พลาสติกกับการรีไซเคิล "หัวใจการพัฒนาที่ยั่งยืน"

พลาสติกกับการรีไซเคิล "หัวใจการพัฒนาที่ยั่งยืน"

ปัจจุบันทั่วโลกมีอัตราการเก็บขวด PET เข้าระบบ 53% ขณะที่ประเทศไทยมีสัดส่วนกว่า 85% เนื่องจากมีมูลค่าสามารถขายได้ ขณะเดียวกัน ประเทศที่ถือเป็นต้นแบบการจัดการขยะอย่างญี่ปุ่น มีอัตราการเก็บขวดเข้าระบบกว่า 95% โดยแยกขวด ฝา ฉลาก อย่างเป็นระบบ

หนึ่งในโรงงานผลิตเมล็ดพลาสติก PET ในประเทศไทย อย่าง บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการผลิตเส้นด้ายจากขนสัตว์ ในปี 2537 ก่อนปรับสู่ธุรกิจพลาสติก ในปี 2538 ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจ PTA หรือ กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก PET และโพลีเอสเตอร์  รองรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย ผลิตภัณฑ์การดูแลส่วนบุคคล รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางในรถยนต์และผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย

ทั้งนี้ การทำธุรกิจเกี่ยวกับพลาสติก สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการดึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตกลับเข้ามาสู่ระบบ ในปี 2554 จึงตั้งธุรกิจรีไซเคิล จากการซื้อกิจการโรงงานรีไซเคิลในยุโรป  ต่อมาปี 2557 ได้นำเทคโนโลยีมาติดตั้งที่โรงงานในประเทศไทย จ.นครปฐม มีกำลังการรีไซเคิล 3 หมื่นตันต่อปี และขยายไปยังประเทศต่างๆ อาทิ เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย กระทั่ง ร่วมมือกับ โค้ก ฟิลิปปินส์ ผลิตขวดที่ทำจากขวดรีไซเคิล ล่าสุดปี 2563 มีการขยายโรงงานรีไซเคิล ไปที่โปแลนด์ และ บราซิล กำลังการผลิต 9,000 ตันต่อปี

160156885251

ยาโชวาดัน โลเฮีย กรรมการบริหาร และหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน ไอวีแอล กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีอัตราการเก็บขวดเข้าระบบ 53% ขณะที่ประเทศไทย มีสัดส่วนกว่า 85% อาจเพราะขวดมีมูลค่าขายได้ แต่นอกเหนือจากส่วนที่เก็บได้กลับรั่วไหลออกสู่ทะเล ดังนั้น เป้าหมายของเรา คือ ทำให้ขวดที่รั่วไหลหมดไป ความมุ่งหวัง คือ ขวด PET ทั้งหมดถูกนำกลับมารีไซเคิล สอดคล้องกับเป้าการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลในโรงงานทั่วโลกเป็น 7.5 แสนตันต่อปี ภายในปี 2025 จากปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ 2.5 แสนตันต่อปี (ทุกโรงงานทั่วโลก) เป้าหมาย รีไซเคิลขวด PET ให้ได้อย่างน้อย 5 หมื่นล้านขวดต่อปี 

เนื่องจาก Recycled PET (rPET) ยังคงเป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะฝั่งเอเชียนิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น อิเกีย ในประเทศไทย รับ rPET จากบริษัทฯ เพื่อกระจายให้กับอิเกียประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันในปีนี้ แม้จะมีโควิด-19 ความต้องการ rPET ยังคงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป้าหมายของแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโค้ก ยูนิลิเวอร์ ฯลฯ ที่ตั้งเป้าสัดส่วนการใช้ rPET เพิ่มมากขึ้น 25 – 30% หรือบางแบรนด์ตั้งเป้า 100% ยังคงดำเนินต่อไป

160156885189

"เป้าหมายสูงสุดของเราคือการทำขวดเก่าให้เป็นขวดใหม่ เป็นเหตุผลที่เราร่วมมือกับโค้ก (ในต่างประเทศ) เพราะจะได้เห็นผลได้มากที่สุด เป้าหมายของโค้กเรียกว่าท้าทายมาก เพราะเขาตั้งเป้าว่าภายในปี 2573 อย่างน้อยขวดต้องมีส่วนประกอบของ rPET กว่า 50%" ยาโชวาดัน กล่าว

