Rebound ตามภูมิภาค

Rebound ตามภูมิภาค

ศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีปรับตัวลงกว่า 9.28 จุด คล้ายกับตลาดหุ้นภูมิภาค ประกอบกับมีปัจจัยการเมืองในประเทศยังเป็นประเด็นที่กดดันตลาดอย่างต่อเนื่อง

ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,233.68 จุด -9.28 จุด -0.75% มูลค่าการซื้อขาย 4.46 หมื่นลบ. ต่างชาติ -480.00 บาท TFEX -21,025 สัญญา ตราสารหนี้ +1,647 ลบ. โดยทั้งสัปดาห์ดัชนีปรับตัวลดลง 33.46 จุด หรือ -2.64%

ปัจจัยบวก

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 112.11 จุด +0.39% ขานรับการเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนก.ย.ของสหรัฐที่ดีเกินคาด และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นในเดือนต.ค. ในรอบสัปดาห์ดัชนีดาวโจนส์ +0.1%
+นางเพโลซีประธานสภาฯสหรัฐคาดมาตรการกระตุ้นศก.สหรัฐคืบหน้าหนุนดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดีดตัว
+ เงินบาทเปิดทรงตัว 31.19 รอความชัดเจนจากปัจจัยใน-นอกประเทศ
+เช้านี้ตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่อยู่ในแดนบวก ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเช้าเปิด +133.06 จุด รับดาวโจนส์พุ่ง เยนอ่อนหนุนหุ้นส่งออก

ปัจจัยลบ

-ราคาน้้ามันดิบ WTI ปิดลดลง 8 เซนต์ -0.2% ปิดที่ 40.88 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลการแพร่ระบาดครั้งใหม่ของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศแถบยุโรปท้าให้ต้องประกาศมาตรการล็อกดาวน์อีกรอบ ในรอบสัปดาห์ +0.7%
-พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากในประเทศวันเสาร์-อาทิตย์รวม 5 ราย ขณะที่โซนยุโรปพบการระบาดรอบสองรุนแรง ฝรั่งเศส-อิตาลีพบติดเชื้อเพิ่มท้าสถิติใหม่รายวันสูงสุด
-วุฒิสภาสหรัฐเตรียมโหวตร่างเยียวยาโควิดวงเงิน 3 แสนดอลลาร์ วันพุธนี้ วงเงินน้อยกว่าวงเงินราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ที่พรรคเดโมแครตเสนอ
-สหรัฐมียอดขาดดุลงบประมาณพุ่งขึ้นมากกว่า 3 เท่าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.13 ล้านล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2563 จากการเยียวยาผลกระทบทางศก.จากการแพร่ระบาดของโควิด-19
-มูดี้ส์หั่นเครดิตอังกฤษจากโควิด-Brexit กระทบแนวโน้มเศรษฐกิจ
-การเมืองยังคงมีความไม่แน่นอนจากการชุมนุมทางการเมืองในสถานการณ์ฉุกเฉิน

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาส Rebound ตามทิศทางตลาดภูมิภาค จากข่าวบริษัทไฟเซอร์อาจยื่นขออนุมัติการใช้วัคซีนต้านโรคโควิด-19 ภายในเดือนหน้า ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศ หลังจากมีม็อบดาวกระจายที่มีทั้งกทม.และต่างจังหวัด คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,225-1,245 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

• หุ้นที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q20 เติบโตต่อเนื่อง WICE XO TACC SPVI
• ค่าการกลั่นฟื้นตัวและราคาน้้ามันปรับตัวขึ้น TOP SPRC ESSO
• หุ้นกลุ่ม Laggard โรงไฟฟ้า GPSC EGCO กลุ่มสื่อสาร ADVANC

หุ้นรายงานพิเศษ

 NER  - (IAA Consensus 4.10 - 5.00 บาท)

เราคาดว่าแนวโน้มรายได้ในช่วง 3Q-4Q63 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง QoQ โดยมีปัจจัยดังนี้

(+) ทิศทางความต้องการยางพาราที่ประเทศจีนฟื้นตัว หลังจากยอดขายรถยนต์จีนพุ่ง 7.4%YoY ในเดือนก.ย.

(+) โรงงานใหม่เริ่มดาเนินการแล้วเมื่อเดือน มิ.ย.63 ที่ผ่านมาช่วยเพิ่มกาลังการผลิตอีก 172,800 ตัน/ปี หรือ 43,200 ตัน/ไตรมาส ทาให้ตั้งแต่ 3Q63 เป็นต้นไป บริษัทมีกาลังการผลิตรวมเท่ากับ 465,600 ตัน/ปี หรือ 116,400 ตัน/ไตรมาส

(+) สืบเนื่องจากโรงงานใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ มาพร้อมกับลูกค้าที่รอซื้อสินค้าอยู่แล้ว คือ บริษัท Triangle Tire และ หลินหลง ประกอบกับมี Trader รายอื่นๆ ที่ยังมีความต้องการซื้อเพิ่มจากเดิม ทาให้คาด %U.rate รวมจะอยู่ที่ระดับราว 90% เดิมเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 85-90%

