ชี้ 'อาหาร-อิเล็กทรอนิกส์-การแพทย์' แนวโน้มฟื้นตัวปี 64

ชี้ 'อาหาร-อิเล็กทรอนิกส์-การแพทย์' แนวโน้มฟื้นตัวปี 64

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ค้าปลีก การแพทย์ แนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนในปี 2564 ส่วนกลุ่มโรงแรมและร้านอาหารยังซึมยาว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อุตสาหกรรมหลักในไทยจะใช้เวลาในการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 แตกต่างกัน ตามระดับของผลกระทบและบางอุตสาหกรรมเผชิญโจทย์เฉพาะอื่นด้วย (เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ภาวะอุปทานส่วนเกิน เป็นต้น) โดยแม้ 5 ใน 8 อุตสาหกรรมหลัก น่าจะสามารถพลิกเติบโตเป็นบวกได้ในปี 2564 จากฐานที่ต่ำในปี 2563 แต่ส่วนใหญ่แล้ว ขนาดของแต่ละอุตสาหกรรมจะยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิดในปี 2562

ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า อาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ค้าปลีก การแพทย์ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับปานกลางถึงน้อย แนวโน้มในปี 2564 จึงน่าจะมีโอกาสเข้าใกล้ระดับก่อนโควิดได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับอีกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับลึก ซึ่งได้แก่ โรงแรมและร้านอาหาร รถยนต์ ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย

ทั้งนี้การประเมินข้างต้น สะท้อนมุมมองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในภาพกว้าง ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง และไม่ได้สะท้อนว่าทุกกิจการในอุตสาหกรรมนั้นๆ จะมีภาพการปรับตัวในลักษณะเดียวกับอุตสาหกรรม เพราะเงื่อนไขการทำธุรกิจแต่ละรายที่ต่างกัน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การประเมินนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับนำไปพิจารณาประกอบการวางมาตรการช่วยเหลือที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

ปี 2563 ที่ผ่านมา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก สร้างผลกระทบต่อทุกภาคส่วนและทุกอุตสาหกรรมให้เผชิญกับความยากลำบาก โดยไม่เพียงอุตสาหกรรมที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศในสัดส่วนสูงที่ถูกกระทบให้ต้องเร่งปรับตัวขนานใหญ่ เพราะขาดรายได้หลักในยามที่ต้นทุนกิจการไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ด้วยกำลังซื้อที่อ่อนแรงและสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเพราะทุกกิจการต้องหันมาเจาะตลาดในประเทศเป็นหลัก ก็ทำให้กิจการในแต่ละอุตสาหกรรมต่างก็ประสบกับแรงกดดันด้านการสร้างรายได้แทบทั้งสิ้น

มองไปในปี 2564 ที่กำลังจะมาถึง ภายใต้สมมติฐานที่ในประเทศไทยไม่เกิดการระบาดซ้ำที่รุนแรงของโควิด ซึ่งทำให้ทางการสามารถทยอยผ่อนปรนการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศได้มากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคนส่วนใหญ่ในประเทศได้รับวัคซีนป้องกันโควิดในช่วงปลายปี 2564 ประกอบกับสถานการณ์การเมืองไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคด้านการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินทิศทางอุตสาหกรรมสำคัญของไทย โดยสรุปดังนี้

160388037385

คาดขนาดอุตสาหกรรมสำคัญของไทยในปี 2564 ส่วนใหญ่จะยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิดในปี 2562

  อุตสาหกรรมหลักในไทยจะใช้เวลาในการฟื้นตัวต่างกัน ตามระดับผลกระทบของโควิด-19 ที่ฉุดกำลังซื้อของครัวเรือนและรายได้สุทธิของภาคธุรกิจ และในบางอุตสาหกรรมก็เผชิญโจทย์เฉพาะอื่นด้วย โดยเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า 5 ใน 8 อุตสาหกรรมหลัก น่าจะพลิกเติบโตเป็นบวกได้ในปี 2564 จากฐานที่ต่ำในปี 2563 แต่ส่วนใหญ่แล้ว ขนาดของแต่ละอุตสาหกรรมจะยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิดในปี 2562 ซึ่งหากจำแนกเป็นกลุ่ม จะได้ว่า

