'นิกร'แนะตั้งคณะกรรมการ5ฝ่าย คลี่คลายวิกฤติการเมือง

'นิกร'แนะตั้งคณะกรรมการ5ฝ่าย คลี่คลายวิกฤติการเมือง

"นิกร" เชื่อ ประชุม "สภาวิสามัญ" ทำสถานการณ์การเมืองคลี่คลายได้แน่ แนะ ขออำนาจ "ปธ.สภา" ตั้งคกก. 5 ฝ่าย แทน กมธ. เพื่อตัดปัญหาเสียงข้างมากข้างน้อย

นายนิกร จำนง ..บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา กล่างถึงการประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภาวันที่ 26-27 ตุลาคม ว่า แม้ส่วนตัวจะประเมินว่า การเปิดประชุมทั้ง 2 วันจะยังไม่มีผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาในขณะนี้ได้ แต่เชื่อว่า จะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลงแน่นอน เพราะต้องยอมรับว่า วันนี้แต่ละฝ่ายต่างคนต่างพูดถึงทางออกของประเทศอยู่ในมุมของตนเอง พูดกันคนละที คนละเวลา และพูดกันคนละสถานการณ์กันอยู่ บางคนเลือกพูดในที่ลับ บางคนพูดในที่แจ้งโดยไม่ได้สื่อสารกัน ดังนั้น การเปิดประชุมรัฐสภา จึงถือเป็นเวทีให้ทุกฝ่ายในฐานะที่เป็นคนไทยมาสื่อสารร่วมกัน มาพูดความคิดของตัวเองร่วมกันหน้าประชาชนเพื่อให้ความเห็นที่อยู่กันคนละทิศละทางได้ร่วมศูนย์ โดยมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งตนมั่นใจว่า ในการอภิปรายทั้ง 2 วันจะมีทางออกดีๆ หรือมีกลไกของรัฐสภาในการแก้ไขปัญหาร่วมกันแน่นอน

นายนิกร กล่าวว่า แม้ในการประชุมดังกล่าว จะไม่สามารถลงคะแนนเพื่อโหวตรับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่ในฐานะที่เป็นผู้จัดทำรายงานของกมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ เชื่อว่า จะมีสมาชิกนำประเด็นที่สรุปแล้วไปอภิปราย เพื่อทำให้สังคมได้ทราบว่า จริงๆ เรื่องนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว เพื่อเป็นทางออกที่เป็นรูปธรรมเพื่อคลี่คลายแรงกดดันก่อนที่การเปิดประชุมสมัยทั่วไปจะเริ่มต้นขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า สถานการณ์ที่ผ่านมามันเป็นผลลบมากเกินกว่าที่ประเทศจะรับได้แล้ว จากนี้ตนขอคิดในแง่บวก โดยหวังว่าการอภิปรายทั้ง 2 วัน จะได้อะไรมากกว่าที่ประเมินไว้ก็ได้ โดยเชื่อมั่นว่า เมื่อคนไทยมีใจอยากแก้ไจปัญหาให้ประเทศร่วมกัน แต่เมื่อที่ผ่านมา การหันหน้าเข้าหากันแล้วยังไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ เพราะแต่ละฝ่ายยังยืนอยู่ในจุดยืนและที่มั่นของตนเอง ก็อยากให้หันหน้าไปในทิศเดียวกันแล้วจับมือเดินไปด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาให้ประเทศจะดีกว่า

นายนิกร กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า หากที่ประชุมรัฐสภามีความเห็นร่วมกันให้มีกลไกเพื่อทางออกร่วมกันก็อยากให้เปลี่ยนรูปแบบจากการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่จำเป็นต้องยึดระบบเสียงตามสัดส่วน ฝ่ายไหนมากฝ่ายไหนน้อย มาเป็นรูปแบบ โดยอาจใช้อำนาจของประธานรัฐสภาโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมแทนเพื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพราะต้องยอมรับว่ารูปแบบกมธ.ปกติจำเป็นต้องยึดระบบเสียงตามสัดส่วน ฝ่ายไหนมากฝ่ายไหนน้อย ซึ่งเป็นเหตุให้ฝ่ายค้านไม่เข้าร่วมในหลายกมธ.ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดมีความเห็นออกมาแล้วว่า จะไม่ร่วมอีกดังนั้น ตนไม่อยากให้รัฐสภาเดินไปในวิธีเดิมที่ใช้ไม่ได้ผลอีก จึงอยากให้ปรับรูปแบบเพื่อเปิดกว้าง เป็นการตั้งคณะกรรมการที่มี 5 ฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาทำงานร่วมกัน ประกอบด้วยครม. พรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน .. และ บุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นวิธีที่ยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องยึดระบบสัดส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเข้าร่วมอีก