"Bank" Sector (26 ต.ค.63)

"Bank" Sector (26 ต.ค.63)

ผลประกอบการ 3Q63: แย่หนักลงไปอีก

Event

ประกอบการ 3Q63

Impact

กำไรลดลง 10% QoQ, 45% YoY ใน 3Q63 และ 30% ใน 9M63

ผลประกอบการ 3Q63 ออกมาดีกว่าประมาณการของเรา 9% (แต่ต่ำกว่า consensus 7%) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองไม่เป็นไปตามคาด โดย credit cost ของ KBANK ลดลงอย่างมาก ในขณะที่ของ SCB และ TMB สูงเกินคาดอย่างมาก ทั้งนี้ แนวโน้มโดยรวมที่สำคัญได้แก่ 1.) NIM ทรงตัวทำให้
NII ทรงตัวทั้ง QoQ และ YoY ใน 3Q63 แต่ +6-7% ใน 9M63 เนื่องจาก EIR ทำให้ yield สินเชื่อสูงเกินเหตุ 2.) Non-NII ลดลง 15% QoQ และ 26% YoY ใน 3Q63 และลดลง 15% ใน 9M63 3.) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 3% QoQ แต่ลดลง 10% YoY ใน 3Q63 และ ลดลง 8% ใน 9M63 4.) ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองลดลง 18% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 25% YoY ใน 3Q63 และ 57% ใน 9M63 มีเพียงแค่ TISCO และ KKP เท่านั้น ที่กำไรออกมาดีเกินคาด เนื่องจากรายได้จากธุรกิจหลักดีขึ้น

PPOP ลดลง 2% QoQ และ 9% YoY ใน 3Q63 และ 5% ใน 9M63

หากไม่รวมการตั้งสำรองหนี้เสีย และกำไร/ขาดทุนจากการปรับมูลค่าเหมาะสมของสินทรัพย์ (FVPL) PPOP จะลดลง 2% QoQ และ 9% YoY ใน 3Q63 และ 5% ใน 9M63 โดย PPOP ของ BBL ลดลงอย่างมาก (-17% QoQ และ -48% YoY ใน 3Q63 และ -28% ใน 9M63) เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานพิเศษ 4 พันล้านบาทจากการรวมการดำเนินงานของธนาคารในอินโดนีเซียเข้ามาอยู่ในธนาคารรองลงมาคือ KBANK (-6% QoQ และ -18% YoY ใน 3Q63 แต่เพิ่มขึ้น 9% ใน 9M63) เนื่องจากค่าธรรมเนียมธุรกิจธนาคารหลัก และเบี้ยประกันสุทธิลดลง มีเพียงแค่ TISCO/KKP ที่กำไรจากธุรกิจ
หลักเพิ่มขึ้น 4%/13% YoY ใน 3Q63 และ 13%/7% ใน 9M63

NPL ทรงตัว QoQ แต่เพิ่มขึ้น 12% YoY และ 13% YTD ในขณที่สัดส่วน NPL coverage เพิ่มขึ้น

ธนาคารนำสินเชื่อมีปัญหาไปอยู่ภายใต้โครงการผ่อนผันหนี้ จึงทำให้ NPLs นิ่งอยู่ในระดับก่อน covid ระบาด มีแค่ SCB, TISCO และ KKP ที่ลูกหนี้ประมาณ 20% (ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อรายย่อย) ที่ออกจากโครงการ และกลับมาชำระหนี้ได้เหมือนช่วงก่อน covid19 ดังนั้นหนี้มีปัญหาจึงลดลง <30% ของสินเชื่อรวม ซึ่งประมาณ 60% จะกลับมาชำระหนี้ได้หลังสิ้นสุดโครงการในเดือนตุลาคม 2563 ส่วนอีก30% ยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม และอีก 10% มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น NPL ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารต่าง ๆ มองว่า NPL ในช่วงต่อไปจะสูงขึ้น แต่ละธนาคารก็กำหนด credit cost แตกต่างกันไปใน 3Q63 โดย LLP ของ KBANK BBL และ TISCO ลดลง แต่ของ SCB และ TMB เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่ม NPL coverage ให้ >140%

ราคาหุ้นที่ไม่แพงจะทำให้ราคาหุ้นดีดตัวได้ในช่วงสั้น

แม้ว่าจะยังไม่รู้ว่า NPL จะเป็นอย่างไรในไตรมาสต่อ ๆ ไป แต่มาตรการของ ธปท. ก็จะทำให้ NPL ของธนาคารต่าง ๆ ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ใน 4Q63 - 256420 โดยยังไม่เกิดผลขาดทุน ทั้งนี้เนื่องจาก P/BV ต่ำมากเพียงแค่ 0.4x เราจึงคาดว่าจะเห็นราคาหุ้นดีดตัวขึ้นในช่วงสั้น

Risks

NPLs และค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง