หุ้น 'อิเล็กทรอนิกส์' เนื้อหอม ไล่ราคาดันมูลค่าแพงยกกลุ่ม

หุ้น 'อิเล็กทรอนิกส์' เนื้อหอม ไล่ราคาดันมูลค่าแพงยกกลุ่ม

หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นแท่นฝ่ากระแสเศรษฐกิจและโควิด -19 ทำเพอร์ฟอร์แมนซ์ (Preformance) โดดเด่นตั้งแต่เดือน ก.ย. จนทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ร้อนแรงตามไปด้วย

อานิสงค์ยอดคำสั่งซื้อที่ฟื้นตัวจากต่างประเทศบวกกับไลฟ์สไลต์ในยุคนิว นอมอล ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเว้นระยะห่างทางสังคมป้องกันการแผร่ระบาดโรคต่างๆ

ตัวเลขส่งออกเดือนส.ค.ที่ออกมาล่าสุด แม้จะลดลง 7.9 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนส่งผลทำให้ 8 เดือนแรกลดลง 7.8 % สินค้าเกี่ยวข้องกับกลุ่มรถยนต์ เครื่องจักร ยางพารายังหดตัวต่อเนื่อง

สวนทางกับสินค้าและอุปกรณ์เกี่ยวข้องการทำงานจากบ้าน (work from home) และเครื่องใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนกลับยังส่งออกได้ดี และมีตลาดที่ยังเติบโตเป็นบวกคือสหรัฐ บวกกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ไม่ได้ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงทำให้หุ้นในกลุ่มนี้ซึ่งเน้นส่งออกเป็นหลักอยู่แล้วได้รับคาดหวังการฟื้นตัวในครึ่งปีหลังต่อเนื่อง

ยิ่งหุ้นที่มีโอกาสผลประกอบการแข็งแกร่งกว่าครึ่งปีแรก โดยได้ประโยชน์จากภาคการผลิตทั่วโลกที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ 

ส่วนราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงต่อเนื่องยกให้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ราคาหุ้นขยับขาขึ้นตั้งแต่บริษัทประกาศงบไตรมาส 2 ปี 2563 ออกมา 14,491 ล้านยาท เพิ่มขึ้น 4.1 % มีกำไร 2,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132.7 % ส่งผลทำให้6 เดือนแรก มีรายได้ 27,637 ล้านบาท และกำไร 2,878 ล้านบาท

สิ่งที่น่าสนใจคือกำไรขั้นต้น ในไตรมาส 2 มีจำนวน 3,892ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.4 % จากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน และ 50.5 % จากไตรมาสก่อน จากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล cloud (cloud storage) และศูนย์ข้อมูล (data center) ส่งผลให้ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์(product mix) เปลี่ยนไปและมีผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้สูงขึ้น

ราคาหุ้นจากช่วงปลายเดือน ก.ค. 53.75 บาท ราคาพุ่งรับข่าวจนทำราคานิวไฮต่อเนื่องทะลุ 200 บาท (8 ต.ค.) หรือราคาเพิ่มขึ้น 146.25 บาท 272 % เนื่องจากยังลุ้นตัวเลขสถิติต่อเนื่องในไตรมาส 3 และ 4

และยังเป็นการดึงแรงซื้อมายังกลุ่มนี้ด้วย หุ้น บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (KCE) ราคาหุ้นเป็นขาขึ้นเช่นกัน จากช่วงเวลาเดียวกัน 22.80 บาท ทำราคาสูงสุดที่ 35.25 บาท (8 ต.ค.) แม้ว่ากำไรไตรมาส 2 ปี2563 อยุ่ที่ 71 ล้านบาท ลดลง 55% จากปีก่อน และ 83% จากไตรมาสก่อน จากการปิดสายการผลิตบริษัทย่อยเพื่อลดต้นทุน

หากแต่บริษัทมีจุดเด่นที่การบริหารจัดการต้นทุนให้ลดลงได้ต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง จากอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 18.2% เทียบกับปีก่อนที่ 19% แต่ได้แต่ได้ปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และราคาทองแดงที่ลดลง 4 -17% จากปีก่อน

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หุ้นกลุ่มอิเล็กโทรนิกส์ ทั้ง KCE และ HANA จะไม่ได้มีกำไรไตรมาส 2/63 สดใสมากๆ เหมือน DELTA แต่คาดว่าไตรมาส 3 ปี 2563 จะเริ่มเห็นการฟื้นตัว 

กรณี DELTA ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล cloud (cloud storage) และศูนย์ข้อมูล (data center) รวมทั้งเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง

ในกรณี KCE คาดว่าผลประกอบการน่าจะต่ำสุดและเป็นขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 โดยประมาณการยอดขายรูปดอลลาร์ลดลง 30% จากปีก่อน และ ติดลบ 36% จากไตรมาสก่อน เป็น 67 ล้านดอลลาร์ เพราะสหรัฐและยุโรปมีการ Lockdown ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.ด้านอัตรากำไรขั้นต้นหดตัวเหลือ 16% จาก 19% และจาก 24% ในไตรมาส 1 ปี2563 เพราะผลิตน้อยลงทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยสูงขึ้น 

ส่วน HANA ธุรกิจยากลำบากรายได้ลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และอัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาสลดลง เนื่องจาก Economy of scale ลดลง