โปรแกรมหน้า 'ชัตดาวน์' กรุงเทพฯ

โปรแกรมหน้า 'ชัตดาวน์' กรุงเทพฯ

ฝ่ายความมั่นคง ชี้สถานการณ์เข้าขั้น 'โคม่า'หลังเห็นรูปแบบการชุมนุมกว่า 1 สัปดาห์ของ 'คณะราษฎร 63' ภายใต้ 'ม็อตโต้' ทุกคนคือแกนนำ

การเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2563 วันที่ 26-27 ต.ค.  เพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ มาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดขอฟังความเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. ต่อ ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน สรุปคร่าวๆ ได้ 3 หัวข้อหลักการเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2563 วันที่ 26-27 ต.ค.  เพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ มาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดขอฟังความเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. ต่อ ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน สรุปคร่าวๆ ได้ 3 หัวข้อหลัก
 

1. ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ใช้ควบคุมการระบาดโควิด-19 เพื่อผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศในขณะที่การติดเชื้อจากทั่วโลกมีตัวเลขสูง อีกทั้งการชุมนุมในกทม. และต่างจังหวัด มีลักษณะแออัดประชิด ประกอบกับมีฝนตกหนักและน้ำท่วม ทำให้ฝ่ายสาธารณสุขกังวลต่อการระบาดของโรค

2. กลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร 63 กระทำต่อขบวนเสด็จฯ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ ด้วยการล้อมรถพระที่นั่งและตะโกนด้วยถ้อยคำหยาบคาย แสดงอาการไม่สมควรและเป็นการคุกคามเสรีภาพของผู้อยู่ในขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา

และ 3. สถานการณ์การชุมนุมเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สถานีขนส่ง กระทบต่อความสงบเรียบร้อย คมนาคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอาจทำให้เกิดการปะทะและเกิดจลาจล  รวมถึงข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ปล่อยตัวคนที่ถูกควบคุมตัว ยุบสภา แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบัน และบางข้อเรียกร้องอยู่ระหว่างดำเนินการ 

ไม่เพียงแต่ฝ่ายการเมืองเท่านั้น 'หน่วยงานความมั่นคง' เอง ก็เห็นตรงกันว่า การเปิดเวทีขอความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกันให้กับประเทศ จะกลายเป็นเวที 'โจมตี'กันเสียมากกว่าเพราะต่างก็มี 'ธง' อยู่ในใจทั้ง รัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ส.ว. เช่นเดียวกับแนวคิดการเชิญแกนนำ 'คณะราษฎร 63' ร่วมเจรจา ดูท่าจะไม่เป็นผล

หน่วยงานความมั่นคง ประเมินว่า สถานการณ์ขณะนี้เข้าขั้น 'โคม่า' หลังเห็นรูปแบบการชุมนุมต่อเนื่องกว่า 1 สัปดาห์ของ 'คณะราษฎร 63' ภายใต้ 'ม็อตโต้' ทุกคนคือแกนนำ ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้จับ 'โทรโข่ง' ขึ้นเวทีปราศรัย ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือ นายกรัฐมนตรีลาออก แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบัน

การชุมนุมแต่ละครั้ง คณะราษฎร 63 มาพร้อมกับ 'ยุทธวิธี'ใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงกดดัน 'พล.อ.ประยุทธ์' ด้วยการดาวกระจายไปตามจุดสำคัญทั่ว กทม.ทั้ง ห้าแยกลาดพร้าว อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกปทุมวัน  แยกอโศก แยกราชประสงค์ แยกเกษตรฯ ในขณะเดียวกันก็เล่นเกม 'กระชับพื้นที่' มายังทำเนียบรัฐบาล

ส่วนจำนวนผู้ชุมนุมที่พีคสุด คือช่วงวันเสาร์ที่ 17 ต.ค.ใน 3 พื้นที่ ทั้งห้าแยกลาดพร้าว บีทีเอสอุดมสุข วงเวียนใหญ่ ต่อเนื่องมาในวันอาทิตย์ที่ 18 ต.ค.ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและแยกอโศก ยังไม่รวมจุดย่อยของปริมณฑล และต่างจังหวัด ต่างทยอยผุดขึ้นราวดอกเห็ดส่วนจำนวนผู้ชุมนุมที่พีคสุด คือช่วงวันเสาร์ที่ 17 ต.ค.ใน 3 พื้นที่ ทั้งห้าแยกลาดพร้าว บีทีเอสอุดมสุข วงเวียนใหญ่ ต่อเนื่องมาในวันอาทิตย์ที่ 18 ต.ค.ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและแยกอโศก ยังไม่รวมจุดย่อยของปริมณฑล และต่างจังหวัด ต่างทยอยผุดขึ้นราวดอกเห็ด

หน่วยงานความมั่นคง ชี้ว่า 24 ต.ค. คือเส้นตายวันสุดท้าย หาก 'พล.อ.ประยุทธ์'ไม่ลาออกภายใน 3 วันตามข้อเรียกร้อง กลุ่มคณะราษฎร 63 จะยกระดับการชุมนุมครั้งใหญ่ โดยมีแนวโน้มเคลื่อนมวลชนมากดดัน ประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา วันที่ 26-27 ต.ค.นี้ 

และมาตรการขั้นสุดท้าย กลุ่มคณะราษฎร 63 จะเรียกมวลชนในต่างจังหวัดทั่วประเทศเข้ามาสมทบกับมวลชนใน กทม.เพื่อปฏิบัติการ 'ชัตดาวน์' กทม. จนกว่า 'พล.อ.ประยุทธ์' จะลาออกจาก 'นายกรัฐมนตรี'

สถานการณ์ที่ หลายฝ่ายคาดหวัง อยากเห็นการถอยคนละก้าว อาจกลับตาลปัตร เป็นการก้าวเข้ามาเผชิญหน้ากันอีกก้าว!