ประเทศไทยยังไม่มีการนำขวดรีไซเคิลมาผลิตเป็นขวดใหม่ เนื่องจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความห่วงใยเรื่องการปนเปื้อน ขณะที่อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และในอีกหลายประเทศ มีการอนุญาตให้ใช้ได้ ดังนั้น กำลังการผลิตในประเทศไทยที่มีอยู่ 3 หมื่นตันต่อปี จึงแบ่งเป็น 2 หมื่นตัน นำไปใช้เป็นเส้นใยทำเฟอร์นิเจอร์ ไส้หมอน และอีก 1 หมื่นตัน ส่งออกเพื่อผลิตเป็นขวด โดยตลาดหลักอยู่ที่ออสเตรเลีย

160156884767

ทั้งนี้ แนวทาง Sustainability ของ ไอวีแอล มุ่งผลิตสินค้า เพื่อให้ส่งผลดีต่อภาพรวม ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ตั้งเป้าให้ทุกโรงงานมีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น ปัจจุบันผลิตได้ 8 เมกะวัตต์ และมีแผนจะเพิ่มอีก 3 เมกะวัตต์ ในปี 2564 รวมถึงการพิจารณาเพิ่มกำลังการรีไซเคิล และปรับปรุงเตาเผา เพื่อให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง เพิ่มการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2573 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไอวีแอลทั่วโลก 10% ในปี 2568

นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงการ ให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนอายุ 9-12 ปี ลงพื้นที่โรงเรียนเรื่องการแยกขยะทั่วประเทศให้กับเด็กๆ กว่า 1.5 หมื่นคนในปีที่ผ่านมา รวมถึงการเทรนด์ให้พนักงานบริษัทฯ ต่างๆ ที่มีความสนใจด้านความยั่งยืน ในการแยกขยะ เพื่อรีไซเคิล พร้อมมอบอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้ให้กับทางโรงเรียน และ บริษัทฯ ที่ได้ลงพื้นที่ด้วย ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน เพื่อให้สามารถเปลี่ยนจากขวดใช้งานแล้วเป็นขวดใหม่ที่ยังใช้งานได้อีก

160156885043

ยาโชวาดัน กล่าวว่า ต้องมองพลาสติก 2 ส่วน คือ “การใช้งาน” หลายอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้พลาสติก เช่น เครื่องบิน เพื่อใช้พลังงานน้อยลงเนื่องจากเบากว่า แต่อีกมุมหนึ่ง คือ “การทิ้ง” เนื่องจากขวดน้ำดื่ม PET มีน้ำหนักเบา ทิ้งง่าย อาจจะทิ้งด้วยความไม่รับผิดชอบทำให้ถูกมองว่ามีข้อเสีย หลายคนไม่ทราบว่าพลาสติกนำไปรีไซเคิลได้ โดยเฉพาะพลาสติก PET ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% สามารถนำไปผลิตสินค้าหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า และทำชุด PPE ได้ แม้จะไม่มีโควิด-19 แต่ในด้านการแพทย์ก็ยังมีความต้องการใช้ในการทำหัตถการ ดังนั้น เราจึงยังต้องรีไซเคิลต่อไป

160156884860

  • ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ปี 2561 ไอวีแอล ได้เข้าร่วมกับสหภาพยุโรปลดของเสียพลาสติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างข้อบังคับยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงกำไรเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น มูลนิธิ Ellen MacArthur Foundation ตกลงในพันธสัญญาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของพลาสติกให้ก้าวหน้า ภายใต้ความร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน

ช่วยให้พลาสติกคุณภาพต่ำที่รีไซเคิลยาก และพลาสติก PET ที่ถูกใช้แล้ว ถูกรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกเกรดบริสุทธิ์ ด้วยความร่วมมือภายในยุโรปปี 2562 คาดการณ์ว่า ไอวีแอลสามารถนำมอโนเมอร์ที่ผลิตโดย บริษัท IONIQA กลับมารวมกับวัตถุดิบเดิม เพื่อรีไซเคิลเป็น PET เกรดบริสุทธิ์ และร่วมทุนกับบริษัท Loop Industries จะช่วยสลายโพลิเมอร์ PET จากขยะที่ใช้งานแล้ว และสร้าง rPET เกรดบริสุทธิ์100%