ปิด 'สื่อ-เพจม็อบ' ไม่ง่าย ศาลวางบรรทัดฐาน 'เสรีภาพ'

ปิด 'สื่อ-เพจม็อบ' ไม่ง่าย ศาลวางบรรทัดฐาน 'เสรีภาพ'

เมื่อคำสั่งการปิดกั้นสื่อ ย่อมมีผลต่อสิทธิพื้นฐานการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ซึ่งถูกคุ้มครองการทำหน้าที่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560

การทำหน้าที่สื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุมทุกๆ ครั้งตั้งแต่อดีตไม่ว่าจะเป็นยุคใด บทบาทสื่อสารมวลชนจะถูกจับตาต่อการทำหน้าที่รายงานข่าวความเคลื่อนไหวจากผู้ชุมนุมและท่าทีผู้มีอำนาจจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ไม่เว้นแต่การชุมนุมจากแนวร่วมกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ก่อตัวเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปรากฎการณ์"แฟลชม็อบ" โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ บนสกายวอร์สี่แยกปทุมวันเมื่อวันที่ 15 ..2562

แต่เมื่อการชุมนุมที่ถูกยกระดับความเข้นข้นมากขึ้น ทำให้สื่อมวลชนกลายมาเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ถูกแสงสปอตไลท์สาดส่องไปถึง "จริยธรรม-จรรยาบรรณ" ที่ถูกมองจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนสื่อถูกดึงให้ "เลือกข้าง" หรือ "จงใจ" เลือกข้าง ไม่ว่าจากเหตุผลทางธุรกิจหรือจุดยืนทางการเมืองของกองบรรณาธิการใดก็ตาม เน้นไปที่ความหมายของ "เส้นแบ่งแดน" ของการทำหน้าที่ "สื่อหลัก-สื่อใหม่" กำลังถูกตั้งคำถามจากผู้รับสารของคนในสังคม

160357182370

สำหรับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนใด ได้ถูกคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งบัญญัติมาตราที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพไว้ โดยเฉพาะใน "มาตรา 35" ระบุถึงบุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งในวรรค 2 ระบุชัดเจนว่า "การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้"

หรือ "มาตรา 36" ได้บัญญัติถึงบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใดๆ และ "มาตรา 184" ในหมวด 9 ว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง (4) ไม่กระทําการใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซง การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนโดยมิชอบ

แต่จากประกาศคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ 4/2563 เรื่องให้ตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการที่มีลักษณะฝ่าฝืน ...ฉุกเฉินฯ ลงวันที่ 16 ..2563 ได้ปรากฏชื่อกลุ่มสื่อมวลชนตั้งแต่ Voice TV ประชาไท Prachatai.com The Reporters THE STANDARD กลายเป็นสึนามิลูกใหญ่ต่อ 4 สำนักข่าวในขณะนั้น จนคณาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ออกแถลงการณ์คัดค้านคำสั่งการปิดกั้นหรือคุกคามสื่อมวลชนในทุกรูปแบบไม่ว่าจากฝ่ายใด

160357145790

ในคดีนี้ศาลได้นัดไต่สวนเพิ่มเติม กรณีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยื่นคำร้องขอให้ปิดทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อ 4 สำนักข่าว และเพจเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH โดยมีบริษัทวอยซ์ ทีวี จำกัด ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านขอให้เพิกถอนคำสั่ง

กระทรวงดีอีเอส โดย "...สุนันต์ มณีเทพ" พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องว่า มีการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นการเสนอข่าวจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวน 12 URL (Uniform Resource Locator) ประกอบด้วย URL จากเว็บไซต์วอยซ์ ทีวี เฟซบุ๊กวอยซ์ ทีวี ยูทูบวอยซ์ ทีวี ทวิตเตอร์วอยซ์ ทีวี อินสตราแกรมวอยซ์ ทีวี

