ 2 ภัย ได้แก่ 1. เสียชีวิตเกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว ซึ่งเป็นการเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ เกิดในที่พัออาศัย โดยไม่มีเครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องกันหนาวที่เพียงพอและคาดเกี่ยวเนื่องอากาศหนาว ซึ่งกองระบาดวิทยา รายงานว่า มีผู้ป่วยเข้านิยาม 37 ราย เสียชีวิตภายในบ้าน 25 ราย นอกบ้าน 12 ราย เกือบทั้งหมดส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มที่เพียงพอ และอาจจะมีโรคประจำตัว ซึ่งอุณหภูมิขณะเสียชีวิตอยู่ที่ 9-25 องศาเซลเซียส เฉลี่ย 16.25 องศา

          พบการเสียชีวิตมากที่สุด ในจ.ชัยภูมิ 4 ราย จ.ชัยนาท 3 ราย เชียงใหม่ สระแก้ว นครสวรรค์  กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี  จังหวัดละ 2 ราย  กรุงเทพมหานคร อำนาจเจริญ และแพร่ จังหวัดละ 1 ราย  วิธีป้องกัน ต้องติดตามภาวะอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ภาคเหนือ  ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงเป็นพิเสษ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว  เตรียมความพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เพียงพอ และอยู่อาศยในที่อบอุ่น เป็นต้น

     และ2.การขาดอากาศหายใจจากการสูดดมก๊าซพิษจากอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความอบอุ่นร่างกาย โดยในปี 2562  มีรายงานทั้งสิ้น 4 เหตุการณ์ ผู้ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยเหตุเกิดตามที่พักต่างๆ ได้แก่ รีสอร์ท 4 ราย ที่พักราชการอุทยานแห่งชาติ 1 ราย บ้าน 1 ราย การป้องกัน เจ้าของที่พักต่างๆ ควรมีการตรวจสอบคุณรภาพ มาตรฐาน แลละการบำรุงรักษาเครื่องทำน้ำอุ่นนระบบแก๊ส มีช่องหรือพัดลมระบายอากาศที่ได้มาตรฐาน การติดป้ายเตือนอันตรายและข้อปฏิบัติ ในการใช้งานอย่างชัดเจน  ไม่ควรจุดตะเกียงหรือเตาไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน หลีกเลี่ยงการก๊าซเป็นเชื้อเพลิงภายในเต็นท์และภายในที่พักอาศัยที่ไม่มีการระบายอากาศเพียงพอ เป็นต้น