โพลชี้ หนาวนี้คนไทย 60% วางแผนเที่ยวไทย มากสุดคือ 'สายบุญ'

โพลชี้ หนาวนี้คนไทย 60% วางแผนเที่ยวไทย มากสุดคือ 'สายบุญ'

กรุงเทพโพลล์ สำรวจความเห็นเรื่อง “คนไทยกับมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของภาครัฐ” พบคนไทย 60.9% มีแผนเที่ยวไทยช่วงปลายปี โดยมากสุดคือสายบุญ 22.1% แต่ 70.5%  ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการใดเลย

กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของภาครัฐ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,226 คน พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 มีแผนไปท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงปลายปี โดยอยากไปท่องเที่ยวทำบุญมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.1

รองลงมาคือ อยากไปดอยภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 21.1 และอยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ คิดเป็นร้อยละ 17.0 ขณะที่ร้อยละ 39.1 ไม่มีแผนท่องเที่ยว

เมื่อถามถึงเรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวคือ กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด COVID – 19 คิดเป็นร้อยละ 43.4 รองลงมาคือ ความแออัดของคนในสถานที่เที่ยวคิดเป็นร้อยละ 40.9 และอุบัติเหตุ รถชน  รถติด บนท้องถนนคิดเป็นร้อยละ 25.6

ส่วนมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐที่คาดว่าจะได้ใช้ในช่วงเที่ยวปลายปีพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.5  ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการใดเลย ส่วนร้อยละ 19.7 ใช้มาตรการคนละครึ่ง รองลงมาร้อยละ 8.1 ใช้มาตรการเราเที่ยวด้วยกัน และร้อยละ 5.8 ใช้มาตรการช้อปดีมีคืน

1603504213100

เมื่อถามว่า “มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐบางมาตรการ ต้องใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ท่านพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้ในการใช้หรือไม่”   ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 พร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้ ขณะที่ร้อยละ 49.5 ไม่พร้อมที่จะปรับตัว โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ยุ่งยาก สะดวกใช้เงินสดมากกว่า  คิดเป็นร้อยละ 77.9 รองลงมาร้อยละ 27.4 ไม่มีสมาร์ทโฟน ใช้สมาร์ทโฟนไม่เป็น และร้อยละ 15.9 กลัวโดนขโมยข้อมูล เงินในบัญชี        

สุดท้ายเมื่อถามความเห็นต่อภาพรวมมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐ จะช่วยทำให้คนออกมาใช้จ่ายได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.0 คิดว่าจะช่วยทำให้คนออกมาใช้จ่ายได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 45.0 คิดว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้  

1. ข้อคำถาม “มีแผนไปท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงปลายปี หรือไม่อย่างไร”

โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่า มีแผนท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 60.9 และเมื่อถามว่า มีแผนเที่ยวอย่างไร มีคำตอบดังนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

- ร้อยละ 22.1 อยากไปท่องเที่ยวทำบุญ
- ร้อยละ 21.1 อยากไปดอยภาคเหนือ
- ร้อยละ 17.0 อยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ
- ร้อยละ 10.9 อยากไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ธรรมชาติ 
- ร้อยละ 6.5 อยากไปภูภาคอีสาน
- ร้อยละ 5.7 อยากไปท่องเที่ยววิถีชุมชน
- ร้อยละ 2.9 อื่นๆ เช่น อยากไปน้ำตก ล่องแพ เที่ยวบ้านเกิด
- ร้อยละ 39.1ไม่มีแผนท่องเที่ยว

2. เรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ดังนี้

- ร้อยละ 43.4 กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด COVID – 19
- ร้อยละ 40.9 กังวลความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว
- ร้อยละ 25.6 กังวลอุบัติเหตุ รถชน  รถติด บนท้องถนน
- ร้อยละ 18.4 กังวลที่พัก อาหาร ราคาแพง
- ร้อยละ 16.0 อื่นๆ เช่น ไม่มีเรื่องกังวล ไม่มีเงินไปเที่ยว

3. มาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐที่คาดว่าจะได้ใช้ในช่วงเที่ยวปลายปี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

- ร้อยละ 70.5 ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการใดเลย
- ร้อยละ 19.7 เข้าร่วมมาตรการ "คนละครึ่ง"
- ร้อยละ 8.1 เข้าร่วมมาตรการ "เราเที่ยวด้วยกัน"
- ร้อยละ 5.8 เข้าร่วมมาตรการ "ช้อปดีมีคืน"

4. ข้อคำถาม “มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐบางมาตรการ ต้องใช้จ่ายผ่าน "แอปพลิเคชันเป๋าตัง" ท่านพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้ในการใช้หรือไม่” คำตอบ คือ 

- ร้อยละ 50.5 พร้อมปรับตัวที่จะเรียนรู้
- ร้อยละ 49.5 ไม่พร้อมที่จะปรับตัว เพราะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
   ยุ่งยาก สะดวกใช้เงินสดมากกว่า คิดเป็น ร้อยละ 77.9
   ไม่มีสมาร์ทโฟน ใช้สมาร์ทโฟนไม่เป็น คิดเป็น ร้อยละ 27.4
   กลัวโดนขโมยข้อมูล เงินในบัญชี คิดเป็น ร้อยละ 15.9
   อินเทอร์เน็ตช้า ไม่มีอินเทอร์เน็ต คิดเป็น ร้อยละ 11.5
   อื่นๆ เช่น อายุเยอะแล้ว ไม่สนใจ คิดเป็น ร้อยละ 9.5

5. ความเห็นต่อภาพรวมมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐ จะช่วยทำให้คนออกมาใช้จ่ายได้มากน้อยเพียงใด

- ร้อยละ 55.0 ตอบว่า ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 46.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 8.5)
- ร้อยละ 45.0 ตอบว่า ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 41.8 และมากที่สุดร้อยละ 3.2)

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ : เพื่อสะท้อนถึงแผนไปท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงปลายปี เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาว เพื่อสะท้อนถึงมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐที่คาดว่าจะได้ใช้ในช่วงเที่ยวปลายปี เพื่อสะท้อนถึงการปรับตัวที่จะเรียนรู้การใช้แอปพลิเคชัน

ประชากรที่สนใจศึกษา : การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95

วิธีการรวบรวมข้อมูล : ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 19-21 ตุลาคม 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 ตุลาคม 2563

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง : รวม 1,226 คน แบ่งเป็น

เพศ
- เพศชาย จำนวน 603 คน คิดเป็นร้อยละ 49.2
- เพศหญิง จำนวน 623 คน คิดเป็นร้อยละ 50.8

อายุ
18 ปี - 30 ปี จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9
31 ปี - 40 ปี จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 16.2
41 ปี - 50 ปี จำนวน 321 คน คิดเป็นร้อยละ 26.2
51 ปี - 60 ปี จำนวน 349 คน คิดเป็นร้อยละ 28.4
61 ปี ขึ้นไป จำนวน 274 คน คิดเป็นร้อยละ 22.3

การศึกษา

- ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 742 คน คิดเป็นร้อยละ  60.5
- ปริญญาตรี  จำนวน 371 คน คิดเป็นร้อยละ  30.3
- สูงกว่าปริญญาตรี  จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ  9.2

อาชีพ

- ลูกจ้างรัฐบาล จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ  11.7
- ลูกจ้างเอกชน จำนวน 239 19.5
- ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร จำนวน 463 คน คิดเป็นร้อยละ 37.7
- เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง จำนวน  67 คน คิดเป็นร้อยละ  5.5
- ทำงานให้ครอบครัว จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ  0.2
- พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ จำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ  21.4
- นักเรียน/ นักศึกษา จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ  1.0
- ว่างงาน/ รวมกลุ่ม  จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ  3.0