เตือน !! เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมขัง

 เตือน !! เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมขัง

กอนช. เตือน ดีเปรสชชั่น17-18 ต.ค.นี้ ฝนตกหนักทุกภาค

 นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ในฐานะ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ตาม ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 5 ลงวันที่  16 ตุลาคม 2563 แจ้งว่า พายุดีเปรสชัน (ระดับ 2) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า
จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ในช่วงวันที่ 17 - 18 ต.ค. 63 ประกอบกับร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งนั้น 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามฝนคาดการณ์และปริมาณตกที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีพื้นที่เสี่ยง ในช่วงวันที่ 16-22 ตุลาคม 2563 ดังนี พื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเกินระดับเก็บกัก คาดว่าจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณตำบลลำนางแก้ว ตะขบ สุขเกษม งิ้ว นกออก ดอน ตูม บ่อปลาทอง และเมืองปัก อำเภอปักธงชัย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา อำเภอคูเมือง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา พื้นที่น้ำล้นตลิ่ง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมาสระแก้ว สุราษฎร์ธานี ตรัง และสตูล ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนัก ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการอพยพ
และเคลื่อนย้ายสิ่งของได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ 

พิจารณาความเหมาะสมในการบริหารน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ การจัดจราจรน้ำบริเวณลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล เพื่อให้ระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้อย่างสะดวก รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ ๙๐ หรือเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อเป็นแก้มลิง
ในการหน่วงน้ำ
และรองรับน้ำหลาก

ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ
ระบบชลประทานต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ตลอดจนสำรวจและกำจัดสิ่งกีดขวาง
ที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ  จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พร้อมด้วยเครื่องจักรเครื่องมือ ดูแลบำรุงรักษา                   ระบบสื่อสารหลักให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และจัดเตรียมระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการ
ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน

  

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน  กล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุ “นังกา” ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังนครราชสีมา เป็นจำนวนมากเมื่อคืน (15 ต.ค. 63) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบัน (16 ต.ค. 63) เมื่อเวลา 06.00 น. อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิงมีปริมาณน้ำเต็มอ่างฯอยู่ในระดับเก็บกัก 155 ล้าน ลบ.ม. ( 100 % ของความจุอ่างฯ)มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ รวมประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม. และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง ได้ทำการระบายน้ำผ่านคลองธรรมชาติ และทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน( Spillway )รวมประมาณ 3 ล้าน ลบ.ม.

160283797216

ทั้งนี้ ได้แจ้งเตือนพื้นที่ด้านอ่างฯแล้ว จึงขอให้ประชาชนที่อาศ้ยอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมตลิ่ง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังได้ประสานหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชน ห้างร้าน ที่อยู่ริมตลิ่งให้ขนของขึ้นที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น