เสริมบทบาทชุมชนแก้ข้อจำกัด การจัดการภัยพิบัติ

เสริมบทบาทชุมชนแก้ข้อจำกัด การจัดการภัยพิบัติ

สสส.ผนึกกมธ.ปภ.เปิดข้อจำกัดของการจัดการภัยพิบัติในสังคมไทย พร้อมเสริมบทบาทชุมชนร่วมป้องกัน แก้สาระพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 จัดทำแผนใหม่ช่วยเหลือประชาชน

วันที่ 28 ตุลาคม 2563 ที่ห้องกินรี 1 โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย (กมธ.ปภ.) สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิชุมชนไท และภาคีเครือข่ายภัยพิบัติ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดสัมมนาเรื่องข้อจำกัดของการจัดการภัยพิบัติในสังคมไทยเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาสาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ..2550 ด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนจัดการภัยพิบัติได้ด้วยตนเอง 

นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นภายในประเทศที่ผ่านมาหลายครั้ง พบว่าการป้องกันภัยต่าง ยังไม่สามารถช่วยลดทอนความสูญเสียให้น้อยลงได้มากนัก โดยมักขาดศักยภาพการเชื่อมโยงและบูรณาการกันอย่างเป็นระบบ ด้วยข้อจำกัดหลายประการทั้งเชิงโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อน หรือกฎหมายยังไม่เอื้ออำนวยให้ชุมชนมีสิทธิจัดการตัวเอง จึงเกิดเป็นแนวความคิดการระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคีเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่

เพื่อแก้ไขและพัฒนาสาระสำคัญของ ...ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย..2550 ให้เท่าทันกับสถานการณ์ภัยพิบัติในปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย กมธ.ปภจะจัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยนักวิชาการและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกประกอบการแก้ไข ...ฉบับนี้เพื่อเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และกำหนดให้ภาครัฐต้องสนับสนุนทรัพยากรแก่ชุมชนในการจัดการภัยพิบัติได้ด้วยตนเอง

..ชัชดาพร บุญพีระณัช ผู้อำนวยการกองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บรรยายเรื่องช่องว่างความท้าทาย การจัดการภัยพิบัติว่าประเทศทั่วโลกรู้ว่าสาธารณภัยไม่สามารถจัดการได้ประเทศเดียว เนื่องจากหากเกิดประเทศหนึ่งจะมีผลกระทบกับอีกหลายประเทศ  ซึ่งการแก้ปัญหาสาธารณภัยในประเทศไทย เมื่อก่อนเน้นเกิดสาธารณภัยแล้วจะแก้  แต่ตอนนี้ไม่ใช่เน้นป้องกัน ลดความเสี่ยงเป็นหลัก โดยมีแนวคิดการจัดการความเสี่ยงของสาธารณภัย การป้องกันและลดผลกระททบ การเตรียมความพร้อม การซ่อมแซมการซ่อมสร้าง  และการเผชิญเหตุการบรรเทา

"สำหรับช่องว่างการจัดการภัยพิบัติ ในส่วนของการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย  พบว่ามีปัญหาเรื่องการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย การดำเนินการประเมินความเสี่ยงระดับประเทศและระดับพื้นที่เป็นไปได้อย่างจำกัด ขาดความเข้าใจและความสามารถในการดำเนินการประเมินความเสี่ยงสาธารณภัยที่มีมาตรฐาน  ขาดการใช้ข้อมูลความเสี่ยงประกอบการตัดสินใจ   และการเข้าถึงได้ยาก   ขาดมาตรฐานไม่เอื้อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย" ..ชัชดาพร กล่าว

ขณะที่การพัฒนามาตรการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยยังขาดการกำหนดแนวทางการเชื่อมโยงบูรณาการสารสนเทศข้ามหน่วยงาน  การจัดการฐานข้อมูล ไม่มีการใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือประกอบการตัดสินใจ ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนให้การเรียนรู้และตระหนักเกี่ยวกับสาธารณภัย 

