'สภาดิจิทัล' แนะ 3 ด้านดัน 'ไทย' มุ่ง 'เศรษฐกิจดิจิทัล' 

'สภาดิจิทัล' แนะ 3 ด้านดัน 'ไทย' มุ่ง 'เศรษฐกิจดิจิทัล' 

ดึง บ.ยักษ์ลงทุน พัฒนาทักษะแรงงาน รัฐปรับตัวบูรณาการข้อมูลทุกภาคส่วน

ขณะที่ด้านการพัฒนาคนเพื่อป้อนอุตสาหกรรมนี้ ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ตัวอย่างนักศึกษาจบด้านการวิจัยแต่ไม่ได้ทำงานด้านนี้

ทั้งนี้การจะพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดิจิทัลอีโคโนมี สำหรับประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จในอนาคต สภาฯมองว่าควรมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ ต้องเชิญชวนผู้พัฒนาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย บริษัทระดับโลกต่างๆ ซึ่งเกณฑ์ตัดสินใจคือ ภาษีเงินได้บุคคล และภาษีเงินได้นิติบุคคล เรื่องนี้ภาครัฐต้องพิจารณาเทียบกับประเทศอื่นที่ดึงดูดการลงทุนเช่นกัน นอกจากนี้ต้องพัฒนาสตาร์ตอัพไทย ปัจจุบันเอกชนมีการตั้งกองทุนสนับสนุน

นอกจากนี้ ต้องพัฒนาคนให้เข้าใจในการทำธุรกิจ รู้จักลูกค้า คู้ค้า ต่อมา คือ Technical skills ไม่ใช่แค่โปรแกรมเมอร์แต่ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น และ Analytic skills คือ การรู้วิเคราะห์และทักษะ ต้องฟังเป็น พูดเป็น สื่อสารเป็น ตอนนี้ระดับการใช้งานดิจัทัล เปิดปิดเครื่องมือได้ ไทย 25% ส่งเมลได้ 15% ทำพาวเวอร์พอยต์ได้ ครีเอทได้ 9% และสามารถเขียนโปรแกรมได้ 1%

ดังนั้น ไทยต้องพัฒนา ล่าสุดสภาดิจิทัลจะสร้างแฟลตฟอร์มสาธารณะ เมื่อให้ความรู้ประชาชน ใช้ชีวิต เรียนรู้ และมีเอกชนช่วย และเสนอเปลี่ยนการเรียนใหม่จากการเรียนในห้องเป็นสหศึกษา รวมทั้งขอความร่วมมือกับภาคเอกชนอื่น ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยช่วย

และสุดท้าย อยากให้รัฐ เอกชน ตั้งโจทย์ และให้นักศึกษาเป็นสตาร์ทอัพ เรามี 5,000 โครงการ โครงการละ 10 คน ตั้งโจทย์ที่เป็นไปได้ เมื่อสร้าง 5,000 บริษัท ถ้ารอดแค่ 50 บริษัทเกิดสตาร์ทอัพได้ก็ดีแล้ว

นอกจากนี้ภาครัฐต้องแปลงข้อมูล เน้นกระทรวงที่เป็นอนาล็อก ใช้กระดาษ ให้คนอ่าน ในด้านโรงพยาบาลการแปลงกระดาษสู้ดิจิทัลจะมีช่องทางอีกมหาศาล เป็นการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล ต้องแปลงดาต้าอนาล็อกสู้ดิจิทัล

และสุดท้ายนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องบูรณาการขับเคลื่อนประเทศ รัฐ เอกชน ประชาชนต้องร่วมมือ ใช้จังหวะโควิดตอนนี้ การทำให้ดิจิทัลยั่งยืนเป็นโครงสร้างที่สำคัญ ไม่อยากให้มีนโยบายแค่มีบิ๊กดาต้าในภาคราชการ เพราะต่างคนต่างทำ ดังนั้นต้องมีผู้นำเบอร์1 แต่ละด้านร่วมมือกัน โครงสร้างนี้ทำยังไงใ ห้โปร่งใส โครงสร้างนี้ขับเคลื่อนยังไง ต้องเอาโครงสร้างสมัยใหม่มาใช้ มีการชี้วัดผลคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