ชลประทานพิษณุโลก เผย ปีนี้ปริมาณฝนมีน้อย งดทำนาต่อเนื่อง

ชลประทานพิษณุโลก เผย ปีนี้ปริมาณฝนมีน้อย งดทำนาต่อเนื่อง

ชลประทานพิษณุโลก เตือนเกษตรกรให้งดทำนาต่อเนื่อง เหตุปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์น้อย น้ำทำการเกษตรไม่เพียงพอ อาจพบ "ภัยแล้ง" เทียบเท่าปี 2558

ชลประทานพิษณุโลก เผยปีนี้ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์น้อย เหตุประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค - ส.ค 2563 ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักน้อยลง แนวโน้มสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงภัยแล้ง ขอความร่วมมือเกษตรงดทำนาต่อเนื่อง และขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ช่วยประหยัดน้ำในทุกกิจกรรม

นายชำนาญ ชูเที่ยง ผอ.โครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำปัจจุบัน และแนวโน้มสถานการณ์น้ำ ในปี 2564 ดังนี้ ในแต่ละปี เรามีช่วงฤดูฝน 5 เดือน ประมาณ 150 วัน (เริ่ม 18 พค-20 ตค 63) และ ฤดูแล้ง 7 เดือน ประมาณ 215 วัน(1 พ.ย- ประกาศเข้าฤดูฝน) ในปีนี้ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์น้อย เทียบเท่าปี 2558 และ 2562 ที่ประสบภาวะภัยแล้งรุนแรง โดยในปีนี้ ฝนสะสมปริมาณ 960 มม. ต่ำกว่าค่าฝนสะสมเฉลี่ย ของ พิษณุโลก 1,317 มม. อยู่ประมาณ 25-30%

เหตุฝนน้อย เนื่องจากประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน ตั้งแต่ ปลายเดือน พ.ค จนถึง กลางเดือน ส.ค และ เริ่มมีฝนชุก ตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค-ก.ย-ตค ซึ่งภาวะฝนน้อยส่งผลถึงปริมาณน้ำท่า และ น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล, สิริกิติ์, แควน้อย,ป่าสัก) น้อยลงด้วย

160230476962

โดยปัจจุบัน ปริมาณน้ำใช้การ 4 เขื่อนหลักของลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัด มีน้ำเก็บกัก 11,768 ล้าน ลบ.ม. (47%) เป็นน้ำที่ใช้การได้ 5,072 ล้าน ลบ.ม. (28%) ซึ่งต่ำกว่าปี 62 ที่วันเดียวกันนี้ มีน้ำ 5,444 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งต่ำกว่าประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม.และ ยังต่ำกว่าความต้องการใช้น้ำในลุ่มเจ้าพระยา เฉพาะเพื่อการอุปโภค-บริโภค, รักษาระบบนิเวศน์ โดยไม่รวมภาคเกษตร ต้องมีน้ำใช้การ 4 เขื่อนหลัก 5,400 ล้าน ลบ.ม.



ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขื่อนหลัก นั้น ล่าสุดวันนี้ ปริมาณน้ำสามารถเก็บน้ำได้ 416 ล้าน ลบ.ม.หรือ คิดเป็น 44 % ของความจุ ส่วนปริมาณน้ำที่ใช้การได้อยู่ที่ 372.72 หรือ คิดเป็น 40 % ของความจุ ขณะที่ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนแควนั้น อยู่ ที่ 7 ล้าน.ลบ.ม. ซึ่งยังถือว่าน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา

160230476755

ความต้องการน้ำในการสนับสนุนการทำการเกษตร ทั้ง 22 จังหวัด ต้องมีน้ำใช้การ ไม่น้อยกว่า 8,000 ถึง 12,000 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้น จากแนวโน้มสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงภัยแล้ง จึงขอความร่วมมือ ดังนี้

1. งดทำนาปีต่อเนื่อง และ งดทำนาปรัง ปี 2563/64

2. งดสูบน้ำจากสถานีสูบน้ำไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวฤดูนาปรัง

3. ขอความร่วมมือ ทุกภาคส่วน ช่วยประหยัดน้ำในทุกกิจกรรม

4. เกษตรกร ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย หรือพืชทางเลือกอื่น ตามคำแนะนำของกระทรวงเกษตร รวมถึงการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ

160230476597

160230476766