สรุปชัด! ผ่าเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อเกิด ‘ภัยพิบัติ’ กรณีฉุกเฉิน

สรุปชัด! ผ่าเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อเกิด ‘ภัยพิบัติ’ กรณีฉุกเฉิน

ผ่าหลักเกณฑ์ช่วยเหลือจ่าย "เงินทดรองราชการ" ช่วยเหลือผู้ประสบภัย หากเกิด "ภัยพิบัติ" กรณีฉุกเฉิน มีรายละเอียดอย่างไร? ช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง?

ขณะนี้ประเทศไทยในหลายพื้นที่ต่างประสบภัยน้ำท่วม จากสถานการณ์ฝนที่ตกหนักและต่อเนื่อง ทำให้มีทั้งน้ำที่เอ่อท่วม น้ำป่าไหลหลาก และอ่างเก็บน้ำรับน้ำมากเกินไปจนกระทั่งคันกั้นน้ำแตก สร้างความเดือดร้อนทั้งในแง่ของการดำรงชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย

ซึ่งหากย้อนกลับไป เมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินเกิดขึ้นในลักษณะนี้ เรามักจะเห็นความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือผ่านระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ..2562 ข้อ 27 กำหนดให้การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ให้ใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด

160319039472

  • ภัยพิบัติหมายถึงอะไรบ้าง?

ในระเบียบกระทรวงการคลังฯ นี้ ระบุไว้ว่าคือสาธารณภัย ได้แก่

  • อัคคีภัย
  • วาตภัย
  • อุทกภัย
  • ภัยแล้ง
  • ภาวะฝนแล้ง
  • ฝนทิ้งช่วง
  • ภัยจากลูกเห็บ
  • ภัยอันเกิดจากไฟป่า
  • ภัยที่เกิดจากโรค หรือการระบาดของแมลง หรือศัตรูพืชทุกชนิด
  • ภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์
  • อากาศหนาวจัดผิดปกติ
  • ภัยสงคราม
  • ภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อการร้าย กองกำลังนอกประเทศ และอื่นๆ

  • "เงินทดลองราชการ" คืออะไร?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่าเงินทดรองราชการก่อน เพราะเป็นวงเงินที่จะนำมาช่วยเหลือผู้ที่ประภัยกรณีฉุกเฉินนั่นเอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำมาใช้ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในช่วงที่ยังไม่ได้รับเงินงบประมาณรายจ่ายเข้ามาช่วยเหลือ โดยแต่ละส่วนราชการจะมีเงินสำรองที่ต่างกัน ได้แก่

1.สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี 100 ล้านบาท

2.สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม 50 ล้านบาท

3.สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 10 ล้านบาท

4.สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 50 ล้านบาท

5.สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย  50 ล้านบาท

6.สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 10 ล้านบาท

7.กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 50 ล้านบาท

8.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด แห่งละ 20 ล้านบาท

แต่ถ้าเกิดกรณีภัยพิบัติฉุกเฉิน รมว.คลัง มีอำนาจในการอนุมัติให้ส่วนราชการอื่นมีวงเงินทดรองราชการลักษณะนี้ได้ หากวงเงินไม่พอ ส่วนราชการต่างๆ ก็สามารถขยายวงเงินเพิ่มเติมโดยตรงไปที่กระทรวงการคลังได้ และก็ต้องมีการรายงานให้นายกฯทราบด้วย ใครเป็นผู้ที่มีอำนาจอนุมัติบ้าง ก็ไล่เรียงตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ปลัดของแต่ละกระทรวง อธิบดี ปภ. ผู้ว่าราชการจังหวัด ไปจนถึงนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ

  • เงินทดรองราชการ เอาไปใช้กรณีไหนบ้าง?

