‘ทีเส็บ’งัดแผนดึงงานอินเตอร์ฯปี64 รักษาสถานะไมซ์ไทยบนเวทีโลก

‘ทีเส็บ’งัดแผนดึงงานอินเตอร์ฯปี64  รักษาสถานะไมซ์ไทยบนเวทีโลก

โจทย์ใหญ่ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ช่วงวิกฤติโควิด-19 ยังระบาดหนักทั่วโลก หนีไม่พ้นการรักษาสถานะของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในเวทีโลก!

จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการทีเส็บ เล่าว่า ทีเส็บจึงได้เตรียมความพร้อมในการดึงงานจัดประชุมท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลสัมมนาและแสดงสินค้า(MICE :ไมซ์)ระดับนานาชาติเข้ามาจัดในประเทศไทยรองรับแนวทางการคลายล็อกของรัฐบาลเพื่อเปิดประเทศรองรับนักท่องเที่ยวนักเดินทางกลุ่มไมซ์และนักธุรกิจชาวต่างชาติ

สำหรับแนวโน้มการเปิดประเทศรับนักเดินทางไมซ์ต่างชาติแบบไม่ต้องเข้ากักกันตัวคาดว่าระยะแรกจะเริ่มต้นด้วยการเปิดรับกลุ่มเล็กๆไม่เกิน10คนต่อกลุ่มโดยนักเดินทางไมซ์จะต้องมีใบรับรองว่าไม่ติดโรคโควิด-19เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมงก่อนเดินทางเข้าไทยได้รับการตรวจหาเชื้อทั้งตอนขาเข้าและขาออกและมีเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานซึ่งผ่านการอบรมจากทีเส็บคอยดูแลตลอดทริปล่าสุดมีผู้ผ่านการอบรมรุ่นแรกแล้ว30คนส่วนใหญ่เป็นบุคลากรจากบริษัทตัวแทนประสานงานการเดินทาง(เอเย่นต์)และพนักงานลูกเรือของสายการบิน

“เมื่อรัฐบาลประกาศคลายล็อคอีกระยะในการเปิดรับนักธุรกิจและนักเดินทางไมซ์ชาวต่างชาติมากขึ้น สเต็ปต่อไปคือการเจรจาแบบทวิภาคีระหว่างรัฐต่อรัฐ(จีทูจี)ระหว่างไทยกับ4ประเทศได้แก่จีนไต้หวันญี่ปุ่นและเกาหลีตามSpecial Arrangementหรือการจัดทำข้อตกลงพิเศษด้านการเดินทางเฉพาะกลุ่มของกระทรวงการต่างประเทศ”

จากการจัดงาน Incentive Travel & Conventions, Meetings 2020 (IT&CM China) เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมาซึ่งทีเส็บได้ปรับรูปแบบการจัดงานแบบไฮบริด(Hybrid)ให้สอดรับกับสถานการณ์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายและการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไมซ์ไทยผลการจัดงานพบว่าเกิดการนัดหมายภายในคูหา482นัดหมายมีบริษัทในประเทศจีนกว่า360รายตั้งใจจัดทริปการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล(Meeting & Incentive)ในไทยช่วง2ปีนับจากนี้โดยบางรายอยากเดินทางมาเร็วที่สุดในเดือนเม.ย.2564

นอกจากนี้ ทีเส็บจะเพิ่มจำนวน “ตัวแทนการตลาด” ในการดึงงานไมซ์มาจัดในประเทศไทยจากปัจจุบันมีตัวแทนฯใน7ประเทศได้แก่ออสเตรเลียอังกฤษและยุโรปอเมริกาเหนืออินเดียสิงคโปร์ญี่ปุ่นและจีนเพื่อร่วมทำการตลาดตามยุทธศาสตร์ของทีเส็บที่มุ่งจัดงานไมซ์ในช่วงปี2022-2025เจาะ12อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล

หนึ่งในนั้นคือแคมเปญ “ไทยแลนด์ล็อก-อินอีเวนท์” แผนแม่บทงานแสดงสินค้านานาชาติเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนและส่งเสริมงานแสดงสินค้านานาชาติในกลุ่มล็อก-อิน(Logistic & Infrastructure)และอุตสาหกรรมก้าวหน้ากระตุ้นให้ท้ังภาครัฐและเอกชนสร้างงานใหม่ขยายงานเดิมกระจายงานสู่ภูมิภาคและประมูลสิทธิ์งานระดับโลกเข้ามาจัดในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ซึ่งทีเส็บตั้งเป้าดึงงานไมซ์15งานมาจัดในช่วงปี2022-2025ไฮไลต์คืองานแอร์โชว์2025ซึ่งมีกระทรวงคมนาคมกองทัพเรือและอีอีซีเป็นเจ้าภาพ

นอกเหนือจากงานไมซ์แล้วทีเส็บได้ขยายขอบเขตการทำตลาดรุกดึงงานหมวด“เมกะอีเวนท์และเฟสติวัล”มาจัดในไทยเพิ่มโดยจะส่งเสริมการจัดงานเทศกาลกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคไม่ให้กระจุกเฉพาะในกรุงเทพฯ

“ระหว่างรอรัฐบาลคลายล็อกเปิดประเทศรับนักเดินทางไมซ์และนักธุรกิจชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้นทีเส็บยังคงมุ่งกระตุ้นตลาดไมซ์ในประเทศเพื่อให้เกิดการเดินทางเร็วที่สุดภายในไตรมาส4ของปีนี้ตั้งแต่ต.ค.-ธ.ค.2563เช่นการสานต่อโครงการประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่าด้วยการอัดฉีดงบประมาณเพิ่มเติมอีก10ล้านบาทเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดประชุมสัมมนาในประเทศคาดมีจำนวนกว่า1,000กลุ่มในเดือนต.ค.นี้สร้างรายได้ทางตรง75ล้านบาท”

จิรุตถ์ เล่าเพิ่มเติมว่า สถานการณ์โควิด-19ที่ระบาดตั้งแต่ต้นปี2563ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยอย่างหนักหลังจากรัฐบาลได้ประกาศล็อคดาวน์ประเทศและให้งดการจัดกิจกรรมประชุมและสัมมนาทำให้ตลอดปีงบประมาณ2563 (ต.ค.2562-ก.ย.2563)ประเทศไทยมีนักเดินทางกลุ่มไมซ์ในภาพรวมลดลงมากถึง60%ทั้งจำนวนและรายได้

สำหรับผลการดำเนินงานในปีงบ2563ประเทศไทยมีนักเดินทางไมซ์รวมทั้งสิ้น10.45ล้านคนสร้างรายได้61,317ล้านบาทเป็นนักเดินทางไมซ์ต่างชาติ500,090คนสร้างรายได้29,819ล้านบาทส่วนนักเดินทางไมซ์ในประเทศมีจำนวนรวม9.9ล้านคนสร้างรายได้31,498ล้านบาทหลังจากได้มีการผ่อนปรนให้มีการจัดงานในประเทศได้

“ในปีงบประมาณ2564ทีเส็บคาดว่าอุตสาหกรรมไมซ์จะเติบโตทั้งจำนวนคนและรายได้ประมาณ3.5%เมื่อเทียบกับปีงบฯ2563โดยไตรมาสแรกของปีงบฯภายในสิ้นเดือนธ.ค.นี้มีจำนวนงานที่ทีเส็บให้การสนับสนุนแล้วประมาณ70งาน” ผู้อำนวยการทีเส็บกล่าวปิดท้าย