ในส่วนของการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและทุกระดับสร้างแนวปฎิบัติในการลดความเสี่ยง ไม่ปรากฎการจัดกิจกรรม/ โครงการที่สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการ  การทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาแนวทางปฎิบัติในการลดความเสี่ยงจากสธารณภัยที่ชัดเจน ไม่ให้ความสำคัญกับการมุ่งสร้างความเป็นเจ้าของหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมกันบูรณาการกิจกรรม/โครงการเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยซึ่งถ้าประเทศไทยมีการสร้างความเข้มแข็งให้ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะหน่วยงานรัฐ ชุมชน ประชาชนในพื้นที่

..ชัชดาพร กล่าวต่อว่าการบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน มีการดำเนินการพัฒนาปรระสิทธิภาพของมาตรการในด้านการอพยพการจัดตั้งศูนย์อพยพ ในระดับต่ำ การพัฒนาระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉินกระจุกในเชิงเมือง  และพื้นที่เศรษฐกิจแต่สำหรับเมืองเล็กมีการดำเนินการพัฒนาน้อยมาก ที่สำคัญการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ยังไม่สามารถดำเนินการพัฒนาระบบประเมิน PDNA ตามหลักการที่ถูกต้องได้ เนื่องจากขาดผู้เชี่ยวชาญและการถ่ายทอดองค์ความรู้   ดังนั้น เมื่อมีภัยเกิดขึ้นทุกคนรู้ แต่ไม่มีแนวทางฟื้นฟูชัดเจน ทำให้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

"

"การจะพัฒนาสาธารณภัย จะต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนนมีความเข้มแข็ง สร้างสมาร์ทชุมชน สร้างภูมิคุ้มกันในการช่วยข่วยเหลือ แนวคิด Smart DRM   และอยากให้มีงบบูรณาการด้านสาธารณภัย กองทุนในการแก้ปัญหาสาธารณภัยจริงๆ  และควรจะมีการประมวลกฎหมายด้านสาธารณภัย   อยากให้ทุกคนเข้าใจความเสี่ยง มีฐานข้อมูลความเสี่ยงที่ทันสมัย มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  และบริการสาธารณภัย  มีศูนย์กลางในการพัฒนามีมาตรฐานการปฎิบัติสากล  และหลักธรรมาภิบาล  มีฐานข้อมูลความเสี่ยงหายและความต้องการของประชาชนเป็นระบบมีความพร้อมในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาด้านการลดความเสี่ยงงจากสาธารณภัยให้เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ครอบคลุมการพัมนาทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม  และความมั่นคง  ที่สำคัญชาวบ้านทุกคนในพื้นที่ต้องมีความรู้ เข้าใจประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ของตนเอง" ..ชัชดาพร กล่าว

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า มูลนิธิฯ ทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในชุมชนมาตั้งแต่ปี 2554 เพื่อเสริมความคล่องตัวในการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที โดยเริ่มจากการสนับสนุนให้บ้านน้ำเค็ม .ตะกั่วป่า .พังงา จัดทำแผนรับมือกับภัยพิบัติสึนามิ เกิดการอบรมฟื้นฟูชุมชน และประสานความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังการเกิดภัยพิบัติซ้ำในอนาคต ปัจจุบันมีพื้นที่นำร่องงานป้องกันภัยพิบัติใน 11 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ปทุมธานี สมุทรสาคร ระนองพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช และสงขลา

ทุกพื้นที่ต่างมีกลไกการจัดการตัวเอง ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่มากขึ้น แต่จากการทำงานที่ผ่านมายังพบอุปสรรคอีกหลายประการ เช่น มีประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงสิทธิการช่วยเหลือจากรัฐ เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางราชการมายืนยัน หรือกรณีมีความพยายามจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมชุมชนเตรียมความพร้อมการจัดการภัยพิบัติ แต่ยังขาดกฎหมายรองรับ ซึ่งมูลนิธิฯ จะร่วมกับ กมธ.ปภ. สภาผู้แทนราษฎร สนับสนุนการปรับแก้ ...ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เพื่อเสริมศักยภาพการทำงานรับมือภัยพิบัติในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเสนอแก้ไขกฎหมายให้หน่วยงานรัฐสามารถจัดสรรทรัพยากรลงสู่ชุมชนได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น