1.ด้านการดำรงชีพ จะเป็นการช่วยเหลือสิ่งของหรือจ่ายเป็นเงิน

  • ค่าอาหารจัดเลี้ยง วันละไม่เกิน 3 มื้อ มื้อละไม่เกิน 30 วัน
  • ค่าถุงยังชีพ ชุดละไม่เกิน 550 บาท/ครอบครัว
  • ค่าจัดซื้อ/จัดหาน้ำสำหรับบริโภคและใช้สอยในที่อยู่อาศัย เท่าจ่ายจริงจนกว่าเข้าสู่ภาวะปกติ
  • ค่าจัดหาสิ่งของในการดำรงชีพเบื้องต้น (ที่อยู่ได้รับความเสียหายทั้งหลัง) เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาท/ครอบครัว
  • ค่าวัสดุซ่อมแซม/ก่อสร้างที่อยู่อาศัยประจำ เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 33,000 บาท/หลัง
  • ค่าวัสดุซ่อมแซม/สร้างยุ้งข้าว โรงเรือนเก็บพืชผล-คอกสัตว์ที่เสียหาย เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 5,000 บาท/ครอบครัว
  • ช่วยเหลือค่าเช่าบ้านกับผู้ประสบภัยที่เสียหายจนอยู่อาศัยไม่ได้ เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 1,700 บาท/เดือน ไม่เกิน 2 เดือน
  • ค่าดัดแปลงที่พักชั่วคราว เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 2,200 บาท/ครอบครัว หรือค่าผ้าใบ/อื่นๆ สำหรับกันแดดกันฝน เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ครอบครัว
  • ค่าใช้จ่ายที่ส่วนราชการจัดหาสาธารณูปโภคในที่พักชั่วคราว
  • ค่าเครื่องนุ่งห่ม ไม่เกิน 1,000 บาท/ราย
  • ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเงินทุน เท่าจ่ายจริง ไม่เกิน 11,000 บาท/ครอบครัว
  • ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
  • ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต ไม่เกิน 25,000 บาท/ราย หากเป็นหัวหน้าครอบครัว ช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัว ไม่เกิน 25,000 บาท/ครอบครัว
  • หากหนาวจัดผิดปกติ อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 3 วัน จ่ายค่าจัดซื้อเครื่องกันหนาวเท่จ่ายจริง ไม่เกิน 240 บาท/คน จังหวัดหนึ่งไม่เกินงบ 1 ล้านบาท/ปี

2.ด้านสังคมสงเคราะห์

  • ช่วยเหลือเงินเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤติกับนักเรียน นักศึกษา ที่ผู้มีรายได้หลักเสียชีวิต คนละ 500 บาท
  • จัดโครงการฝึกอาชีพระยะสั้น เท่าจ่ายจริง

3.ด้านการแพทย์ สาธารณสุข

  • จัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์อาหาร และเวชภัณฑ์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน
  • จัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน
  • จัดหาวัสดุในการเก็บตัวอย่างอากาศ

160319114352

4.ด้านการเกษตร การช่วยเหลือจะเป็นในรูปของตัวเงินอันดับแรกกับผู้ประสบภัยที่ขึ้นตามทะเบียนกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนก่อนเกิดภัยเท่านั้น

1) ด้านพืช

  • ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่พืชตาย หรือเสียหาย เป็นค่าพันธุ์พืชและค่าปุ๋ย ไม่เกิน 30 ไร่

        - ข้าว ช่วยเหลือ 1,113 บาท/ไร่

        - พืชไร่ ช่วยเหลือ 1,148 บาท/ไร่

        - พืชสวนและอื่นๆ 1,690 บาท/ไร่

  • ถ้าพบพื้นที่ทำการเพาะปลูก ถูกหิน ดิน ทราบ ไม้ โคลน ทับถมจนไม่สามารถเพาะปลูกได้ และหน่วยงานรัฐไม่สามารถช่วยเหลือได้ จะช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายแทน พื้นที่ไม่เกิน 5 ไร่ ราคาไม่เกินไร่ละ 7,000 บาท
  • หากประชาชนต้องการขนย้ายปัจจัยการผลิต/ผลผลิต ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 50% ของปัจจัยการผลิต/ผลผลิต
  • หากเกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืช จัดหาสารป้องกัน

2) ด้านประมง

  • หากสัตว์น้ำตาย/เสียหาย จะสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารสัตว์ วัสดุการประมง สารเคมี ยารักษาโรค

        - กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล ปูทะเล หอยทะเล ช่วยเหลือ 10,920 บาท/ไร่ ไม่เกิน 5 ไร่/ราย

        - ปลา/สัตว์น้ำอื่นเลี้ยงในบ่อดิน นาข้าว/ร่องสวน ช่วยเหลือ 4,225 บาท/ไร่ ไม่เกิน 5 ไร่/ราย

        - สัตว์น้ำเลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ ช่วยเหลือ 315 บาท/ตร.. ไม่เกิน 80 ตร..

