โควิดฉุด‘อุตฯกองทุน’วูบ ‘9เดือน’ติดลบหนัก11%

โควิดฉุด‘อุตฯกองทุน’วูบ  ‘9เดือน’ติดลบหนัก11%

“มอร์นิ่งสตาร์”เผย 9 เดือน เอยูเอ็ม อุตสาหกรรมกองทุนติดลบ 11.6% อยู่ที่ 4.8 ล้านล้าน จากปีก่อนที่ 5.4 ล้านล้าน เหตุพิษโควิดนักลงทุนแห่ขายกองทุนตราสารหนี้ คาดทั้งปีนี้ยังหดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากหุ้นไทยไร้ปัจจัยหนุน-นักลงทุนหันลงทุนนอก

นางสาวชญานี จึงมานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ซ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมานี้ (ณ ก.ย.2563) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (AUM) จำนวน 4.8 ล้านล้านบาท ติดลบ 11.6 % จากสิ้นปี2562 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ จำนวน 5.4 ล้านล้านบาท และเป็นเงินไหลออกสุทธิ 3.4 แสนล้านบาท เนื่องจากเงินไหลออกมาในปริมาณมากจากกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยมีเงินไหลออกสูงสุดใน 3 กลุ่มกองทุนกลุ่ม คือ Foreign Investment Bond Fix Term ที่ 1.85 แสนล้านบาท, Flexible Bond ที่ 1.83 แสนล้านบาท และ Short Term Bond ที่ 1 แสนล้านบาท ขณะที่มีเงินไหลเข้าในระดับแสนล้านบาทเพียงกองเดียว คือ กองทุนกลุ่ม Money Market ที่ 1.73 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตามแนวโน้ม AUM ของภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนไทยจนถึงสิ้นปีนี้คาดว่าหดตัวจากสิ้นปีก่อน โดยน่าจะยังเป็นตัวเลขติดลบสูงสุดครั้งแรกในไทย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีเพียงครั้งเดียวที่หดตัวแต่ไม่ติดลบเท่าปีนี้เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญและตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยบวก ประกอบกับไม่มีหุ้นเทคโนโลยีเหมือนในต่างประเทศ รวมถึงกระแสเงินทุนต่างชาติที่ยังไหลออกต่อเนื่อง ส่วนทางด้านภาวะการลงทุนที่ยังมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง ทำให้ผู้ลงทุนจะยังคงโยกย้ายเงินไปที่ตราสารเสี่ยงต่ำต่อเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานี้ โดยจะเห็นได้ว่าเงินไหลเข้ากองทุนตลาดเงินและเน้นการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก เนื่องจาก แพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยบวก และไม่มีหุ้นเทคโนโลยีเหมือนในต่างประเทศ และกระแสเงินทุนต่างชาติยังไหลออกต่อเนื่อง

ทางด้านภาวะการลงทุนที่ยังมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง ทำให้ผู้ลงทุนจะยังคงโยกย้ายเงินไปที่ตราสารเสี่ยงต่ำต่อเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานี้ โดยจะเห็นได้ว่าเงินไหลเข้ากองทุนตลาดเงินและเน้นการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก

ทั้งนี้หากดูภาพรวมประเภทสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนสูงสุด 3 อันดับ ในช่วง 9 เดือน 2563  คือ 1.“กองทุนหุ้นเทคโนโลยี” (Global Technology) มีผลตอบแทนเฉลี่ยสะสม 28.8% และสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ 41.2% ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่ช่วยพยุงพอร์ตการลงทุนได้ในช่วงที่ผ่านมา  รองลงมาเป็น “กองทุนหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์" (Global Health Care)  มีผลตอบแทนเฉลี่ยสะสม 11.62% และในรอบ 1 ปีที่ 28.83% เป็นอีกกลุ่มที่อาจได้รับกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่ในเชิงบวกจากความคืบหน้าการผลิตวัคซีน และด้านการเลือกตั้งในสหรัฐนั้นอาจยังไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายนักและ “กองทุนทองคำ” (CommoditiesPrecious Metals) โดยในช่วง 9 เดือนแรกมีผลตอบแทนเฉลี่ยสะสม 25.29% และในรอบ 1 ปีที่ 25.87% แม้ราคาทองคำในตลาดโลกอาจมีการปรับตัวลงมาบ้างในไตรมาสล่าสุด แต่กองทุนทองคำยังถือว่าหุ้นผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดี ในขณะที่กองทุนผสม ตราสารทุน หรือตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ค่อนข้างต่ำ