"กลยุทธ์การลงทุน"รายสัปดาห์ (26 ต.ค.63)

"กลยุทธ์การลงทุน"รายสัปดาห์ (26 ต.ค.63)

26-30 ตุลาคม: ยังมีแรงกดดันจากความไม่แน่นอนทั้งนอก/ในประเทศ

สรุปภาวะตลาด และมุมมองตลาดสัปดาห์นี้

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับลงต่อ (ใกล้เคียงที่คาด) โดยเป็นผลจากทั้งปัจจัยลบจากภายนอกซึ่ง ได้แก่ จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่เร่งตัวขึ้นอีก และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และจากปัจจัยภายใน คือการชุมนุมประท้วงที่เข้มข้นมากขึ้นในกรุงเทพ ซึ่งกดดันหุ้นหลักเกือบทุกกลุ่มในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน หุ้นกลุ่มธนาคารก็ดีดกลับขึ้นมาได้บ้าง หลังจากที่ธนาคารใหญ่ส่วนใหญ่รายงานว่าตั้งสำรองลดลงอย่างมีนัยสำคัญใน 3Q63 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของราคาหุ้นกลุ่มธนาคารยังถูกจำกัดด้วยควมกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและความสงสัยว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดการกับสถานการณ์ NPLs อย่างไร หลังจากที่ช่วง grace period สิ้นสุดลงในวันที่ 22 ตุลาคม

สำหรับภาพในสัปดาห์นี้ (26-30 ตุลาคม) เรามองว่าดัชนี SET จะยังคงขยับแบบ sideways down โดยหลายวันมานี้ จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันพุ่งขึ้นไปถึง 450,000 คน และสถานการณ์ในยุโรปก็ดูน่าเป็นห่วงมาก ในขณะเดียวกัน ยอดผู้ติด
เชื้อรอบล่าสุดทำให้ flash PMI ภาคบริการของยุโรปในเดือนตุลาคมออกมาต่ำเกินคาด แม้ว่า flash PMI ภาคการผลิตจะออกมาดีเกินคาด ส่วนทางฝั่งสหรัฐนั้น สองพรรคใหญ่ยังเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกันไม่ลงตัว และไม่น่าจะได้ข้อสรุปก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พฤศจิกายน เราคาดว่า Traders น่าจะยังไม่ทำอะไรมากนักในช่วงนี้เพื่อรอดูผลการเลือกตั้งสหรัฐก่อน สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เราคาดว่าการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจะดำเนินต่อไปในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะลาออก ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ประท้วงมีแผนจะย้ายจุดชุมนุมมาที่ย่านธุรกิจ และ CBD เราจึงมองว่าจะสร้างสภาวะตลาดด้านลบให้กับหุ้น domestic play ที่เกี่ยวข้อง

ธีมการลงทุน ปัจจัย และกระแสข่าวสำคัญที่จะมีผลกับตลาดในสัปดาห์นี้:

(-) สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกเลวร้ายลง เนื่องจากฤดูหนาวกำลังจะมาถึง และประเทศส่วนใหญ่ก็ตัดสินใจไม่ใช้มาตรการ lockdown เต็มรูปแบบ เราจึงคาดว่ายอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 น่าจะเร่งตัวขึ้นอีกอย่างมากทั้งในสหรัฐ และยุโรป ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยเรายังคงมองเหมือนที่เคยระบุไปแล้วว่า Moderna Inc และ Pfizer เป็นสองค่ายหลักที่มีแนวโน้มจะพัฒนาวัคซีน COVID-19 ได้ก่อนเพื่อน ซึ่งมีกำหนดจะรายงานผลการทดสอบเฟสที่สามให้ FDA ได้ในสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน

(0) เศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐ: มาตรการกระตุ้น และเรตติ้งของ Trump-Biden ก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากสมาชิกสภาฯ ของสหรัฐยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐมูลค่า 1.8-2.2 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่จะตกลงกันได้ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งหลังการโต้วาทีรอบสุดท้ายระหว่าง Trump-Biden เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Joe Biden ยังนำ Donald Trump อยู่โดยมี margin เท่ากับก่อนการโต้วาที

(0/-) การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไทย ในเย็นวันที่ 26 ตุลาคม ผู้ชุมนุมมีแผนจะชุมนุมในย่าน CBD หลังจากที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจไม่ลาออก โดยในระยะสั้น การชุมนุมอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยลบต่อหุ้นหลายกลุ่ม อย่างเช่น กลุ่มการพาณิชย์ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์

ยังคงเน้นหุ้น mid-cap ที่ผลประกอบการ 3Q63 มีแนวโน้มแข็งแกร่ง

เรายังคงยึดธีมเดียวกับสัปดาห์ก่อน จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนด้านมหภาคจากภายนอก และความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มขึ้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนยังคงเน้นหุ้น mid-cap ที่ผลประกอบการ 3Q63 มีแนวโน้มแข็งแกร่ง ได้แก่ DOHOME*, PTG*, RS* และ SMPC นอกจากนี้ เรายังชอบหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประเด็นโยงกับเทคโนโลยี 5G อย่างเช่น HANA* และร้านขาย smartphone อย่างเช่น COM7*, JMART และ SYNEX ซึ่งจะได้อานิสงส์จากการเปิดตัว iPhone 12