ผลสำรวจชี้ AI ช่วยเสริมสุขภาพจิตพนักงานองค์กร

ผลสำรวจชี้ AI ช่วยเสริมสุขภาพจิตพนักงานองค์กร

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้พนักงานทั่วโลกเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และความเหนื่อยล้ามากขึ้น และมีการสำรวจพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ต้องการพูดคุยหรือขอความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์ด้วยกัน  

เป็นงานศึกษาซึ่งจัดทำโดย ออราเคิล และ เวิร์กเพลส อินเทลลิเจนซ์ (Workplace Intelligence) บริษัทผู้วิจัยและให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล โดยดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากพนักงาน ผู้จัดการ ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้บริหารระดับสูงรวมมากกว่า 12,000 คน ใน 11 ประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก 

ทั้งนี้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตของแรงงานทั่วโลก ที่ต้องต่อสู้กับความเครียดและแรงกดดันในสถานที่ทำงานที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19

•พนักงาน 70% มีความเครียดและความวิตกกังวลในสถานที่ทำงานมากขึ้นในปีนี้ เมื่อเปรียบเทีบกับปีที่ผ่านมา

•ความเครียดและความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลเชิงลบต่อสุขภาพจิตของแรงงาน 78% ทั่วโลก โดยก่อให้เกิดความเครียดมากขึ้น (38%) การขาดสมดุลของชีวิตส่วนตัวและงาน (35%) ความเหนื่อยล้า (25%) ความหดหู่จากการไม่ได้เข้าสังคม (25%) และความโดดเดี่ยว (14%)

•แรงกดดันใหม่ที่เกิดจากการแพร่ระบาดทั่วโลกได้ทับถมลงบนสิ่งที่กระตุ้นความเครียดในสถานที่ทำงานที่มีอยู่เดิมซึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้วทุกวัน โดยรวมถึงแรงกดดันที่ต้องปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐาน (42%) การรับมือกับภารกิจประจำวันและงานที่น่าเบื่อหน่าย (41%) และภาระงานที่ยุ่งยากจนไม่สามารถบริหารจัดการได้ (41%)

ขณะที่ปัญหาสุขภาพจิตในสถานที่ทำงานส่งผลเชิงลบต่อชีวิตส่วนตัวของผู้คน แพร่ระบาดของโรคไปทั่วโลกยิ่งทำให้ปัญหาสุขภาพจิตในสถานที่ทำงานแย่ลง และส่งผลกระทบไม่เพียงชีวิตการทำงานเท่านั้น แต่พนักงานยังรับรู้ได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นที่บ้านด้วยเช่นกัน

•พนักงาน 85% กล่าวว่าปัญหาสุขภาพจิตในสถานที่ทำงาน (เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และความหดหู่) ส่งผลถึงชีวิตส่วนตัวที่บ้าน

•ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันมากที่สุด ได้แก่ การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม (40%) สุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรม (35%) ความสุขในบ้านลดลง (33%) ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ย่ำแย่ (30%) และการปลีกตัวแยกจากมิตรสหาย (28%)

•เมื่อเส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเริ่มมีผลกระทบมากขึ้น และพนักงานต้องทำงานทางไกลจากที่บ้าน ทำให้มีพนักงาน 35% ที่ทำงานมากขึ้น 40 ชั่วโมงต่อเดือน และ 25% เกิดความอ่อนล้าจากการทำงานมากเกินไป

•แม้การทำงานทางไกลจะมีข้อเสีย หากพนักงาน 62% พบว่าการทำงานทางไกลมอบความสุขมากกว่าที่เคยก่อนหน้าการแพร่ระบาด โดยระบุว่าพวกเขามีเวลามากขึ้นสำหรับใช้กับครอบครัว (51%) การนอน(31%) และการทำงานให้สำเร็จ (30%)

พนักงานต้องการความช่วยเหลือและหันเข้าสู่เทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ด้วยกัน ผู้คนต้องการใช้งานเทคโนโลยีมากกว่าเป็นเพียงเครื่องมือประสานงาน โดยพวกเขายังต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
จิตด้วย  

•มีพนักงานเพียง 18% ที่ชอบพูดคุยกับมนุษย์มากกว่าหุ่นยนต์ในการส่งเสริมสุขภาพจิต เนื่องจากส่วนใหญ่เชื่อว่าหุ่นยนต์สามารถพูดคุยได้โดยไม่ตัดสิน (34%) ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ปราศจากอคติในการปรึกษาปัญหา (30%) และสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว (29%)

•พนักงาน 68% เลือกพูดคุยกับหุ่นยนต์มากกว่าผู้จัดการเกี่ยวกับความเครียดและความกังวลเรื่องงาน และ 80% ยอมรับการนำหุ่นยนต์มาทำหน้าที่เป็นนักบำบัดหรือที่ปรึกษา