3) ด้านปศุสัตว์

  • ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในการจัดหาพืช อาหารสัตว์ วัคซีนและเวชภัณฑ์รักษาสัตว์
  • ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สัตว์หาย หรือสูญหาย หรือแปลงหญ้าเสียหาย

4) ด้านการเกษตรอื่นๆ

  • ค่าใช้จ่ายปรับเกลี่ยพื้นที่ ไถพรวน ยกร่องการก่อสร้างคันดิน เพื่อประกอบการทำเกษตรที่บรรเทาความเดือดร้อน
  • ค่าซ่อมแซมอาคารและระบบชลประทานให้ใช้งานได้ในช่วงฉุกเฉิน
  • ค่าจ้างเหมารถยนต์ ค่าระวางบรรทุกทางรถไฟและเรือบรรทุกของเอกชน เพื่อใช้ในการขนย้ายสัตว์เลี้ยงที่ประสบภัย รวมถึงขนส่งอาหารสัตว์

160319133783

5.ด้านบรรเทาสาธารณภัย

  • จัดหาภาชนะรองน้ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำ
  • ซ่อมแซมภาชนะรองรับนำ้ที่ชำรุดเสียหาย
  • ซ่อมแซมสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติเพื่อคืนสู่สภาพเดิม (ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ)
  • จ้างเหมาะกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ

6.ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น

  • ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ของราชการและเอกชนที่มาช่วยเหลือโดยสมัครใจและไม่คิดมูลค่า
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง หล่อลื่น รวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้า สำหรับยานพาหนะเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องสูบน้ำ
  • หากเครื่องสูบน้ำหรือผลักดันน้ำไม่พอ และไม่สามารถขอความร่วมมือจากเอกชนได้ ให้เช่าหรือจ้างเหมาเครื่องสูบน้ำเท่าที่จำเป็นเร่งด่วน โดยจ่ายค่าเช่าเป็นรายวัน

1603190952100

  • ทำความรู้จักคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

แน่นอนว่าการช่วยเหลือต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา ทำให้แต่ละจังหวัด ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือภัยพิบัติขึ้นมา หน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุดคือ อำเภอหรือกิ่งอำเภอ ก็ต้องตั้ง .... และ ...กอ. ขึ้นมา หน้าที่หลักสำคัญก็คือ

1.สำรวจความเสียหายในอำเภอหรือกิ่งอำเภอ จัดทำบัญชีเป็นประเภท

2.ตรวจสอบและกลั่นกรองการขอความช่วยเหลือ

3.พิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์

4.ประสานงานและร่วมดำเนินการช่วยเหลือกับ .... และ ...กอ.อื่น

5.รายงานผลการสำรวจและการแก้ไขความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้ .... หรือในระดับจังหวัด

ส่วน ....ในระดับจังหวัดนั้น ก็จะตรวจสอบและกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านต่างๆ ตามที่อำเภอและกิ่งอำเภอสำรวจมา รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัย ระดมสรรพกำลัง ควบคุม เร่งรัด และประสานงาานหน่วยงานต่างๆ พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่าย รวมถึงทำโครงการของบประมาณสนับสนุนที่จำเป็นกับส่วนกลาง และรายงานความเสียหายจากภัยพิบัติ การแก้ไขความเดือดร้อน อีกทั้งประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ

ซึ่งเนื้อหาสำคัญการประกาศการให้ความช่วยเหลือต้องระบุชัดเจนถึงประเภทของภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน วัน/เดือน/ปี ที่เกิดและสิ้นสุด พื้นที่ที่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ รวมถึงประเภทของความเสียหายระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือต่างๆ เหล่านี้ สุดท้ายต้องมีการรายงานผลและตรวจสอบการรายงาน นอกจากนี้ยังมี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย" สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ถูกจัดขึ้นมาเพื่อรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยด้วย 

ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ "ภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข" อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ได้อาศัยอำนาจตามความข้อ 27 ของระเบียบดังกล่าว กำหนดหลักเกณฑ์ การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน สำหรับการดำเนินการช่วยเหลือในลักษณะที่จ่ายเป็นเงินมีการปรับปรุงบางรายการ เช่น ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหายเท่าที่จ่ายจริง จากเดิมหลังละไม่เกิน 33,000 บาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็นหลังละไม่เกิน 49,500 บาท ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.63 เป็นต้นไป

ที่มา : www.dla.go.th, www.ratchakitcha.soc.go.th, www.gcc.go.th,