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับปานกลางถึงน้อย และอาจยังไม่มีปัจจัยอื่นเพิ่มเติมมากระทบมูลค่าตลาดในปี 2564 น่าจะได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมการแพทย์ (รายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน) กระนั้น เทรนด์การบริโภคคงจะมุ่งไปสู่สินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพก็น่าจะลงทุนด้านเทคโนโลยีหรือ Telehealth มากขึ้น

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับปานกลางถึงน้อย และมีแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งห่วงโซ่การผลิตอาจมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน การแย่งชิงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของโลก ตลอดจนการรวมกลุ่มข้อตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศต่างๆ (Trade Blocs) รวมไปถึงอุตสาหกรรมค้าปลีก ที่ยังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันด้านการแข่งขันที่รุนแรงจากการที่ผู้ประกอบการต่างรุกเข้าสู่ช่องทางออนไลน์และเร่งพัฒนาไปเป็น Super Application รวมทั้งมีการเติมเต็มการให้บริการที่ครบวงจร เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับลึก และอาจยังไม่มีปัจจัยอื่นเพิ่มเติมที่มีนัยสำคัญในปี 2564 ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการเปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคจากรถยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย จะยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งการกำหนดท่าทีเชิงนโยบายของทางการนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อค่ายรถยนต์ในการพิจารณาให้ไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของภูมิภาค

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับลึก และมีแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวอย่างโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งจะยังมีแนวโน้มถูกกระทบจากภาวะอุปทานส่วนเกินและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านการเดินทางท่องเที่ยวและการใช้บริการร้านอาหาร ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมขนส่ง ที่นอกจากการขนส่งผู้โดยสารจะยังถูกกระทบจากโควิดแล้ว การขนส่งสินค้าก็อาจจะยังได้รับผลกระทบจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศ และการแข่งขันที่รุนแรงสำหรับบริการการขนส่งพัสดุภัณฑ์ นอกจากนี้ อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ โดยจะยังได้รับผลกระทบจากปริมาณที่อยู่อาศัยสะสมรอขายที่มีอยู่มาก โดยเฉพาะในบางทำเลและบางระดับราคา รวมทั้งยังต้องติดตามมาตรการกำกับดูแลจากทางการที่อาจจะยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

การเมืองไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคด้านการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินทิศทางอุตสาหกรรมสำคัญของไทย โดยสรุปดังนี้

อุตสาหกรรมหลักในไทยจะใช้เวลาในการฟื้นตัวต่างกัน ตามระดับผลกระทบของโควิด-19 ที่ฉุดกำลังซื้อของครัวเรือนและรายได้สุทธิของภาคธุรกิจ และในบางอุตสาหกรรมก็เผชิญโจทย์เฉพาะอื่นด้วย โดยเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า 5 ใน 8 อุตสาหกรรมหลัก น่าจะพลิกเติบโตเป็นบวกได้ในปี 2564 จากฐานที่ต่ำในปี 2563 แต่ส่วนใหญ่แล้ว ขนาดของแต่ละอุตสาหกรรมจะยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิดในปี 2562 ซึ่งหากจำแนกเป็นกลุ่ม จะได้ว่า

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับปานกลางถึงน้อย และอาจยังไม่มีปัจจัยอื่นเพิ่มเติมมากระทบมูลค่าตลาดในปี 2564 น่าจะได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมการแพทย์ (รายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน) กระนั้น เทรนด์การบริโภคคงจะมุ่งไปสู่สินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพก็น่าจะลงทุนด้านเทคโนโลยีหรือ Telehealth มากขึ้น

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับปานกลางถึงน้อย และมีแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งห่วงโซ่การผลิตอาจมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน การแย่งชิงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของโลก ตลอดจนการรวมกลุ่มข้อตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศต่างๆ (Trade Blocs) รวมไปถึงอุตสาหกรรมค้าปลีก ที่ยังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันด้านการแข่งขันที่รุนแรงจากการที่ผู้ประกอบการต่างรุกเข้าสู่ช่องทางออนไลน์และเร่งพัฒนาไปเป็น Super Application รวมทั้งมีการเติมเต็มการให้บริการที่ครบวงจร เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับลึก และอาจยังไม่มีปัจจัยอื่นเพิ่มเติมที่มีนัยสำคัญในปี 2564 ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการเปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคจากรถยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย จะยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งการกำหนดท่าทีเชิงนโยบายของทางการนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อค่ายรถยนต์ในการพิจารณาให้ไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของภูมิภาค

