สอท.คาด ‘อีวี’ ปีหน้าโต 200% หนุนค่ายรถตัดสินใจลงทุน

สอท.คาด ‘อีวี’ ปีหน้าโต 200% หนุนค่ายรถตัดสินใจลงทุน

ส.อ.ท.คาดปี 2564 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทะลุ 2 พันคัน โตก้าวกระโดด 150% หนุนลงทุนผลิตเร็วขึ้น แนะรัฐเปิดมาตรการหนุนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม ขยายสถานีชาร์ตดึงดูดการลงทุน

นายสุรพงษ์  ไพสิฐพัฒนพงษ์  รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในขณะนี้ประเทศไทยมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตสูงขึ้นอย่างก้างกระโดด โดยในปี 2561 ใดยในปี 2561 มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้า138 คัน พอมาในปี 2562 มียอดขาย 802 คัน ขยายตัวถึง 481% และในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2563 มียอดขาย 1,842 คัน ขยายตัว 129% และคาดว่าสิ้นปี 2563 จะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 2,000 คัน หรือขยายตัวกว่า 150% และคาดว่ายอดขายในปี 2564 จะขยายตัวกว่า 200% ทำให้คาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นถึง 7,000 คัน หรือคิดเป็น 1% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศปีนี้ประมาณ 7 แสนคัน ได้ภายใน 3 ปีนี้ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีราคาลดลง และมีสถานีชาร์ตไฟฟ้ากระจายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคที่มีฐานะดียังคงมีกำลังซื้ออยู่สูง ส่วนใหญ่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นคันที่ 3 หรือ 4 ของบ้าน ทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจจะถดถอย แต่ยอดซื้อรถยนต์ไฟฟ้ากลับเพิ่มสูงขึ้น

โดย ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศก็ขยายตัวในระดับสูงเช่นเดียวกัน ทำให้คาดว่าการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือ บีอีวี จะเริ่มลงทุนเร็วกว่าที่กำหนด ซึ่งบริษัทรถยนต์ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ ในการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าบีอีวี ที่ปิดโครงการไปในปี 2562 จะต้องลงทุนตั้งโรงงานภายในปี 2565 ก็น่าจะเร่งรัดการลงทุนให้เร็วขึ้น คาดว่าจะเห็นการลงทุนจริงได้ภายในปี 2564 เพื่อรองรับความต้องการของตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ

“แม้กว่ายอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับยอดการผลิตเพื่อขายภายในประเทศช่วงที่ไม่มีภาวะโควิด-19 จะอยู่ที่ 1 ล้านคันต่อปี นับว่ายังมีสัดส่วนไม่มาก แต่การยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดก็จะทำให้มีการเร่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้ากันเร็วขึ้น และจะมีการลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญของรถบีอีวี ในประเทศไทยมากขึ้น”

160311238111

ทั้งนี้ มองว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าบีอีวี ขณะนี้ยังมีราคาแพง ซึ่งราคาต่ำสุดจะอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านบาท/คัน ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก แต่เชื่อว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นทุกปี ทำให้มีราคาลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งหากราคาลงมาแตะที่ระดับไม่เกิน 8 แสนบาทต่อคัน ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ก็จะทำให้มีการใช้รถบีอีวี กันอย่างแพร่หลาย 

สำหรับศักยภาพการดึงดูดการลงทุนรถบีอีวี ในไทย ถือได้ว่ามีศักยภาพสูงที่สุดในอาเซียน เนื่องจากการลงทุนผลิตรถบีอีวี จะต้องคำนึงใน 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ 1. รายได้ต่อหัวต่อคนจะต้องอยู่ในระดับสูง 2. แรงงานที่มีทักษะด้านการผลิตรถบีอีวีเพียงพอ และ3. มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง และมีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันคู่แข่งของไทย คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ยังมีปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้ห่างจากไทย โดยประเทศอินโดนีเซียมีรายได้ต่อหัว 3,800 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ประเทศเวียดนามมีรายได้ต่อหัว 2,300 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ส่วนประเทศมาเลเซียแม้วีรายได้ต่อหัวสูงกว่าไทย แต่ตลาดมีขนาดเล็กเพียง 32 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรไทย

ในขณะที่ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวเกือบ 8 พันดอลลาร์ต่อคนต่อปี ซึ่งแม้ว่าอินนีเซีย และเวียดนามจะมีประชากรมากกว่า แต่ตลาดของไทยมีกำลังซื้อมากกว่า ในด้านแรงงาน ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มานาน จึงมีการพัฒนาทักษะแรงงานด้านยานยนต์สูงกว่า แต่จะต้องเพิ่มทักษะด้านรถยนต์ไฟฟ้าไปด้วยจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าเวียดนาม กับอินโดนีเซียจะมีการเติบโตสูง แต่เป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำ ทำให้อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่ไทยแม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตต่ำ เป็นเป็นการโตจากฐานในระดับสูง และในแต่ละมีก็ยังคงมีอัตราการเติบโตที่สม่ำเสมอ รวมทั้งไทยยังเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และมีความหลากหลาย ดังนั้นปัจจัยที่กล่าวมานี้ทำให้ไทยยังมีแรงดึงดูดสูงในการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม อยากให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พิจารณาเปิดมาตรการส่งเสริมการลงทุนรถบีอีวี อีกครั้ง เพราะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนดีมาก เชื่อว่ายังมีบริษัทรถยนต์อีกหลายรายยังคงสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่ม รวมทั้งรัฐบาลควรจะเร่งส่งเสริมให้มีการขยายสถานีชาร์ตไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องของความปลอดภัย ความประหยัดของรถยนต์ไฟฟ้า และการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่ต้นเหตุ เพราะที่ผ่านมาประชาชนยังกังวลในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหากทำให้ในสิ่งเหล่านิ ก็จะเพิ่มยอดการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศได้มากขึ้น

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส่วนแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ไปศึกษาแนวทางการลดภาษีนำเข้ารถบีอีวี ทั้งคัน เพื่อส่งเสริมให้มีราคาต่ำลงเกิดการใช้แพร่หลายภายในประเทศนั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เกิดการลงทุนผลิตรถบีอีวี และชิ้นส่วนภายในประเทศได้ยาก ดังนั้นรัฐบาลควรเดินหน้าตามแผนเดิมที่เปิดให้บริษัทรถยนต์ที่ได้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในไทยมีโควต้านำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าในอัตราภาษีต่ำ แต่จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จะผลิต เพื่อทดลองและสร้างความมั่นใจให้กับตลาด ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และรถบีอีวี ในไทยอย่างยั่งยืน และคงความเป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ในอาเซียนในระยะยาว