ปัญหาการศึกษาไทย กรณีรับจ้างทำการบ้าน

ผ่าปัญหา "การศึกษาไทย" ผ่านกรณีการรับจ้างทำการบ้าน ทำรายงาน หรือทำวิจัยที่มีการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาในโซเชียลมีเดีย จนเกิดการตั้งข้อสงสัยว่าเพราะอะไร รวมถึงผลกระทบจากการบ้านที่นักเรียนได้รับจากโรงเรียน
กลับมาเป็นประเด็นในสังคมอีกครั้ง เมื่อเทรนด์ #รับจ้างทำการบ้าน ติดกระแสออนไลน์ในทวิตเตอร์เมื่อไม่นานนี้
ในปัจจุบันแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทยนั้น นอกจากจะส่งผลบวก คือ เชื่อมโลกเชื่อมไทยเข้าด้วยกันแล้ว ยังเป็นช่องทางที่เอื้อประโยชน์ทางการค้า ทั้งสินค้าบริการที่สุจริตและสินค้าบริการสีเทา ตั้งแต่การพนัน การค้าประเวณี หรืออย่างกรณีล่าสุดคือ ธุรกิจรับจ้างทำการบ้าน
ข้อมูลเชิงปริมาณชี้ว่า ในไทยนั้นมีคนใช้โซเชียลมีเดียกว่า 52 ล้านคน โดยที่ Facebook และ Youtube ยังคง อันดับแรกๆ และตามมาด้วย Line, Facebook Messenger, Instagram และ Twitter
แต่หากมองข้อมูลเชิงคุณภาพ จะพบว่าแพลตฟอร์มที่หลากหลายนั้นเป็นที่นิยมของคนในแต่ละวัยอย่างแตกต่างกัน อาทิ ไลน์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในเกือบทุกกลุ่มตั้งแต่วัยรุ่นจนกระทั่งวัยเกษียณ เช่นเดียวกับเฟซบุ๊ค ขณะที่ยูทูบ อินสตาแกรม และทวิตเตอร์นั้นเป็นที่นิยมมากกว่าในกลุ่มวัยรุ่น
ทวิตเตอร์นั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่น เพราะสามารถรักษาความเป็นส่วนตัว ดังนั้นจึงสามารถแสดงเสรีภาพในทางความคิดและการแสดงออกได้อย่างเต็มที่ และยังมีการทำ # (แฮชแท็ก) เพื่อเป็นข้อมูลให้ระบบจัดทำสถิติเพื่อจัดเป็นความนิยมเพื่อการประชาสัมพันธ์ ทั้งในทางการค้าและบริบทอื่นๆ เมื่อมีคนมากดไลก์หรือรีทวีต (แชร์ซ้ำ) และรวบรวมจนเป็นกระแสสูงสุดของแต่ละวัน
การรับจ้างทำการบ้าน ทำรายงานหรือทำวิจัยนั้น ไม่ใช่ปัญหาใหม่ของสังคม การศึกษาไทย แต่กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อมีการประกาศรับจ้างอย่างเปิดเผย ท้าทายให้สังคมคิดตามถึงที่มา เหตุผล และผลกระทบของการบ้าน และงานต่างๆ จากโรงเรียนในไทย
หากพูดถึงนักเรียนในโรงเรียนโดยทั่วไป นักเรียนในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉลี่ยนั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับความเครียดจากการบ้าน บทความและงานวิจัย มากกว่านักเรียนในแถบอเมริกาและยุโรป เพราะทัศนคตินิยมในการศึกษา กระแสหลักและวิชาการที่เข้มข้น ดังนั้นปัญหาปริมาณงานที่มากล้นนี้เกิดขึ้น ในทุกช่วงชั้นตั้งแต่ประถมจนถึงอุดมศึกษา จนทำให้เกิดช่องว่างในทางธุรกิจ ที่มาเติมเต็มความต้องการที่จะลดภาระและความเครียดตรงนี้
แต่หากพูดถึงโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีชื่อที่อยู่ทั้งในยุโรปและอเมริกาก็มีการบ้าน รายชื่อหนังสือที่ต้องอ่าน การเขียนบทความและงานวิจัยที่ไม่น้อยเช่นเดียวกับโรงเรียนในเอเชีย เพราะต้องการรักษาคุณภาพการเรียนการสอนและฝึกฝนนักเรียนนักศึกษาของสถาบัน
สิ่งที่แตกต่างของระบบการศึกษาในไทยกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาคือ ความโปร่งใสของการเรียนการสอน และระบบโปรแกรม การกลั่นกรองเพื่อป้องกันการทุจริต
ดังนั้นทั้งนักเรียนและครูจึงจะต้องมีความสุจริตและขยันในการทำ/ตรวจ การบ้าน/รายงาน ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศจึงอนุญาตให้เข้าถึงข้อสอบเก่า เป็นต้น ดังนั้นนักศึกษาจึงสามารถคาดการณ์หรือประมาณความยากง่าย รวมไปถึงสไตล์การออกข้อสอบของอาจารย์ ขณะที่อาจารย์ก็ไม่สามารถขี้เกียจ และเอาข้อสอบเดิมๆ มาใช้ทุกปีได้
ระบบการตรวจข้อสอบและรายงานก็จะมีเกณฑ์ที่ชัดเจน และมีผู้ตรวจข้อสอบ ที่เป็นกลาง และมีโปรแกรมเพื่อตรวจเช็คการลอกหรือเขียนซ้ำ (Plagiarism) ทั้งจากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งอื่นๆ อย่างโปรแกรม Turnitin ที่จะระบุถึง % ของประโยค หรือข้อความที่ซ้ำจากแหล่งอื่นที่มีคนเขียนแล้ว หมายความว่าถ้ามี % ที่สูง ก็มีแนวโน้มที่จะลอกเลียนมาจากแหล่งอื่นสูง
เครื่องมือที่สามารถป้องกันการทุจริตจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าทัศนคติต่อการทุจริต นักเรียน ครู และผู้บริหารโรงเรียนสามารถเปิดตายอมรับปัญหา ในระบบการศึกษาจากกรณีจ้างทำการบ้าน เปิดปากคุยกันถึงปริมาณการบ้าน ที่เหมาะสม เปิดใจเรียนรู้จากปัญหานี้และเรียนรู้แก้ไขปัญหาอื่นๆ ต่อไป เพื่อสร้างเยาวชนที่ทั้งเก่งและดีแก่ประเทศชาติของเรา
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
‘เราชนะ’ ลุ้นวันนี้! เงื่อนไขสำคัญ ลงทะเบียน www.เราชนะ.com รับเงินเยียวยาโควิดรอบใหม่
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก เคยถูกตัดสิทธิ 14 วัน ลงได้อีกหรือไม่?
'ตลาดหุ้น' ที่ไหนจะรุ่ง ที่ไหนจะร่วง ในปี 2021
เปิดเหตุผล 'เราชนะ' จ่ายเยียวยา โควิดรอบใหม่กระทบพื้นที่เศรษฐกิจ 75%