Bank Sector (20 ต.ค.63)

Bank Sector (20 ต.ค.63)

ความเสี่ยงจากการถอนเงินฝากขนาดใหญ่

  • What’s new

ข่าวกลุ่มเยาวชนปลดแอกขู่ว่าให้มวลชนถอนเงินฝากจากธนาคาร

จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ได้แสดงความต้องการให้ นายกรัฐมนตรี ประยุทธ จันโอชา ลาออกจากตำแหน่งและให้สภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ สานนี้มีข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ว่ากลุ่มผู้ประท้วงขู่หากประยุทธ จันโอชา ไม่ลาออกจากตำแหน่งภายใน 20 ต.ค. 2020 กลุ่มผู้ประท้วงจะขอให้กลุ่มผู้สนับสนุนทั้งหมดถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารพร้อมๆกัน

 

  •  เล็กแต่ไม่เบา

จากความเสี่ยงจากการถอนเงินในปริมาณมาก การวิเคราะห์ของเรามองดังนี้:

  1. ธปท. ได้รายงานเงินฝากทั้งระบบที่ 15.3 ล้านลบ. โดยมีทั้งหมด 103 ล้านบัญชี ณ สิ้นไตรมาส 2Q20
  2. 99.9% ของบัญชีมีเงินน้อยกว่า 10 ลบ. ในบัญชี
  3. ขณะที่ 0.01% ของบัญชีทั้งหมดมีเงินฝากคิดเป็น 53% ของเงินฝากทั้งระบบ (ราว 8 ล้านลบ.)
  4. ข่าวคำขู่ของการถอนเงินมวลชนเมือวานนี้ อาจดูไม่เป็นอันตรายนักหากพิจารณาจากจำนวนผู้สนับสนุน (โดยเฉพาะเมื่อคนส่วนใหญ่เป็นเยาวชน)
  5. แต่ถ้าเราสมมติว่า ผู้ติดตามเฟสบุคกลุ่มเยาวชนปลดแอก (1.2 ล้านผู้ติดตาม) เป็นผุ้สนับสนุนที่จริงจังและถอนเงินพร้อมๆกัน อาจทำให้เกิดวิกฤตทางการเงินได้
  6. โดยประเทศไทยมี 83 ล้านบัญชี (รวมถึงบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหว) ที่มีเงินฝากน้อยกว่า 5 หมื่นบาน ในบัญชี
  7. เงินฝากจากบัญชีเหล่านี้ (น้อยกว่า 5 หมื่นบาท) มีมูลค่า 3.9 แสนลบ. แปลว่าเฉลี่ยแล้วจะมีเงินราว 4-5 พันบาทต่อบัญชี เมื่อคำนวนด้วยคนราวล้านกว่าคน หมายถึงอาจมีความเสี่ยงที่กลุ่มผุ้สนับสนุนที่จริงจังพร้อมถอนเงินราว 5 พันลบ.
  8. แต่ในกรณีที่แย่ที่สุดหาก บัญชีเล็กๆเหล่านี้ถอนเงินทั้งหมดรวมเกือบ 3.9 แสนลบ. ซึ่งคิดเป็นสองเท่าของเงินสดที่แบงก์หลังสำรองในช่วงปีใหม่และตรุษจีน (1.5-2 แสนลบ.) สภาพคล่องในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับการถอนเงินของมวลชน จากธนาคารหลัก 7 แห่งมีเงินสดอยู่ในมีราว 2.3 แสนลบ.
  9. โดย SCB, TMB และ KBANK มีโอกาสได้รับความเสี่ยงจากสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ (CASA) ที่สูงจากฐานเงินฝากรายย่อย ขณะที่ธนาคาร BBL มีฐานะการเงินที่พร้อมที่สุดหากมองในมุมนี้จากโครงสร้างเงินฝากและสภาพคล่อง