แต่แล้วเมื่อวันที่ 21 ..2563 "ศาลอาญา" มีคำสั่งยกคำร้องกระทรวงดีอีเอส กรณีสั่งปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ Voice TV ทุกช่องทางโดยศาลได้ยืนยันเสรีภาพสื่อตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 35 วรรค 2 และมาตรา 36 วรรค 1 และให้ยกเลิกคำสั่งศาลที่ให้ระงับการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในคดีนี้ เพราะเห็นว่าคำสั่งศาลดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเป็นการปิดกั้นการสื่อสาร โดยคำพิพากษาได้ครอบคลุมถึง The Reporters, THE STANDARD, ประชาไท ตามที่ดีอีเอสเคยอ้างก่อนหน้านี้

160357153580

ในคำพิพากษาช่วงหนึ่งได้ระบุชัดเจนว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 35 วรรคสอง บัญญัติห้ามรัฐปิดสื่อมวลชนเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร ตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง บัญญัติรับรองเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกัน การตีความ ...ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .. 2550 มาตรา 20 ก็ดี ...การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 มาตรา 9 (3) ก็ดี จึงต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว

ทั้งนี้ ...คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 20 ให้อำนาจศาลระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ และมาตรา 3 ระบุว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูล ข้อความในคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเจตนารมณ์๘องกฎหมายย่อมมุ่งหมายที่จะให้ศาลห้ามโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งข้อมูลที่เป็นความผิด ตามมาตรา 20 (1)-(3) โดยเฉพาะเจาะจงเป็นรายข้อความ

ส่วน ...ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 (3) ห้ามการเสนอข่าวที่มีข้อความทำให้ประชาชนหวาดกลัว...นั้น กฎหมายประสงค์ให้ห้ามเป็นการเฉพาะข่าวหรือข้อความเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นการห้ามเข้าถึงข้อมูลหรือข้อความที่มีการนำเสนอ ปรากฎต่อศาลในปัจจุบันแล้วว่าขัดต่อกฎหมาย

กฎหมายหามิได้มีเจตนารมณ์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งปิดช่องทางการสื่อสารของบุคคลหรือสื่อสารมวลชนทั้งช่องทาง มีผลการนำเสนอข้อความในอนาคตที่ยังไม่มีการพิสูจน์ความผิดด้วย ส่วนความขัดข้องในเรื่องการปิดกั้นการเข้าถึงทางเทคนิคนั้นเป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี ไม่มีผลให้เปลี่ยนแปลงกฎหมาย

ดังนั้นการที่ศาลมีคำสั่งระงับการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม URL ทั้ง 12 รายการ เป็นการปิดช่องทางการสื่อสารของ วอยซ์ทีวี ประชาไท The Reporters The Standard หรือกลุ่มเยาวชนปลดแอกฯ โดยเหตุที่ผู้ร้องไม่ได้แสดงให้ชัดเจนว่า เป็นการขอให้ปิดสื่อทั้งช่องทาง ทำให้ศาลมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันถูกต้อง เข้าใจว่าเป็นการปิดกั้นเฉพาะเนื้อหาบางส่วนที่คัดนำเสนอต่อศาล คำสั่งศาลดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งศาลที่ให้ระงับการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในคดีนี้ ยกคำร้อง

จากคำสั่งศาลอาญาเมื่อวันที่ 21 ..2563 ได้ให้ความสำคัญต่อหลัก "สิทธิ-เสรีภาพ" ของสื่อมวลชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ2560 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ต่อ "บรรทัดฐาน" ที่มาจากคำพิพากษาของศาลที่ห้ามลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ซึ่งเป็นกฎหมายหลักของประเทศ

เมื่อคำสั่งการปิดกั้นสื่อ ย่อมมีผลต่อสิทธิพื้นฐานการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ซึ่งถูกคุ้มครองการทำหน้าที่ของสื่อภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 รวมถึงจรรยาบรรณ "ความรับผิดชอบ" ต่อสังคมจากการทำหน้าที่สื่อมวลชนไปด้วย.