(-/+) คาด %GPM ใน 3Q63 อาจอ่อนตัวลงสู่ระดับ 10-11% (จาก 2Q63 อยู่ที่ระดับ 12.3%) เนื่องจากราคายางพาราในช่วงที่ทาสัญญาขายอ่อนตัวลง 4% เนื่องจาก Demand ที่ชะลอในช่วง Covid-19 แต่ฟื้นตัวใน 4Q63 ซึ่งคาดว่าจะ %GPM จะกลับมาแตะระดับ 12%

(-/+) แนวโน้ม Net Profit ใน 3Q63 อาจถูกกดดันจากค่าเสียหายจากโรงงานไฟไหม้ราว 30 ลบ. แต่จะถูก Reverse กลับใน 4Q63 เนื่องจากบริษัททาประกันภัยโรงงานและสินค้าไว้ นอกจากนี้ ใน 3Q63 อาจมี FX loss ราว 17 ลบ

(+) ส่วน Core Profit ในช่วง 3Q-4Q63 จะเติบโตราว 30% ต่อไตรมาส โดยเราคาด Core Profit ทั้งปี 63 ราว 859 ลบ. +89%YoY ส่วน Net Profit ราว 746 ลบ. +38%YoY

(+) ปัจจัยหนุนปี 64 มาจาก Demand ยางพาราที่เพิ่มขึ้น ทาให้ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้คาด %GPM จะยังคงอยู่ในระดับสูงที่มากกว่า 12% ประกอบกับรับรู้รายได้จากกาลังการผลิตใหม่เต็มปี

หุ้นมีข่าว

(+) PTG (Bloomberg Consensus 20.93 บาท) บุ๊กส่วนแบ่งก้าไรจาก “ปาล์มคอมเพล็กซ์” เพิ่มขึ้น หลังปีนี้ด้าเนินการผลิตเต็มปี คาดรายได้ทั้งปีกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท เตรียมน้า PPPGC เข้าตลาดหุ้นระดมทุนขยายปาล์มคอมเพล็กซ์ เฟส 2 ดันก้าลังผลิตไบโอดีเซลพุ่ง 1 ล้านลิตร/วัน (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) DTAC (Bloomberg Consensus 41.49 บาท) แจ้งงบไตรมาส 3/63 มีก้าไรสุทธิ 1,436 ล้านบาท ลดลง 18.3% หลังค่าเสื่อมราคาและค่าจัดจ้าหน่ายสูงขึ้น รายได้บริการลดลง 7.6% เหลือ 14,375 ล้านบาท เหตุโควิด-19 ส่งผลยืดเยื้อต่อสภาพเศรษฐกิจ และระบบเติมเงินแข่งขันรุนแรง ปรับเป้ารายได้ปี 63 เป็นติดลบหลักเดียวระดับกลาง จากติดลบหลักเดียวระดับต่้า (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) BGC (Bloomberg Consensus 14.38 บาท) ทุ่มงบเกือบ 4 พันล้านบาท ซื้อ 3 บริษัทจากผู้ถือหุ้นใหญ่ "บางกอกกล๊าส" หนุนธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรมากขึ้น แถมมีฐานลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น พร้อมเพิ่มทุนเสนอขายกับผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 0.35294 หุ้นใหม่ ในราคาเสนอขายหุ้นละ 10.20 บาท พ่วงวอร์แรนต์ให้กับผู้ที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ด้านโบรกมองเป็นลบ คาดยังไม่ได้รับประโยชน์การซื้อกิจการมากนัก เหตุหนึ่งในบริษัทที่ซื้อยังมีผลประกอบการที่ขาดทุน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SEAFCO (Bloomberg Consensus 7.41 บาท) รับงานใหม่ 2 โครงการในเดือนตุลาคม รวมมูลค่า 110 ล้านบาท โค้งส่งท้ายเร่งส่งมอบเต็มสูบ รุกโครงการมาร์จิ้นสูง ขณะที่อยู่ระหว่างประมูล 4,000-5,000 ล้านบาท คาดได้งานประมาณ 30-33% เติมยอด Backlog ที่มีอยู่กว่า 2,500 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตา

  ในประเทศ

19 ต.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

20 ต.ค. ประชุมครม.สัปดาห์ที่ 4 ก.พาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-น้าเข้า สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค และดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคสศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม

28 ต.ค. ศาลรธน.นัดชี้ชะตาสถานะส.ส.กรณีถือหุ้นสื่อ

30 ต.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจ

  ต่างประเทศ

19 ส.ค. จีนเปิดเผย GDP 3Q63 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย. ยอดค้าปลีกเดือนก.ย. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนก.ย. และอัตราว่างงานเดือนก.ย. สหรัฐเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนต.ค.

20 ต.ค. ธนาคารกลางจีนก้าหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ประจ้าเดือนต.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนก.ย. สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ย.

21 ต.ค. สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้้ามันรายสัปดาห์ รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) (เช้าวันที่ 22 ต.ค.)22 ต.ค. ดีเบตผู้เข้าชิงต้าแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ สหรัฐ เปิดเผยจ้านวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. และดัชนีชี้น้าเศรษฐกิจเดือนก.ย.

23 ต.ค. อียู เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้น- ภาคบริการขั้นต้นเดือนต.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้น-ภาคบริการขั้นต้นเดือนต.ค.