สถานการณ์อุทกภัยต่อเนื่อง 25 จังหวัด และน้ำท่วมขัง 11 จังหวัด

สถานการณ์อุทกภัยต่อเนื่อง 25 จังหวัด และน้ำท่วมขัง 11 จังหวัด

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ในพื้นที่ 25 จังหวัด รวม 86 อำเภอ 241 ตำบล 849 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,273 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย (จันทบุรี) บาดเจ็บ 3 ราย (สิงห์บุรี)

18 ต.ค. 63 เวลา 9.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ในพื้นที่ 25 จังหวัด รวม 86 อำเภอ 241 ตำบล 849 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,273 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย (จันทบุรี) บาดเจ็บ 3 ราย (สิงห์บุรี)

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 11 จังหวัด ดังนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี แม่น้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง นครราชสีมา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ 46 ตำบล 124 หมู่บ้าน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปักธงชัย อำเภอโชคชัย อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย และอำเภอสีคิ้ว สถานการณ์ภาพรวมระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอโคกสูง อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ รวม 21 ตำบล 72 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 473 ครัวเรือน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอพระแสง รวม 5 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 300 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ตรัง น้ำจากคลองนาน้อยและคลองชีล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง อำเภอปะเหลียน และอำเภอย่านตาขาว รวม 38 ตำบล 161 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,472 ครัวเรือน ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง และอำเภอกันตัง ระดับน้ำลดลง สตูล น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละงู อำเภอท่าแพ อำเภอควนโดน อำเภอมะนัง อำเภอเมืองสตูล และอำเภอทุ่งหว้า รวม 20 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,178 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละงู อำเภอท่าแพ และอำเภอเมืองสตูล ระดับน้ำลดลง และนครศรีธรรมราช น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ ทุ่งใหญ่ อำเภอช้างกลาง อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอนาบอน รวม 7 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 483 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอช้างกลาง ระดับน้ำลดลง

ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบน รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง นครปฐม น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนตูม และอำเภอกำแพงแสน รวม 11 ตำบล 96 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทล 30 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง กาญจนบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่ามะกา และอำเภอ ห้วยกระเจา รวม 6 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง อุทัยธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่าง ประชาชนได้รับผลกระทล 44 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง และสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