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระดับลึก และมีแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวอย่างโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งจะยังมีแนวโน้มถูกกระทบจากภาวะอุปทานส่วนเกินและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านการเดินทางท่องเที่ยวและการใช้บริการร้านอาหาร ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมขนส่ง ที่นอกจากการขนส่งผู้โดยสารจะยังถูกกระทบจากโควิดแล้ว การขนส่งสินค้าก็อาจจะยังได้รับผลกระทบจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศ และการแข่งขันที่รุนแรงสำหรับบริการการขนส่งพัสดุภัณฑ์ นอกจากนี้ อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ โดยจะยังได้รับผลกระทบจากปริมาณที่อยู่อาศัยสะสมรอขายที่มีอยู่มาก โดยเฉพาะในบางทำเลและบางระดับราคา รวมทั้งยังต้องติดตามมาตรการกำกับดูแลจากทางการที่อาจจะยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

การคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมสำคัญในปี 2564 ข้างต้นของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เป็นการประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมในเบื้องต้นที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในระหว่างปี และในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีปัจจัยเฉพาะเจาะจงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ในระดับรายกิจการ จึงยิ่งไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าในอุตสาหกรรมนั้นๆ กี่กิจการจะมีผลประกอบการที่เป็นบวกหรือเป็นลบ หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเนื่องจากประมาณการอุตสาหกรรมปี 2564 ที่ระบุไว้ เป็นการประเมินภาพกว้างของอุตสาหกรรม ไม่ได้หมายความว่าทุกกิจการในอุตสาหกรรมนั้นๆ จะฟื้นตัวในลักษณะเดียวกับอุตสาหกรรม เพราะแต่ละรายกิจการก็ยังมีเงื่อนไขในการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน ในขณะที่ ด้วยข้อจำกัดของชุดข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งความทันสมัยของงบการเงิน และความครอบคลุมของจำนวนกิจการ (บางธุรกิจดำเนินกิจการในนามบุคคล มิใช่นิติบุคคล) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในอดีตเพียงลำพัง จึงอาจไม่สามารถประเมินภาพอนาคตของกิจการแต่ละรายหรือแม้แต่ทิศทางของอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

ทั้งนี้ ผลกระทบจากโควิด นับเป็นโจทย์เฉพาะหน้าที่เข้ามาฉุดรั้งรายได้ของแต่ละธุรกิจ และเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรม โดยบางกิจการอาจจะประสบกับภาวะยากลำบากเพียงชั่วคราว เช่น 6 เดือน 1 ปี 2 ปี เป็นต้น หรือบางกิจการที่ประสบปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเผชิญกับวิกฤตโควิด จึงยิ่งซ้ำเติมและอาจทำให้ไปต่อไม่ไหว ขณะที่บางกิจการอาจจะมีสายป่านยาวและมีศักยภาพในการปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่น ทำให้ยังรักษากำไรสุทธิไว้ได้ เงื่อนไขที่แตกต่างกันของธุรกิจแต่ละราย จึงมีบทบาทอย่างมากและทำให้ยากที่จะประเมินความเข้มแข็งของกิจการผ่านตัวชี้วัดในมิติใดมิติหนึ่ง นอกจากนี้ หากฉายภาพต่อไปหลังจากที่โควิดคลี่คลายลงเมื่อวัคซีนเกิดประสิทธิผล ก็ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่สำคัญคือ ตลาดผู้บริโภคที่แตกเป็นส่วนๆ (Fragmented Market) มากขึ้น และพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนเร็วและซับซ้อนขึ้น (Complicated Consumer Behaviors) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สะท้อนว่าอุตสาหกรรมต่างๆ ยังมีแนวโน้มจะเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายหลายด้านในระยะข้างหน้า

กระนั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การประเมินภาพแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2564 ในบทความนี้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน ในการนำไปวิเคราะห์การให้ความช่วยเหลือลูกค้าของตน หรือแม้แต่ภาครัฐ ในการนำไปประกอบการออกแบบมาตรการให้ความช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้โดยยังคงรักษาการจ้างงานและเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยต่อไป