•พนักงาน 75% กล่าวว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถเยียวยาสุขภาพจิตในสถานที่ทำงานของพวกเขาได้ ซึ่งประโยชน์หลัก ๆ ที่สังเกตเห็นได้คือ การให้ข้อมูลจำเป็นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า(31%) การทำงานแบบอัตโนมัติและการลดภาระงานเพื่อป้องกันความเหนื่อยล้า (27%) และการลดความเครียดผ่านการช่วยจัดลำดับงาน (27%)

•ปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยให้พนักงานส่วนใหญ่ (51%) ลดจำนวนวันทำงานและมีวันหยดพักร้อนยาวนานขึ้น (51%) ผู้ทำแบบสอบถามมากกว่าครึ่งระบุว่า ปัญญาประดิษฐ์สามารถเพิ่มกำลังการผลิตของพนักงาน (63%) เพิ่มระดับความพึงพอใจในงาน (54%) และยกระดับความสุขโดยรวม (52%)

ปัญหาสุขภาพจิตในสถานที่ทำงานยังไม่หมดไปและเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม พนักงานทั่วโลกต่างต้องการให้บริษัทมีตัวช่วยในการส่งเสริมสุขภาพจิตของแรงงานมากกว่านี้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อกำลังการผลิตทั่วโลก รวมถึงต่อชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของแรงงานทั่วโลก

•พนักงาน 76% เชื่อว่าบริษัทควรมีการปกป้องสุขภาพจิตของแรงงานมากกว่านี้ โดย 51% สังเกตว่าบริษัทต่าง ๆ เริ่มมีบริการหรือการส่งเสริมสุขภาพจิตซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19

•แรงงานทั่วโลกกว่า 83% ต้องการให้บริษัทของตนมีเทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงาน ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพบริการด้วยตนเอง (36%) บริการให้คำปรึกษาตามคำขอ(35%) เครื่องมือตรวจสุขภาพเชิงรุก (35%) การเข้าถึงแอปพลิเคชั่นเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมหรือการทำสมาธิ (35%) และโปรแกรมแชตบอตเพื่อตอบคำถามด้านสุขภาพ (28%)

•พนักงาน 84% เคยประสบปัญหาในขณะทำงานทางไกล โดยปัจจัยหลักส่วนใหญ่คือการไม่สามารถแยะแยะระหว่างเวลาสำหรับชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (41%) และการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นเช่น ความเครียดและความกังวล (33%)

•ผู้คน 42% กล่าวว่าความเครียด ความกังวล และความหดหู่ในสถานที่ทำงานทำให้ความสามารถในการผลิตของพวกเขาลดต่ำลง และ 40% ระบุว่าสิ่งนี้นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดมากขึ้น โดยมีพนักงาน85% กล่าวว่าความเครียด ความกังวล และความหดหู่จากการทำงานส่งผลกระทบถึงชีวิตส่วนตัวที่บ้านของพวกเขาด้วย

หมายเหตุ- ผลการศึกษาวิจัยนำมาจากการสำรวจความคิดเห็นซึ่งดำเนินงานโดย Savanta, Inc. ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม – 4สิงหาคม 2563 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 12,347 คน (จากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเร็ตส์ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่น จีน บราซิล และเกาหลี) ใช้วิธีการตั้งคำถามทั่วไปเพื่อสำรวจภาวะผู้นำและทัศนคติของพนักงานเกี่ยวกับสุขภาพจิต เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ผู้ช่วยระบบดิจิทัล แชตบอต และหุ่นยนต์ในสถานที่ทำงาน โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มเป้าหมายอายุรหว่าง 22-74 ปี การศึกษาคัดเลือกผู้ตอบแบบสอบถามด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยและการสำรวจเชิงวิจัยของตลาดแต่ละแห่ง ผู้เข้าร่วมการพูดคุยทุกคนผ่านขั้นตอนการคัดเลือกสองชั้นและการทำความเข้าใจข้อมูลทั้ง 300 จุดก่อนเข้าร่วมการสำรวจ ผู้เข้าร่วมจะได้รับเชิญผ่านทางอีเมลและได้รับ
ค่าตอบแทนเมื่อเข้าร่วมในการสำรวจ ผลลัพธ์ของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่บนพื้นฐานของค่าการผันแปรของกลุ่มที่ทำการศึกษา ซึ่งค่าความผันแปรสามารถวัดค่าได้และเกิดจากปัจจัยของจำนวนการสัมภาษณ์และระดับร้อยละของการแสดงผลลัพธ์ สำหรับการศึษาครั้งนี้ โอกาสความเป็นไปได้คือ 95 ใน 100 ที่ผลการสำรวจจะไม่เกิการผันแปรทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของคะแนนผลลัพธ์ที่ได้รับ หากการสัมภาษณ์ดำเนินการกับบุคคลตามกลุ่มตัวอย่าง