“รถไฟไทย-จีน”ลงนาม สัญญา5หมื่นล้านวันนี้

“รถไฟไทย-จีน”ลงนาม  สัญญา5หมื่นล้านวันนี้

วันนี้ (28ต.ค.)“ประยุทธ์”เป็นประธานลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงตามความร่วมมือไทย-จีน มูลค่า 5หมื่นล้านเพื่อดำเนินการทั้งระบบราง จัดหาขบวนและจัดอบรมบุคลากร ในโครงการระยะแรก กรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง253 กิโลเมตร

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันนี้( 28 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จะเป็นประธานในพิธีการลงนามสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) 

โดยเป็นการลงนามระหว่างผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีน โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยพิธีลงนามจัดขึ้นที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

สำหรับสัญญา 2.3 วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยรฟท.ลงนามร่วมกับ บริษัท ไซน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) มีขอบเขตงาน คือการวางระบบรางระยะทาง 253 กิโลเมตร งานระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร งานจัดหาขบวนรถไฟ  งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และงานถ่ายทอดเทคโนโลยี 

ทั้งนี้ ระยะเวลาเริ่มต้นของสัญญาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.การเริ่มต้นงานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟ 2.การเริ่มต้นงานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3.การเริ่มต้นงานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 64 เดือน

160380427036

นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา 253 กิโลเมตร ประกอบด้วย 6 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ(บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยได้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา 

ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง มีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญา ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ซึ่งมีความก้าวหน้า42% รวมถึงเตรียมลงนามในสัญญาก่อสร้าง 9 สัญญา อยู่ในกระบวนการหาผู้รับจ้างอีก 3 สัญญา คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริหารรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569

160380429078

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ก่อนหน้านี้ฝ่ายจีนมีข้อเสนอ 2 ทางเลือก คือ 1 กรณีกระทรวงการคลังใช้เงินกู้จากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศเป็นสกุลเงินบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทยชำระค่างานเป็นสกุลเงินดอลลาร์ โดยทางเลือกดังกล่าวมีข้อดี คือ สามารถบรรลุผลของสัญญาได้โดยง่าย หากค่าเงินบาทของไทยมีอัตราที่แข็งค่าขึ้น จะใช้

งบประมาณน้อยลง ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศมีอัตราค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่กู้จากฝ่ายจีน ทำให้ภาพรวมภาระของโครงการต่ำกว่า แต่ก็พบว่ามีข้อเสีย คือ ฝ่ายไทยจะมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอายุสัญญา

ขณะที่ข้อเสนอทางเลือกที่ 2 กรณีใช้เงินกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China EXIM) ชำระค่างานเป็นสกุลเงินดอลลาร์ จะไม่กระทบกับกรอบวงเงินภาพรวมชองโครงการอย่างมีนัยสำคัญแต่ก็มีข้อเสียประกอบไปด้วย เงื่อนไขแห่งสัญญาการกู้เงินมีความละเอียดอ่อน